ตามหาความหมายแห่งชีวิตที่เมืองทวาย

เป็นเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ตรงข้าม จ.กาญจนบุรีอยู่บนฝั่งแม่น้ำทวายและเป็นเมืองหลวงของเขตตะนาวศรี หรือ ตะหนิ่นต่าหยี่ มีประชากรราว 140,000 คน มีหลากหลายชาติพันธุ์ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาพม่าสำเนียงใต้ ชาวทวายหลายคนโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวนั้น พูดภาษาไทยได้ชัดเจน เพราะเคยมาทำงานที่เมืองไทย ทวายเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมอญและสูญเสียความเป็นชาติในยุคพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงค์คอนวอง คำว่า ทวายฝ่ายไทยสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ‘ท่าหวาย’ เป็นถิ่นขนส่งหวายข้ามทะเลมาส่วนคนพม่ากลับเรียกว่า ‘ทะแว’ หรือ ‘ดะแว’ หมายถึง ผู้ซื้อมีด คนพม่าว่าชาวทวายเป็นชาวพม่ามาจากรัฐยะไข่ เดินทางข้ามทะเลมาซื้อมีดแถบตะนาวศรี ประชากรชาวทวายส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์พม่า กลุ่มถัดมาคือ ชาติพันธุ์มอญ และกะเหรี่ยง นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาวเลหรือมอแกนหรือซาโลนที่คนทวายเรียกกัน อาศัยอยู่ตามแนวทะเลอันดามัน

ในหลักศิลาจารึกมีบันทึกว่า ดินแดนของอาณาจักรไทยทางฝั่งตะวันตกในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้แผ่ขยายไปจนถึงหงสาวดีจดอ่าวเบงกอล และในบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้บันทึกชื่อของเมืองทวายและตะนาวศรีว่าเป็นเมืองในอาณาจักรสยาม ตามปรากฏในพงศาวดาร ในด้านประวัติศาสตร์ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัย และอยุธยา

ตามเอกสารประวัติศาสตร์หลายชิ้นระบุว่า ตะนาวศรีเป็นเมืองที่ก่อตั้งโดยกลุ่มคนสยาม ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสยามสมัยอยุธยาระบุว่า มะริดและตะนาวศรีเป็นสมบัติของกษัตริย์สยาม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองมะริด และตะนาวศรี ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากของไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดีย และยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย ถึงกับมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความสามารถให้ปกครองดูแล และด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในอดีตไทยกับพม่าจึงมักมีศึกชิงเมืองมะริด ตะนาวศรี กันบ่อยครั้ง ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทั้ง 3 นี้ แม้บางช่วงจะอยู่ในฐานะหัวเมืองที่ไม่ขึ้นกับใครโดยตรง เช่น ปี พ.ศ. 1883 ที่พระยาเลอไทย ราชโอรสของพระเจ้ารามคำแหงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแทนหัวเมืองมอญได้ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับไทย และได้มาตีเอาเมืองทะวายและตะนาวศรีจากไทยไปได้

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เคยได้ให้ทัศนะว่า เมืองตะนาวศรี และเมืองทวายเป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย พม่าชิงเอาไปสมัยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้กรุงศรีอยุธยา เมืองทวายมีไพร่บ้านพลเมืองเป็นทวาย เมืองตะนาวศรีมีไพร่บ้านพลเมืองมีทั้งพวกเม็งหรือมอญและไทยปะปนกัน ผู้คนเมืองมะริดมีญาติพี่น้องอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

หรือในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2302 สมัยพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวายซึ่งขณะนั้นแข็งเมืองอยู่ และได้ยกพลตามมาตีเมืองมะริดและตะนาวศรีของไทยไปได้ด้วย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พยายามยกทัพไปตีเมืองทวายคืนจากพม่า แม้จะไม่สำเร็จ แต่ในอีก 4 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2334 เมืองทะวาย ตะนาวศรี และมะริด ก็มาสวามิภักดิ์ขอขึ้นกับไทย ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย

ภายหลังในปี พ.ศ. 2408 จึงได้ส่งข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียมาติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การปักปันเขตแดนไทย-พม่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกของไทย ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา

