SUSPENSION…เพลาอ่อนหรือเพลาแข็งแบบไหนที่เหมาะกับเรา

         บนโลกใบนี้ที่ไหนซึ่งแสงพระอาทิตย์ส่องถึงที่นั่นจะไม่มีความลับ แต่ความลับที่อยู่ในใจที่เกิดจากความสับสนในการตัดสินใจในเรื่องของการตกแต่ง ว่าจะเลือกช่วงล่างแบบไหนเพลาอ่อนหรือเพลาแข็งมาประจำการในรถแต่งของเรา ตรงนี้เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนข้อมูล แต่ความเหมาะสมในการตัดสินใจอยู่ที่ข้อมูลตัดสินใจของผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น…

         แบบไหนที่เหมาะสมกับเรา นั่นแปลว่ามันจะต้องมีทางเลือกที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอยู่ในตัวเอง ไม่จำเป็นสำหรับคำตอบว่าจะเลือกแบบที่เขาว่ากันว่าดีหรือแบบที่เราชอบ ให้เลือกสิ่งที่เหมาะสมจากการใช้งานหลักของรถแต่งคันนั้นเป็นสำคัญ ถ้านั่นเป็นมุมมองของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชื่อที่ใช้เรียกแบบของช่วงล่างที่เป็นแบบเพลาอ่อนหรือเพลาแข็งนั้นก็คือ ช่วงล่างแบบปีกนกกับแบบที่เป็นแบบเสื้อเพลาหรือคานแข็งที่เราคุ้นเคยกันในชื่อเรียก

tech&mo03
เพลาแข็ง

ระบบช่วงล่างแบบเพลาแข็งหรือเพลาอ่อนนั้น เป็นระบบช่วงล่างที่มีอยู่ในรถออฟโรดทั้งที่มีติดตัวมาจากโรงงานและแบบที่มาทำการตกแต่งดัดแปลงเพิ่มเติมกันภายหลัง ในการเปลี่ยนแปลงนั้นโดยมากสมการจะเป็นในลักษณะของการเปลี่ยนจากแบบปีกนกหรือเพลาอ่อนไปเป็นแบบคานแข็ง และในแบบของช่วงล่างทั้งสองประเภทก็ยังจะมีเรื่องของระบบรองรับอีกหลายแบบเข้ามาเกี่ยวข้อง รายละเอียดเหล่านี้นี่เองที่เป็นความแตกต่างหรือข้อมูลในการตัดสินใจส่วนหนึ่งนอกจากเรื่องของงบประมาณ ในการตัดสินใจเลือกชนิดของช่วงล่างในการตกแต่ง

ช่วงล่างแบบเพลาอ่อนที่จะเห็นอยู่ในลักษณะของช่วงล่างแบบปีกนกเสียเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ลักษณะของเพลาอ่อนคือการเรียกตามลักษณะของเพลาขับล้อคู่หน้าที่เป็นแบบเพลาขับมีข้อต่อแบบหมุนรอบให้ตัวได้นั่นเป็นที่มา ตรงนี้ก็จะมีส่วนประกอบของระบบรองรับที่จะมีข้อต่อและจุดที่ให้ตัวได้มากหลายจุด คุณสมบัติของระบบช่วงล่างแบบนี้ก็คือเรื่องของการขับขี่ซึ่งให้มุมในการขับขี่และลักษณะการควบคุมที่ฉับไว ให้การตอบสนองที่นุ่มนวล

การดัดแปลงวางคานจะมีขั้นตอนมาก
การดัดแปลงวางคานจะมีขั้นตอนมาก

ช่วงล่างแบบเพลาแข็งที่จะเห็นอยู่ในลักษณะของเสื้อเพลาชิ้นเดียวเป็นชิ้นส่วนหลัก ซึ่งภายในจะมีกลไกในการถ่ายทอดกำลังที่ได้รับการปกป้องจากเสื้อเพลานี้ ตัวเสื้อเพลานี้มีความแข็งแกร่งเนื่องจากถูกออกแบบมาให้สามารถรับแรงเค้นและแรงกระแทกได้มาก จุดหมุนที่มีก็แล้วแต่ลักษณะของรถเพลาและรุ่นรถแต่ก็จะมีขนาดและรูปแบบที่แข็งแรงด้วยขนาดและการออกแบบ สำหรับส่วนประกอบของระบบรองรับนั้นก็มีอยู่หลายแบบที่นำมาผสมเพื่อทำงานร่วมกัน คุณสมบัติของระบบช่วงล่างแบบนี้ก็คือสามารถที่จะออกแบบระดับความสูงในการยกได้หลากหลาย ที่สำคัญคือความแข็งแรง

สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์เดินทางออฟโรดมาแล้วย่อมที่จะมีใจให้กับช่วงล่างแบบเพลาแข็งเป็นหลัก ส่วนผู้ที่เข้ามาสัมผัสสองจิตสองใจว่าจะเลือกเอาช่วงล่างแบบไหนมาประจำการนั้น ก็ให้ดูการใช้งานของรถคันนั้นเป็นหลักถ้านานๆ ครั้งจะได้เดินทางลุย การเพิ่มประสิทธิภาพให้ช่วงล่างแบบเพลาอ่อนนั้นทำงานได้ดีขึ้นก็ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อได้ประโยชน์ในการขับขี่บังคับควบคุมบนเส้นทางออนโรด แต่ถ้าต้องการตกแต่งเพื่องานลุยก็เพลาแข็งไปเลย

