Toyota เร่งเครื่องพัฒนารถเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ต่างมองว่ารถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นทางออกของปัญหาเรื่องมลพิษและพลังงานในอนาคต แต่ Toyota กลับมองไปอีกทางด้วยการขยายการพัฒนาไปที่รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโรเจน โดยจะพยายามออกแบบให้มีราคาถูกลง มีการผลิตทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและเอสยูวีในลักษณะการผลิตจำนวนมากเพื่อทำตลาด รวมทั้งพยายามผลักดันเทคโนโลยีนี้ไปสู่รถบัสและรถบรรทุกเพื่อขยายการใช้งานให้มากขึ้น
Toyota ที่เคยทำรถไฮบริดในลักษณะแมสโปรดักช์เป็นรายแรกกับรุ่น Pius ในช่วง 1990 ได้ระบุว่าสามารถทำให้รถเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นที่นิยมได้โดยการทำให้มีราคาถูกลง โดย Yoshikazu Tanaka หัวหน้าวิศวกรของรถเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Mirai บอกกับ Reuter ว่า “เรากำลังพัฒนาจากการผลิตในจำนวนจำกัดไปเป็นการผลิตจำนวนมาก มีการลดปริมาณวัสดุที่มีราคาแพงอย่างแพลตินัมที่ใช้ในรถเซลล์เชื้อเพลงลง รวมทั้งจะทำให้ระบบมีขนาดกะทัดรัดและมีพลังงานมากขึ้น”
Toyota วางแผนขั้นตอนการเริ่มแนะนำรถเซลล์เชื้อเพลงไฮโดนเจนรุ่นอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงรถเอสยูวี รถปิคอัพ และรถบรรทุกประมาณปี 2025 และได้พัฒนาต้นแบบรถเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งขนาดเล็กและรถบรรทุกขนาดใหญ่โดยใช้พื้นฐานของรถที่มีอยู่แล้วในตลาด โดย Ikuo Ota ผู้จัดการด้านวางแผนธุรกิจใหม่สำหรับโครงการเซลล์เชื้อเพลิงของ Toyota เปิดเผยว่า “เราพยายามจะใช้หลายๆ ส่วนจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคลอื่นๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ในรถบรรทุกเซลล์เชื้อเพลิง แม้จะไม่เห็นประโยชน์ในการผลิตแบบจำนวนมากก็ตาม”
สำหรับ Mirai ซึ่งเป็นรถเซลล์เชื้อเพลิงที่ Toyota ผลิตอยู่ในปัจจุบัน ถูกประกอบด้วยมือที่ Toyota City โดยใช้ช่างเทคนิค 13 คนที่นำชิ้นส่วนแต่ละส่วนเข้าไปในไลน์ประกอบ ซึ่งมีการผลิตได้จำนวน 6.5 คันต่อวัน แต่ทาง Toyota กำลังสร้างการผลิตที่มีศักยภาพมากขึ้นเพื่อขยายจำนวนการผลิตให้มากขึ้นเนื่องจากคาดว่าการจำหน่วยรถเซลล์เชื้อเพลิงทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 คันในปี 2020 จากที่ปัจจุบันจำหน่ายประมาณ 3,000 คัน และในรุนต่อไปจะพัฒนาให้สามารถวิ่งได้ระยะทาง 750 กิโลเมตร จากที่รุ่นปัจจุบันสามารถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร
สำหรับต้นทุนที่สูงของรถเซลล์เชื้อเพลิงรุ่นนี้ส่วนใหญ่มาจากวัสดุที่มีราคาแพงอย่างแพลตินัม ไทเทเนียม และคาร์บอนไฟเบอร์ที่ใช้ในระบบเซลล์เชื้อเพลิงและเก็บไฮโดรเจน โดย Tanaka ได้พูดถึงปัญหานี้ว่า “ด้วยการเน้นไปที่การแก้จุดด้อยนี้อย่างต่อเนื่อง เราก็จะสามารถเข้าสู่รถเซลล์เชื้อเพลิงที่มีราคาถูกลงได้ในอนาคต”
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.