ในช่วงปี พ.ศ. 2408 – 2410 มีการตั้งคณะข้าหลวงปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการร่วมสำรวจและชี้แนวเขตแดนของตนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงจังหวัดระนอง โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้เฉียงตะวันตก เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม รับผิดชอบตั้งแต่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ถึงจังหวัดระนอง ส่วนอังกฤษได้ตั้ง Lieutenant Arthur Herbert Bagge เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม

เมื่อการสำรวจทำแผนที่ และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญา (Convention) ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 และได้มีการให้สัตยาบันกัน ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ภายหลังจากฝ่ายไทยได้ตรวจสอบเห็นว่าแผนที่ The Map of Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam ที่อังกฤษจัดทำขึ้นใหม่นั้นถูกต้องแล้ว นับแต่นั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยพม่าตั้งแต่สบเมยถึงปากแม่น้ำกระบุรี จึงได้เปลี่ยนจากเส้นเขตแดนที่ยอมรับโดยพฤตินัย มาเป็นเส้นเขตแดนที่กำหนดขึ้นโดยอนุสัญญา บัญชีที่หมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา

ในอนุสัญญา ได้ระบุเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรีว่า “ตั้งแต่เขาถ้ำแดงตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลาง เขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวันเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอเรีย ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น…”

สรุปว่า ในครั้งนั้นกำหนดให้แม่น้ำเป็นกลาง ให้ฝั่งเป็นเขตแดน ฝั่งด้านตะวันตกเป็นของพม่า ฝั่งด้านตะวันออกเป็นของไทย สำหรับเกาะในแม่น้ำถ้าชิดฝั่งตะวันตกก็ให้เป็นของอังกฤษ ถ้าชิดฝั่งตะวันออกก็ให้เป็นของไทย สำหรับเกาะขวางให้เป็นของไทย กล่าวได้ว่า ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา

ทวาย หรือ ดะเว (Dawei or Tavoy) เมืองไทยในอดีตเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2336 ซึ่งมีความรุ่งเรืองในอดีต และยังคงทิ้งร่องรอยเชื่อมโยงมาจนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ปากแม่น้ำทวาย รัฐตะนาวศรี หรือ Tanintharyi (Tenasserim) Division ที่เป็นที่รู้จักจากโลกภายนอก ในปี ค.ศ.1989 ประกอบด้วย 3 เมือง คือ ทวาย มะริด หรือ มเยก (Myeik) ในภาษาพม่า และเกาะสอง หรือ ก๊อตาวน์ (Kawthaung) มีทวายเป็นเมืองเอก เป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของพม่า ออกจากด่านบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี สุดเขตแดนไทยพม่า ที่เป็นชายแดนที่ใช้ในการขนอุปกรณ์การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายจากประเทศไทย เข้าสู่ประเทศพม่า ด้วยระยะทางประมาณ 147 กม.

ทวายเป็นเมืองเอก เป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของพม่า เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งก๊าซ แร่ธาตุ อัญมณี ทรัพยากรทางทะเล แหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ และแหล่งท่องเที่ยวสวยงาม หลังจากรัฐบาลเปิดประเทศมาระยะหนึ่ง เมืองทวายก็เปลี่ยนไปพอสมควรรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถสกายแล็บเข้ามาแทนที่รถจักรยาน เกวียน และรถม้า บ้านทรงท้องถิ่นอายุ 80-100 ปี หลายหลังริมถนนใหญ่ถูกทิ้งร้าง บ้างรื้อทิ้งเปลี่ยนเป็นอาคารพาณิชย์ แต่ตามตรอกซอยยังมีให้เห็นมากมาย อาคารสไตล์โคโลเนียล (ยุคอาณานิคมอังกฤษ) ยังมีให้เห็นหลายหลัง ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ทำการรัฐและโรงแรม

วันนี้หนุ่มสาวยังแต่งกายด้วยเสื้อผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก สวมเสื้อผ้าฝ้ายสีอ่อน นุ่งโสร่ง-ผ้าถุง น้อยนักจะนุ่งยีนส์ ยิ่งกางเกงขาสั้นแทบไม่มีให้เห็น แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ คือ “ชายหาดมองมะกัน” หาดทรายขาวสะอาดทอดยาวหลายกิโลเมตร คลื่นลูกใหญ่ม้วนเกลียวซัดฝั่ง เม็ดน้ำใสแจ๋วกระเซ็นใส่ น่าแปลกใจตรงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อน

