PARAMOTOR FLYING WITH.
กีฬาทางอากาศมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินบังคับและเครื่องบินเล็ก เป็นกีฬาที่มีเครื่องยนต์เป็นส่วนประกอบในการเล่นเป็นหลัก โดดร่มก็เน้นที่ร่างกายและกระแสลม แต่มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ทั้งร่างกายเครื่องผสานกันนั้นคือ “ร่มบิน หรือที่เรียกกันว่า พารามอเตอร์(Paramotor)” พารามอเตอร์ นั้นถือเป็นอากาศยานขนาดเล็กประเภทหนึ่ง ที่มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กเพื่อให้นักบินสามารถแบกที่หลังลักษณะแบกคล้ายเป้ ใช้งานร่วมกับร่มแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั้งโดดร่มจากเครื่องบินและจากยอดเขา หรือที่เรียกกันว่า “ร่มร่อน(Paraglide)” แต่ด้วยเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่แบกสะพายด้านหลังช่วยให้สามารถบินขึ้นลงได้อย่างอิสระ
พารามอเตอร์นับว่าเป็นการบินที่ปลอดภัยและประหยัดมากที่สุด เพราะอุปกรณ์ต่างๆ สามารถจัดเครียมได้ด้วยตัวเองและสามารถพับเก็บไว้หลังรถ อีกทั้งสามารถประกอบพร้อมใช้งานได้ภายในไม่กี่นาที ความเร็วโดยการบินด้วยพารามอเตอร์นั้นจะอยู่ที่ 40-55 กม./ชม. ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กันสมรรถนะของร่มและแรงลมด้วย ด้วยทั่วไปเชื้อเพลิง 10 จะบินได้ประมาณ 3 ชม. (เฉพาะเครื่องยนต์มาตราฐานและสภาพอากาศเอื้ออำนวย)
เครื่องบินลำใหญ่ที่เราเห็นๆ กันอยู่นั้น จะต้องใช้พื้นที่และเชื้อเพลิงในปริมาณมาก แต่พารามอเตอร์นั้นใช้พื้นที่ในการขึ้นบินสั้นมาก ขอแค่เพียงพื้นที่โล่งยาวประมาณสนามฟุตบอลก็สามารถขึ้น-ลงได้แล้ว และเมื่อเราบินขึ้น(take of) ขึ้นไปแล้วจนถึงระดับที่ต้องการก็สามารถดับเครื่องเพื่อใช้ร่มร่อนแทนได้ เพื่อประหยัดเชื้อเพลิงหรือที่นักบินเรียกว่า Ridge-lift และเมื่อเจอปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์หรือเชื้อเพลิงหมดก็สามารถใช้ร่มร่อนลงได้ ซึ่งนักบินพารามอเตอร์ทุกคนนั้น จะต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องดับเครื่องก่อนทำการร่อนลงอยู่แล้ว
การบินด้วยพารามอเตอร์ส่วนมากจะบินที่ความสูง 200 ฟิต ขึ้นไป แต่หากจะให้ดีควรบินที่ 500-1,000 ฟิต เพราะจะได้เห็นวิวทิวทัศน์ที่แปลกตา ทำให้รู้สึกสนุกในการบินมากขึ้น ด้วยพารามอเตอร์นั้นไม่มีเครื่องช่วยหายใจเราจึงไม่สามารถบินสูงเท่าเครื่องบินได้ แต่สถิติโลกได้บันทึกไว้วามีผู้นำเครื่องพารามอเตอร์นี้ขึ้นไปที่ความสูง 18,000 ฟิต จากระดับน้ำทะเล
