ระบบตรวจสอบความปลอดภัยก่อนชนของ Continental ช่วยให้ถุงลมนิรภัยทำงานได้เร็วขึ้น
Continental ฉลองครบรอบ 40 ปี ของการพัฒนาระบบควบคุมถุงลมนิรภัย และบริษัทคว้าโอกาสในการนำเสนอชุดระบบความปลอดภัยใหม่ที่งาน IAA Mobility 2021 ในเมืองมิวนิก ซึ่งรวมถึงระบบตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเกิดอุบัติเหตุ วาล์วควบคุมถุงลมนิรภัย และเครื่องตรวจจับแรงกระแทกของแบตเตอรี่
การพัฒนาชุดควบคุมถุงลมนิรภัย (Airbag Control Units – ACU) เริ่มขึ้นในปี 1981 และมีการเริ่มการผลิตในปี 1986 นับแต่นั้นมา Continental ได้ผลิตถุงลมนิรภัยไปแล้วกว่า 350 ล้านชุด ซึ่งในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา ACU ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ตั้งแต่การควบคุมถุงลมนิรภัยเดี่ยวไปจนถึงการควบคุมวงจรการจุดระเบิดมากถึง 48 วงจร (ขึ้นอยู่กับรุ่น) และความสามารถในการรับการอัปเดตซอฟต์แวร์แบบ over-the-air เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และการชน การตรวจจับ แม้ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้ากำลังชาร์จไฟ
ระบบตรวจสอบความปลอดภัยก่อนการชนของ Continental เป็นระบบที่รวมการตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบและห้องโดยสารเพื่อ “ปรับกลยุทธ์การทำงานของถุงลมนิรภัยให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ ผู้โดยสาร และตำแหน่งของพวกเขามากขึ้น” การใช้ข้อมูลจากจำนวนเซ็นเซอร์ที่เพิ่มขึ้นที่พบในรถยนต์สมัยใหม่ ทำให้ถุงลมนิรภัยสามารถใช้งานได้เร็วขึ้นและด้วยเทคโนโลยีวาล์วควบคุมถุงลมนิรภัย ทำให้สามารถรปกป้องผู้โดยสารได้อย่างเหมาะสม
ไม่เพียงแต่ช่วยให้มีการป้องกันที่ดียิ่งขึ้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่ทุ ๆ มิลลิวินาที แต่ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของถุงลมนิรภัยที่สามารถใช้งานได้ในลักษณะที่ควบคุมได้มากขึ้น ในอนาคต Continental แนะนำว่าถุงลมนิรภัยจะอ่อนลงในช่วงเวลาที่ผู้โดยสารกำลังเข้าปะทะกับถุงลมนิรภัย ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากถุงลมนิรภัยอัดหระแทกใบหน้าได้
คุณสมบัติอีกอย่างที่ฟังดูมีประโยชน์มากสำหรับยุคยานยนต์ไฟฟ้า คือ ระบบตรวจจับแรงกระแทกของแบตเตอรี่ การใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับการสัมผัสที่เรียกว่า CoSSy (Contact Sensor System) ซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกันกับระบบป้องกันคนเดินถนน สามารถตรวจจับความเสียหายเล็กน้อยของแบตเตอรี่ได้ทันที Continental จะรวมฟังก์ชันนี้เข้ากับ ACU และวางแผนที่จะใช้เพื่อตรวจจับการก่อกวนและติดตามสภาพถนนได้
ระบบดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าทาง Continental ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน เราคาดว่าจะเห็นระบบเหล่านี้นำไปใช้ในยานพาหนะสำหรับการผลิตในอนาคตข้างหน้าอย่างแน่นอน
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.