ทวายเป็นเมืองที่ยังสวยงามทั้งด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ทวายกำลังเปลี่ยนถ่ายสู่โลกสมัยใหม่ มีโรงแรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย มีห้างสรรพสินค้ากำลังก่อสร้างใกล้แม่น้ำทวาย และมีโครงการต่างๆ ที่รอก่อสร้างอยู่เต็มไปหมด

การไปเที่ยวทวายเดี๋ยวนี้มี Package Tour ให้เลือกซื้อมากมายในราคาเฉลี่ยคนละ 8,900 บาท มีรถตู้วิ่งให้บริการระหว่างด่านบ้านพุน้ำร้อน ที่กาญจนบุรี – ทวายอยู่แล้ว เพียงแค่ทำหนังสือผ่านแดนที่ด่านบ้านพุน้ำร้อน อยู่ได้ 7 วันและมีค่าธรรมเนียมฝั่งไทย 30 บาท และฝั่งพม่า 50 บาทเท่านั้น แหล่งท่องเที่ยวในทวายนั้นส่วนใหญ่จะเป็นวัดและทะเล ชายหาดที่ขึ้นชื่อของทวายคือ หาดมอมะกัน หาดนาปูแล หาด San Maria Bay หาด Tayzit หาด Launglon ชายหาดที่วัดชินมอหรือหาดมิ้นควออ่อซึ่งแปลว่าหาดฝ่าเท้าม้า และวัดวาอาราม

ในอนาคตเมืองทวายมีท่าเรือน้ำลึก และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของพม่า Dawei Special Economic Zone ให้นักลงทุนไปสร้างโรงงานอุตสาหกรรม

การไปเที่ยวทวาย ประเทศพม่า ต้องเดินทางผ่านด่านบ้านพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เราเดินทางรถตู้จากกรุงเทพใช้เวลาจากด่านไปสู่ เมืองทวายใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงตลอดเส้นทางเหมือนถนนลูกรัง เส้นทางมีเนินเขาสลับซับซ้อน การผ่านด่านทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราว โดยยื่นบัตรประชาชน และจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาท รอสักครู่ก็จะได้หนังสือผ่านแดนชั่วคราวอายุ 7 วัน สำหรับเดินทางไปพม่าเฉพาะเมืองทวายเท่านั้น แต่หากเป็นชาวต่างชาติต้องใช้หนังสือเดินทางยื่นเป็นหลักฐาน

สำหรับรถตู้ที่จะผ่านแดนไปทวายต้องเป็นรถมีทะเบียนพม่า หรือ ป้ายชั่วคราว คนขับรถแจ้งว่าราคาสูงมาถึงหกหลักสำหรับค่าป้ายทะเบียน ทั้งนี้เพื่อควบคุมรถเข้าไปในพม่า เมื่อรถผ่านแดน คนขับต้องเปลี่ยนป้ายทะเบียนก่อนที่เข้ามาพัฒนาถนนและท่าเรือนำ้ลึกระหว่างทางเส้นทางลูกรังวันนี้มาเห็น 2 ข้างทางถูกไฟป่าเกือบตลอดเส้นหดหู่ใจ เส้นทางจากกาญจนบุรี ไปทวายนั้น ชายแดนบริเวณนี้อยู่ในความดูแลของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือกะเหรี่ยงเค เอ็นยู (KNU: The Karen National Union) และกองกำลังย่อยเคเอ็นแอลเอ (KNLA: Karen National Liberation Army)

ระหว่างทางไปทวาย เส้นทางนี้เห็นแนวลำน้ำทวาย มีการขุดทอง จากแม่น้ำทวาย ตลอดทางลูกรังเห็นสายโทรศัพท์พลาดที่พื้นดินไม่มีเสา เราได้เห็นต้นทางแม่น้ำทวาย มีสีเขียวมรกต ธรรมชาติถูกทำลายน้อยมา มีคำถามใช่ไหมค่ะว่าจะเข้าห้องนำ้อย่างไร ระหว่างมีแคมป์คนงานให้เราได้แวะเข้าห้องน้ำ และแวะรับประทานอาหารที่หมู่บ้านบ้านมิตตา (Myitta)