เครื่องยนต์พารามอเตอร์ที่นิยมใช้กันเป็นแบบ 2 จังหวะ สูบเดียว 210 cc. ส่วนในที่ใช้ในการแข่งขันจะมีการปรับแต่งเพื่อให้แรงม้าเพิ่มมากขึ้น น้ำหนักโดยรวมของเครื่องยนต์รวมถึงอุปกรณ์ที่จะต้องแบกสะพายไว้ด้านหลังประมาณ 25 กิโลกรัม โดยทั่วไปแล้วพารมอเตอร์นี้จะในการสันทนาการ, การแข่งขัน, การถ่ายภาพทางอากาศ, การสำรวจพื้นที่ต่างๆ และการทหารด้วย
พารามอเตอร์นอกจากจะเป็นพาหนะในการบินที่เป็นเหมือนตัวช่วยซัพพอร์ตต่างๆ ให้การทำง่ายและรวดเร็วมากขึ้น แต่ใช่ว่าจะมีแต่ดี พารามอเตอร์ยังแฝงไว้ด้วยความอันตรายอีกเช่นกัน ผมจึงได้ดึงหัวข้อที่สำคัญของพารามอเตอร์มาให้ได้อ่านกันเป็นวิทยาทานกันเล็กน้อยครับ
ท่าลงฉุกเฉิน ( Parachute Landing Fall ) เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็น ร่มพับ หรือเครื่องยนต์เสียหรือเชื้อเพลิงหมด ในพื้นที่คับขัน เราจะต้องใช้ท่าลงฉุกเฉินของการโดดร่ม PLF โดยขาต้องชิดกันและชี้ลงจากนั้นให้งอเข่าเล็กน้อยพร้อมกับยกขาขึ้นประมาณ 45 องศา ตามแนวที่เราพุ่งไป ควรตรวจเช็คฟองน้ำที่รองกระดูกสันหลัง ควรมีความหนาเพื่อกันกระแทกจากเครื่องยนต์ที่สะพายอยู่ด้านหลัง
แต่ในบางครั้งที่เราไม่สามารถเลือกที่ลงได้ ให้เอาฐานของเครื่องลงเพื่อรับแรงก่อน ถ้าสวมอุปกรณ์ป้องกันเช่น รองเท้าบู้ท หมวกกันน็อก สนับเข่า สนับศอก ก็จะเจ็บตัวไม่มาก แต่ถ้าไม่สวมละก็แล้วแต่ดวงครับ แต่ส่วนใหญ่การเจ็บจากการลงของพารามอเตอร์นั้น จะเป็นที่ขาและเท้า เพราะจะต้องรับแรงทั้งหมดและเป็นส่วนแรกที่ลงถึงพื้นก่อน อย่างน้อยก็อาจจะมีข้อเท้าแพลง แต่ถ้าหนักก็อาจะถึงแตกหัก แถมอาจจะมีการเจ็บจากกระดูกสันหลังแถมมาด้วย ดังนั้นควรสวมเครื่องป้องกันและปฏิบัติตามกฏการบินดีกว่าครับ
ต้นไม้ใบหญ้า ท้องฟ้าและก้อนเมฆ
เนื่องจากพารามอเตอร์จะต้องใช้แรงลมเข้าช่วย เพื่อยกร่มให้ลอยขึ้น นักบินจะต้องคอยมองสถานะการณ์รอบๆ ตัวอยู่เสมอ เช่น ถ้าลมนิ่งๆ ควันไฟก็จะลอยขึ้นตรง พื้นผิวของน้ำจะใส เรียบเหมือนกระจก ความเร็วลมประมาณ 0-1 กม./ชม. แต่ถ้าหากเห็นควันไฟเริ่มเอียงผิวน้ำมีคลื่นเล็กๆ ความเร็วลมประมาณ 2-6 กม./ชม. หรือสังเกตได้จากต้นไม้ถ้าใบไม้กิ่งไม้จากต้นไม้ใหญ่ ควันไฟทำมุม 60 องศา ความเร็วลมประมาณ 10-12 กม./ชม. แต่หากเห็นต้นไม้ลู่ตามสายลมแล้วละก็ ความเร็วลมนั้นมากกว่า 15 กม./ชม. แน่นอนควรรีบหาที่ลงโดยเร็ว ใช่ว่าจะมีแค่ต้นไม้และผิวน้ำท้องฟ้าและก้อนเมฆก็สามารถดูได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้เป็นจุดสังเกตรอบๆ ตัวที่ทำให้การบินปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
Take of danger!!!
