“Wheel Base”…ระยะห่างฐานล้อ กับการขับขี่
ตามหลักการความเข้าใจมักจะแบ่งความแตกต่างของระยะห่างฐานล้อ ออกเป็น ยาว(Long-Whell Base) กลาง (Mid-Whell Base) สั้น (Short-Whell Base) ทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในรถประเภทตัวถังแบบไหน อย่างเช่น SUV , Station wagon หรือ Pick Up มันจะแปรผันกับความสูงของรถคันนั้นด้วย
นั่นแปลว่าถ้าเป็นรถสเป็กเดิมมาจากโรงงาน มีการยกช่วงล่างสูงขึ้นไม่มาก ระยะห่างฐานล้อไม่เปลี่ยนแปลง เรื่องของมุมรถก็จะไม่เปลี่ยนแปลงมาก แต่ถ้าปัจจัยเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงมาก เช่นการยกช่วงล่างสูงขึ้นมาก เปลี่ยนล้อ ยางใหญ่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนมุมรถที่ผิดไปจากเดิมมาก ส่วนมากจะทำให้มุมรถนั้นได้เปรียบในการขับขี่เส้นทางอออฟโรดมากขึ้น
มุมรถที่ว่านั้นก็คือ มุมปะทะ ที่ด้านหน้ารถ มุมคร่อมที่กลางรถระหว่างล้อหน้า-หลัง และมุมจากที่ด้านท้ายรถ ซึ่งรถที่มีมุมปะทะที่เหมาะสมจะทำให้สามารถเข้าหาเนินหรือทางชันที่มีความชันมากได้ในลักษณะหน้าตรง โดยหน้ารถไม่ติดหรือปะทะเนิน สะดวกที่ไม่ต้องขยับรถเอียงขึ้นเนิน มุมจากด้านท้ายก็เช่นกัน ถ้ามีมุมที่เหมาะสมก็จะสามารถลงเนินหรือทางชันได้โดยทางไม่ติด ไม่ขูดพื้นทาง
แต่ในส่วนของมุมคร่อมนั้นความสูงกับระยะฐานล้อที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้หมายถึงความได้เปรียบในเส้นทางออฟโรดแต่ฝ่ายเดียว เพราะมุมคร่อมที่มากทำให้รถผ่านเนินที่ใหญ่หรือทางชันได้มากก็จริง แต่หากเจอกับเนินที่มียอดสูงและยาวอาจทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าท้องแขวนบนเนินได้ รถออฟโรดจึงมักต้องวางตำแหน่งความสูงให้เหมาะสมกับระยะห่างฐานล้อ เพื่อให้ได้มุมรถที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด
ข้อสังเกตอีกอย่างในส่วนของฐานล้อยาว เมื่อใช้งานขับขี่บนเส้นทางออนโรดหรือทำความเร็วได้ มันจะให้การทรงตัว การยึดเกาะถนนที่เหมาะสมกว่า และรถออฟโรดที่ยิ่งสูง หากมีห่างฐานล้อสั้นเกินไปก็จะต้องระวังเรื่องของการพลิกคว่ำที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า
ทุกสเป็กและทุกรายละเอียดของรถแต่ละคันจะให้ความโดดเด่นที่แตกต่างกัน รู้จักและเข้าใจใช้ตัวช่วย พัฒนาทุกส่วนของรถให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์จะเหมาะที่สุด…
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.