เมืองทวายเป็นเมืองหลวงของเขตตะนาวศรี หรือ ตะหนิ่นต่าหยี่ มีประชากรราว 140,000 คน มีหลากหลายชาติพันธ์ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาพม่าสำเนียงใต้ ชาวทวายหลายคนเข้าใจและพูดภาษาไทยได้ชัดเจน เพราะ เคยมาทำงานที่เมืองไทย ทวายเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมอญและสูญเสียความเป็นชาติในยุคพระเจ้าอลองพญาแห่งราชวงค์คอนวอง  คำว่า ทวาย ฝ่ายไทยสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ‘ท่าหวาย’ เป็นถิ่นขนส่งหวายข้ามทะเลมาส่วนคนพม่ากลับเรียกว่า ทะแว’ หรือ ‘ดะแว’ หมายถึงผู้ซื้อมีด คนพม่าว่าชาวทวายเป็นชาวพม่ามาจากรัฐยะไข่ เดินทางข้ามทะเลมาซื้อมีดแถบตะนาวศรี ประชากรชาวทวายส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์พม่า คนชาติพันธุ์มอญ และกะเหรี่ยง นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาวเลหรือมอแกนหรือซาโลนที่คนทวายเรียกกัน อาศัยอยู่ตามแนวทะเลอันดามัน ที่นี่เราคาดหวังมีอาหารทะเลที่สมบูรณ์เช่นเดียวกัน

จากที่พักของแคมป์ ของบริษัท อิตาเลียนไทย ขับรถไป 3 กิโลเมตรเจอหลักกิโลเมตรที่ 00 ขับรถตรงมาเรื่อยเจอวัดบนเขา ที่นี่เห็นชายหาดที่สวยงามทรายสีขาว ชายหาดที่นี่เห็นเจดีย์แบบพม่าอยู่ที่ชายหาดทำให้ดูมีเสน่ห์อีกแบบ ชายหาดที่นี่สวยเพราะไม่ถูกฝีมือมนุษย์ทำลาย

หลัก กม ที่ 00 จุด LandMark ท่าเรือน้ำลึกทวาย

ชมทะเลเพลินๆ ขับรถเข้าตัวเมืองทวายเห็นอุโมง์ต้นตาลที่สวยงาม ถนนเส้นนี้จากทวายมุ่งตรงไปย่างกุ้งได้

ตลาดเช้าที่ทวายมีทั้งเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู ปลา ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ของแห้ง ฯลฯ ที่นี่เราจะได้เห็นปลาขนาดใหญ่หลายชนิดที่เราไม่รู้จักทั้งสด แห้ง และหมักกับข้าวคล้ายๆ ปลาส้มของไทย ปลาใหญ่ขายเป็นตัวในราคาถูก มาแล้วต้องซื้อแป้งทานาคาและหินบด เอาแป้งทานาคามาทาช่วยลดฝ้าได้ดีมาถึงตลาดกลางเมือง (Municiple Market) หรือตลาด 100 ปี ต้องไม่ลืมซื้อแป้งทานาคา มาทาแก้ร้อน ช่วยกันฝ้า และพี่ๆไปด้วยจัดชุดใหญ่ ซื้อที่บดทานาคา สาวๆที่ทวาย เข้าตำราผิวพม่านัตย์ตาแขกจริงๆ

ซื้อในตลาดเสร็จแล้ว มาแวะไหว้พระกันค่ะ ที่นี่วัดชินโมทิพญา (Shinmokhti Paya) ซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1438 เก่าแก่ที่สุดในเมืองทวาย และอย่าลืมมาเที่ยวแวะพม่าต้องถอดรองเท้าเข้าวัด

ต่อจากวัดใหญ่นี้ไปไหว้พระ วัดพระนอนวัดพระไสยาสถ์ชเวธาลยัง ดอมะ (Shwethalyaung Daw Mu)ซึ่งมีความยาวถึง 74 ม. สูง 21 ม. ซึ่งสร้างเสร็จใน ปี ค.ศ. 1931 มีการสร้างหลังคาคลุมองค์พระไว้ ที่นี่มีพระนอนขนาดใหญ่ ตาหวาน ขนตาสวย และปากแดงงดงามตามธรรมเนียมวัฒนธรรมของพม่า ที่นี่มีตู้เสี่ยงทายมาหยอดเหรียญ รอลุ้นดูผลว่าเราไปอยู่นรกสวรรค์ หรืออยู่โลกมนุษย์