สำหรับมือเก่าเก๋าเกมแล้ว มักจะไม่ค่อยเจอปัญหาเหล่านี้ แต่สำหรับมือใหม่ร้อยทั้งร้อยยังไงก็ต้องเจอปัญหาตอนจะขึ้นบินกันทั้งนั้น ด้วยหลายสาเหตุที่ทำให้การขึ้นบินของมือใหม่นั้นเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็น การตรวจเช็คเครื่องยนต์และร่ม เพราะการตรวจเช็คนั้นจะต้องดูอุปกรณ์ว่าแน่นหรือต่อดีหรือไม่ มีรอยตรงไหนหรือเปล่า บางคนจะขั้นน็อตให้แน่นเพื่อความมั่นใจ แต่บางครั้งก็แน่นเกินความพอดี หรือการเช็คเบรคต่างๆ ต่อมาก็คือ การวิ่งเพื่อขึ้นบิน ส่วนมากมือใหม่จะวิ่งอย่างเดียวเร่งเครื่องให้สุดเพื่อ take of ไม่ยอมเงยหน้ามองดูร่มว่าตรงแล้วหรือยัง ผลก็คือ หน้าทิ่มดินจับกบกันไป หรือบางคนวิ่งไปตามทางแต่ความเร็วยังไม่พอ สุดท้ายเครื่องก็กระแทกกับพื้นทำให้ใบพัดหัก ยิ่งในวันที่อากาศร้อน อบอ้าว แรงยกตัวของร่มและแรงขับใบพัดจะลดลง
เมื่อบินขึ้นไปแล้วส่วนมากมือใหม่จะรีบนั่ง รีบเลี้ยว โดยที่ความสูงยังไม่อยู่ในที่ปลอดภัย บางคนอาจจะลืมล็อกขา ทำให้ลำตัวรูดลงและตกใจอาจจะทำให้เครื่องตกได้ อย่างสุดท้ายคือ ร่างกายไม่พร้อมแต่ใจพร้อม แบบนี้ก็ไม่ควรขึ้นบิน
กฎการบินในอากาศ
ทุกอย่างย่อมมีกฏเกณฑ์เสมอไม่ว่าจะเราตั้งขึ้นมาเองหรือตั้งโดยธรรมชาติ อย่างเช่นรถยนต์ก็ต้องมีกฏจราจร พารามอเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องมีกฏระเบียบเพื่อลดหรือป้องกันอุบัติเหตุเอาไว้ เรามาดูกฏการบินกันคร่าวๆ ดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
• สิทธิในเส้นทางการบิน
• อย่าบีบให้ผู้อื่นเป็นผู้หลบแต่เราควรหลบด้วย
• เมื่อบินเป็นหมู่คณะควรบรีพเส้นทางและขบวนการบินให้ดีเสียก่อน • หากมีจำนวนร่มบินมากเราควรรอให้ผู้บินอยู่ลงมาก่อนที่จะการบินขึ้นไป เพื่อลดการชนกันกลางอากาศ
• ตื่นตัวตลอดเวลา มองซ้ายขวา หน้าหลัง ล่างบน ให้แน่ใจก่อนที่จะเลี้ยว หรือเปลี่ยนระดับการบิน
• ควรมีวิทยุสื่อสาร เพื่อที่จะจัดจราจรกลางอากาศ หรือรับทราบข้อมูลที่จำเป็น
• ระวังขี้ใบพัด เพราะอาจทำให้ร่มพับได้
• ปฏิบัติตามกฎการบินของสถานที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะอาจมีข้อห้ามพิเศษ
• หากที่วิ่งขึ้นมีจำกัด ควรเข้าคิว ใครที่คิดว่าตัวเองใช้เวลาเตรียมตัวในการขึ้นมากๆ ต้องมีคนมาช่วย ก็ควรจะไปรอบินเป็นคิวท้ายๆ
• ลงถึงพื้น แล้วรีบเคลียร์พื้นที่ รวบร่มเก็บออกมาก่อน พร้อมเครื่องไม่ให้กีดขวางผู้อื่น
*กฏในการบินยังมีอีกหลายข้อหลายอย่าง ผู้ที่จะบินด้วยพารามอเตอร์ควรจะศึกษาให้ดีและต้องเข้ารับการอบรบฝึกฝนเสียก่อน ฃ
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.