ชุดยกปีกนกหรือเพลาอ่อนแบบหนึ่ง
ชุดยกปีกนกหรือเพลาอ่อนแบบหนึ่ง

ในปัจจุบันชิ้นส่วนตกแต่งและอุปกรณ์เสริมสำหรับการดัดแปลงระบบช่วงล่างแบบเพลาอ่อน มีการพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของชุดยกปีกนกที่ตอนนี้สามารถยกสูงได้เพิ่มมากขึ้น ถ้าจุดเริ่มต้นและลงท้ายที่ความสวยงาม ชุดยกในปัจจุบันก็ดูจะตอบโจทก์ได้ ส่วนเรื่องของความแข็งแรงในชิ้นส่วนต่างๆ นั้นก็อยู่ที่ของเล่นและความเข้าใจในการเพิ่มเติมความแข็งแรง ซึ่งส่วนที่เป็นปัจจัยหลักจะเป็นเรื่องของการขับขี่ที่ใช้ทักษะและอุปกรณ์ช่วยเป็นตัวช่วยหลัก แต่ในลักษณะของการลุยทางออฟโรดสิ่งกีดขวางด้านล่างสามารถทำความเสียหายกับชิ้นส่วนเหล่านี้ได้ง่ายกว่าเพลาแข็งนั่นเอง

tech&mo06
ระบบรองรับแบบคอยล์สปริงที่นิยมแบบหนึ่ง
tech&mo07
ชุดยกปีกนกสำเร็จรูปแบบหนึ่ง
tech&mo08
ระบบรองรับแบบแหนบแผ่นแบบหนึ่ง

 

 

 

 

 

การขับขี่บนเส้นทางออนโรด ตามหลักการแล้วช่วงล่างแบบเพลาอ่อนจะมีการทำมุมและยึดเกาะถนนได้เหมาะสมกว่าตามลักษณะแบบช่วงล่างอิสระประกอบกับการให้ความรู้สึกตอบสนองที่นุ่มนวลกว่าถ้าเปรียบเทียบถึงความยากง่ายในการเซ็ตอัพส่วนประกอบอื่นในระบบรองรับทางด้านเพลาแข็งก็จะมีรายละเอียดที่มากกว่า เพื่อให้การตอบสนองได้ตรงความต้องการทางด้านความนุ่มนวล

เพลาแข็งแกร่งเมื่อยามลุย
เพลาแข็งแกร่งเมื่อยามลุย

การดูแลรักษาช่วงล่างแบบเพลาอ่อนนั้น จะมีข้อต่อและชิ้นส่วนที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ที่มากกว่าแบบเพลาแข็ง และต่อเนื่องมาจากความแข็งแรงของชิ้นส่วน ความเสียหายและการแก้ไขก็ย่อมที่จะเกิดและมีได้มากกว่า เข้าใจว่าแบบเพลาอ่อนมันจุกจิกกว่าแบบเพลาแข็งก็ได้ในส่วนนี้ การดูแลรักษานี้จะเป็นส่วนที่ส่งผลต่อการใช้งานโดยภาพรวม

tech&mo10
เพลาอ่อนเวลาลุยก็ไปได้
tech&mo11
เพลาแข็งชิ้นส่วนอุปกรณ์มีความแข็งแรง
tech&mo12
เพลาอ่อนเวลาลุยต้องระวัง
tech&mo13
ชุดยกแบบปีกนกอีกแบบหนึ่ง
Jpeg
เปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนเพื่อความแข็งแรงได้
tech&mo15
เสื้อเพลาชิ้นส่วนที่สำคัญในการดัดแปลงเพลาแข็ง

 

เมื่อเราพิจารณาจากปัจจัยหลัก การใช้งาน การลุยเส้นทางออฟโรด การตอบสนองในการขับขี่และการดูแลรักษา ข้อได้เปรียบทางด้านความแข็งแรง ไม่จุกจิกจะมีคะแนนและน่าสนใจมาเป็นอันดับต้นๆ อีกทั้งในเรื่องของการเซ็ตช่วงล่างที่ในปัจจุบันทำได้อย่างหลากหลายเพื่อก่อให้เกิดความนุ่มนวลดีขึ้น ถึงตรงนี้ก็คงจะต้องจบที่ความสะดวกในการใช้งานเป็นประเด็นสำคัญ ขับขี่ในเส้นทางออฟโรดแบบไม่ต้องพิถีพิถันมาก มีการดูแลรักษาที่พอสมควรไม่จุกจิกแบบนี้ก็ควรเลือกแบบเพลาแข็ง แต่ถ้าไม่ได้เน้นลุยหนักมีการใช้ งานประจำวันที่หลากหลายช่วงล่างแบบเพลาอ่อนที่ติดรถอยู่ก็มีความเหมาะสมแล้ว เมื่อบวกกับการ ตกแต่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปเท่านี้ก็จะได้ช่วงล่างที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณ ไม่ จำเป็นต้องเสียงบประมาณมากๆ เพื่อได้มาซึ่งสิ่งที่ดีเกินใช้งานจริง…

เรื่อง/ทิดอ่ำ บ้านนาเคียงดอย                ภาพ/OFFRAOD MAGAZINE

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save