วัดพระนอน ที่วัดพระไสยาสถ์ชเวธาลยัง ดอมะ (Shwethalyaung Daw Mu)

โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และนิคมอุตสาหกรรมทวาย และเส้นทาง คมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า (Dawei Deep Sea Port & Industrial Estate Project and Transborder Corridor Link) เป็นอภิมหาโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่าหากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตกและตะวันออก โครงการนี้ ถือเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค เชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในแถบทะเลจีนใต้ ผ่านทะเลอันดามัน ไปสู่ มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถส่งสินค้าทั้งไปและกลับทางน้ำ ผ่านไปสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง, ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยพัฒนาการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญเติบโตในระยะยาวต่อไป

หลังจากนั้นนำท่านเดินทางสู่ หาดเมาะมะกัน ชายหาดที่สวยงามและยังคงธรรมชาติแบบดั้งเดิม ทั้งยังเป็นที่นิยมของคนพม่าที่มาพักผ่อนกันที่นี่

ถนนจากด่านพุน้ำร้อนถึงทวายมีความยาวประมาณ 142 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรกเป็นถนนลูกรังที่อัดบด และถนนช่วงที่สองเป็นถนนลาดยางมีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร เมื่อเรานั่งรถข้ามสะพานแม่น้ำเมตต้าหรือเมตตา (คำว่า ‘เมตต้า’ เป็นภาษาท้องถิ่นมีความหมายเหมือนกับคำว่า ‘เมตตา’ ในภาษาไทย) เราจะผ่านด่านตำรวจพม่าจากนั้นก็จะเข้าสู่หมู่บ้านเมตต้าหรือถ้าจะเรียกให้ถูกก็คงจะเป็นกิ่งอำเภอเมตต้าเสียมากกว่าเพราะในภาษาอังกฤษทางพม่าเขียนว่า ‘Myittar sub-township’ แม่น้ำเมตต้าไหลลงสู่แม่น้ำตะนาวศรีและแม่น้ำตะนาวศรีไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่เมืองมะริด….และเมื่อเราวิ่งเข้าสู่หมู่บ้านเมตต้าก็จะเป็นถนนลาดยางและเริ่มมีชุมชนหนาแน่นมากขึ้น ถนนลาดยางเส้นนี้เป็นถนนที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง เราเห็นสะพานเหล็กที่มีตัวเลข ค.ศ. 1915 กำกับไว้ตรงราวสะพานด้านหน้า และเป็นถนนเส้นที่นายพลอูอ่องซานและกลุ่มสามสิบวีรชน (Thirty Comrade) แห่งกองทัพเพื่อเอกราชพม่าหรือเรียกสั้นๆ ว่า B.I.A ใช้เป็นเส้นทางผ่านหลังจากกลับจากการฝึกที่เกาะไหหลำ พวกเรายังพบเสาธงที่สร้างขึ้นโดยกองทัพ B.I.A ตรงทางเข้าหมู่บ้านต่องโตงโลงหรือหมู่บ้านภูเขาสามลูกอยู่เช่นกัน

 

ชมเสน่ห์ ชายหาดที่สวยงามและผู้คนน่ารัก วัดวาอาราม ธรรมชาติที่งดงามกัน การไปเที่ยวทวาย ประเทศพม่า

ได้ยินชื่อทวายมานานแล้ว เพราะที่นี่โด่งดังมาก จะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญของพม่า หรือ Dawei Special Economic Zone ในอนาคตเมืองทวายจะมีท่าเรือน้ำลึก และเปิดให้นักลงทุนทั่วโลกสร้างโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ แต่ ณ วันนี้ งานก่อสร้างยังไม่ได้เริ่มขึ้น เราก็ไปเที่ยวเมืองทวายกันก่อน ชมเสน่ห์ ชายหาดที่สวยงามและผู้คนน่ารัก วัดวาอาราม ธรรมชาติที่งดงามกัน การไปเที่ยวทวาย ประเทศพม่า จะต้องเดินทางออกจากด่านบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เราเดินทางรถตู้จากกรุงเทพใช้เวลาจากด่านไปสู่เมืองทวาย จะใช้เวลาราว 5 ชั่วโมงเส้นทาง 168 กม. แต่ถ้าเป็นรถ 4WD อาจจะแค่ราว 3-4 ชม.

การผ่านด่านทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราวจะทำทั้งที่ฝั่งไทยและพม่า โดยยื่นบัตรประชาชนพร้อมรูปถ่าย 2 นิ้ว 1 ใบ และจ่ายค่าธรรมเนียม 30 บาท ได้หนังสือผ่านแดนชั่วคราวอายุ 7 วัน สำหรับเดินทางไปพม่าเฉพาะเมืองทวายเท่านั้น แต่หากเป็นชาวต่างชาติต้องใช้หนังสือเดินทางยื่นเป็นหลักฐาน แต่ถ้าเราอยากไปเที่ยวเมืองอื่นๆด้วยต้องขอวีซ่าและใช้พาสปอร์ตรถตู้ที่จะผ่านแดนไปทวายต้องเป็นรถมีทะเบียนพม่า ซึ่งก็ปรากฏว่ารถตู้ฝั่งไทยก็จะมีป้ายนี้กัน แล้วนำมาแปะทับ

ตลอดเส้นทางเหมือนถนนลูกรัง แต่ไม่เลวร้าย วิ่งไปได้เรื่อยๆ เส้นทางมีเนินเขาบางช่วง ชมวิวป่าเขาที่ยังสมบูรณ์และธารน้ำข้างๆวิวงดงามมาก บริษัท อิตาเลียนไทย ได้เข้ามาพัฒนาถนนและท่าเรือน้ำลึก แต่ยังไม่คืบหน้านัก อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่ของพม่าเส้นทางจากกาญจนบุรีไปทวายนั้น ชายแดนบริเวณนี้อยู่ในความดูแลของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือกะเหรี่ยงเคเอ็นยู (KNU: The Karen National Union) และกองกำลังย่อยเคเอ็นแอลเอ (KNLA: Karen National Liberation Army) การเดินทางก่อนที่จะถึงตัวเมืองทวาย จะผ่านด่านตม.ของทั้งกะเหรี่ยงและพม่า ราว 4-5 ด่าน แนะนำว่าควรมีคนพม่าไปด้วยเพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่และประสานงานต่างๆ

มาถึงทวายแล้ว เมืองทวายเป็นเมืองหลวงของเขตตะนาวศรี หรือตะหนิ่นต่าหยี่ มีประชากรราว 140,000 คน มีหลากหลายชาติพันธ์ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาพม่า ชาวทวายส่วนมากเข้าใจและพูดภาษาไทยได้ หลายคนเคยมาทำงานที่เมืองไทย ประชากรชาวทวายส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์พม่า และมีชาติพันธุ์มอญ และกะเหรี่ยง นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาวเลหรือมอแกน อาศัยอยู่ตามแนวทะเลอันดามัน ถูกแล้วที่นี่ติดทะเลอันดามัน อาหารการกินอุดมสมบูรณ์มาก ชาวพม่าในเมืองนี้นิยมขี่รถจักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะนุ่งผ้าถุงหรือโสร่ง พวกเขาก็ขี่กันได้อย่างถนัด ระหว่างทางเข้าเมืองเราจะได้ลอดผ่านอุโมงค์ต้นไม้

10 สถานที่ที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปทวายคือ

1 สิ่งแรกที่เจอเมื่อเข้าสู่เมืองทวายคือ อนุสาวรีย์นายพลอูอ่องซาน หรือ อนุสาวรีย์กองทัพเอกราชระหว่างทางเราจะเห็นอาคารบ้านเรือนและอาคารสำนักงาน ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

2 วัดพระนอนวัดพระไสยาสถ์ชเวธาลยัง ดอมะ (Shwethalyaung Daw Mu)ซึ่งมีความยาวถึง 74 ม. สูง 21 ม. ซึ่งสร้างเสร็จใน ปี ค.ศ. 1931 มีการสร้างหลังคาคลุมองค์พระไว้ ที่นี่มีพระนอนขนาดใหญ่ ตาหวาน ขนตาสวย และปากแดงงดงามตามธรรมเนียมวัฒนธรรมของพม่า ที่นี่มีตู้เสี่ยงทายมาหยอดเหรียญ รอลุ้นดูผลว่าเราไปอยู่นรกสวรรค์ หรืออยู่โลกมนุษย์

3 วัดพระเจดีย์ ชเว ด่อง จา (Shwe Taung Sar Zedi) ซึ่งเป็นวัดเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองทวาย และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพม่าอีกแห่งหนึ่ง ณ วัดแห่งนี้จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวพม่าที่นิยมมาไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเวลาตอนเย็น

4 วัดเซียนตานโป่ว หรือวัดที่อยู่บนเขาสูง ออกจากตัวเมืองไป จะมีเจดีย์สีทองอร่ามตา จากเนินเขามองเห็นวิวธรรมชาติโดยรอบงดงามมาก

5 วัดเมาะละเมียว มีน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ มีความงดงามมากขององค์เจดีย์เช่นกัน หน้าวัดมีน้ำอ้อยสด อร่อยมาก น้ำอ้อยที่นี่ไม่หวานจัดนัก เป็นอ้อยสีน้ำตาลแดง

6 ตลาดเช้ากันนาเซ่ ซึ่งเป็นตลาดสดที่คึกคักไปด้วยผู้คนมากมาย มีสินค้า เช่นอาหารทะเลสด ผัก และผลไม้พื้นเมือง จำหน่ายมากมาย สัมผัสวิถีชีวิตชาวทวายอย่างใกล้ชิดและเก็บภาพบรรยากาศเมืองทวายยามเช้า ตลาดเช้าที่ทวายมีทั้งเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู ปลา ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ของแห้ง ฯลฯ ที่นี่เราจะได้เห็นปลาขนาดใหญ่หลายชนิดที่เราไม่รู้จักทั้งสด แห้ง และหมัก

7 ตลาด 100 ปี หรือตลาดเซจี ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ตั้งแต่ยุคสมัยอาณานิคมอังกฤษ มีหลากหลายสินค้าให้เดินช็อปปิ้ง พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตของชาวทวาย และบรรยากาศของตลาดที่ยังคงความเป็นอดีตไว้อย่างมาก รอบๆตลาดมีการขายทองกันแทบทุกร้าน แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นทองแท้100เปอร์เซ็นต์หรือไม่ เพราะขายกันเป็นตู้ๆและยังมีผ้าลุนตยาที่เป็นผ้าพื้นเมืองของที่นี่ มีสีสันและลวดลายงดงาม

8 โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นอภิมหาโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่าหากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตกและตะวันออก โครงการนี้ ถือเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค แต่ตอนนี้ไม่มีความคืบหน้าหรือการก่อสร้างใดๆ ท่าเรือน้ำลึกนี้มีหาดทรายขาวและน้ำทะเลใส ขับรถเลาะเลียบไปตาม ชายหาดนาปูแล ภาพทะเลผืนงามและความเงียบสงบ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ก่อนขึ้นไปชมวิววัดบนเขา

9 หาดเมาะมะกัน ชายหาดที่สวยงามและยังคงธรรมชาติแบบดั้งเดิม ทั้งยังเป็นที่นิยมของคนพม่าที่มาพักผ่อนกันที่นี่ เรามาช่วงใกล้พระอาทิตย์ตกสวยมากๆที่สำคัญอาหารทะเลที่นี่ตัวใหญ่ๆเบ้งๆ เนื่องจากเป็นทะเลน้ำลึกอันดามัน กุ้งมังกรที่นี่ตัวใหญ่มาก ราคาตัวละราว 300 บาท แต่ทานตัวเดียวอิ่มเลย

10 เดินเล่นกลางเมือง ชมอาคารบ้านเรือนและอาคารสำนักงาน ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เริ่มเดินจากกม.ที่ 0 ของเมืองไปเรื่อยๆ ผ่านอาคารที่ว่าการเมือง หอนาฬิกา และมีสำนักงานเอสซีจีของไทยตั้งอยู่บริเวณนี้

โรงแรมของเขตตะนาวศรี ทวาย ซึ่งมองว่าทวายมีศักยภาพมาก ทั้งการท่องเที่ยวและลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยว ปัจจุบันมีโรงแรม 11 โรง จำนวนห้องพัก 393 ห้อง แต่ยังมีโอกาสโตสูง และอยากเชิญชวนให้คนไทยมาเที่ยวชมความงามของทวาย ทั้งยังสามารถต่อไปเที่ยวที่มะริด หรือเกาะสอง

 

 

 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

เรียบเรียงข้อมูลโดย Off Road Magazine

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ Off Road Magazine

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save