ทำความรู้จักกับ Car Seat หรือ เบาะนั่งสำหรับเด็ก
ส่วนใหญ่แล้วเมื่อค้นหาข้อมูลตามอินเตอร์เนตจะพบว่าเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กมักจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ แต่จะแตกต่างกันในเรื่องของประเภทและแบบมากกว่า ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องใส่ใจกันมากนัก เพราะโดยหลักๆ แล้วก็มีหลักการหรือรูปแบบเดียวกัน แต่เรียกต่างกันเท่านั้นเอง
แบบแรกคือ เป็นเบาะที่เรียกว่า Infant Carrier Seats สำหรับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ 9.09 กิโลกรัม หรือ 20 ปอนด์ และความสูงประมาณ 26 นิ้ว ซึ่งบางยี่ห้อจะขายเป็นลักษณะคล้ายแปลหิ้วแบบ Built-in รวมกับชุดรถเข็นเลยก็มี เรียกว่าแบบ 3-1 ซื้อมาแล้วได้ทั้งเบาะนั่งนิรภัย รถเข็น หรือแปลหิ้วเวลาพาเจ้าตัวเล็กไปหาหมอ
แบบที่ 2 เรียกว่า Rear-Facing Convertible Seats สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนจนถึง 1 ปี ซึ่งมีน้ำหนักไม่เกิน 13.6 กิโลกรัม หรือ 30 ปอนด์ และเมื่อนั่งในเบาะแล้ว ขอบบนของเบาะมาจนถึงด้านบนของศีรษะเด็กจะต้องห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 นิ้ว เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่อาจจะกระแทก เพราะเบาะแบบนี้ยังต้องติดตั้งในลักษณะ Rear Facing หรือหันหัวเด็กไปทางด้านหน้าของรถเหมือนกับแบบแรก
แบบที่ 3 เรียกว่า Forward Facing Seat หรือ Toddle Booster Seat แต่กับการรณรงค์ครั้งใหม่ที่อยากให้เด็กนั่งแบบ Rear Facing จนถึงอายุ 4 ขวบอาจจะไม่เหมาะที่เรียกเบาะแบบนี้ด้วยชื่อนี้ ซึ่งเบาะแบบที่ 3 สำหรับใช้กับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักไม่เกิน 40 ปอนด์ หรือ 18.8 กิโลกรัม หรือดูจากเมื่อเด็กนั่งอยู่ในเบาะ บนสุดของหัวไหล่จะต้องอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวของเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดของตัวเบาะ
เบาะในกลุ่มนี้มีความซับซ้อนและรูปแบบที่กว้าง ทำให้ผู้ปกครองเวียนหัวกับการเลือก ต่างจากเบาะ 2 แบบแรกที่ขนาดตัวของเด็กและอายุเป็นตัวกำหนดการใช้งาน เพราะว่าเบาะนั่งในกลุ่มนี้สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 1 ปีไล่ไปจนถึง 5-6 ปีเลยก็มี ก่อนที่พวกเขาจะเปลี่ยนมาใช้เบาะประเภทต่อมาที่เรียกว่า Booster หรือเบาะนั่งเสริม
แบบที่ 4 คือ Booster หรือเบาะนั่งเสริมมีทั้งรูปแบบที่เป็นเบาะทั้งอันมีทั้งที่รองและพนักพิงหลัง หรือว่าเป็นแค่เบาะรองนั่งอย่างเดียว โดยจะใช้งานร่วมกับเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดของเบาะหลัง ซึ่งเบาะประเภทนี้เป็นจุดสุดท้ายของเบาะนั่งนิรภัยก่อนที่ตัวเด็กจะเปลี่ยนผ่านไปสู่การโตเต็มวัยสำหรับการใช้เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์
โดยปกติแล้ว Booster จะใช้กับเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-8 ปี ซึ่งมีความสูง 4 ฟุต 9 นิ้ว หรือ 142 เซ็นติเมตร และก็รวมถึงผู้ใหญ่มีความปิดปกติกับสรีระด้วย เพราะตัวเบาะจะช่วยรองให้ระดับในการนั่งของเด็กอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการใช้เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดในเบาะหลังของรถ
นอกจากนั้นยังมีเบาะนั่งอีกประเภทที่เป็นเบาะพิเศษสำหรับเด็กแรกเกิด หรือ Special Seat ที่มีขนาดเล็กกว่าปกติ ตัวเบาะจะมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายกับแปล
อย่าลืมดูมาตรฐาน
การจะเลือกซื้อเบาะแบบไหนนั้น ให้หันไปมองเจ้าตัวเล็กที่จะต้องนั่งเป็นหลัก และเวลาจะซื้อทุกครั้ง ควรนำลูกไปลองด้วยตัวเอง เพราะเด็กจะนั่งสบายหรือไม่สบายกับรูปทรงของเบาะ หรือวัสดุของตัวเบาะนั้น ต้องลองกับของจริงเท่านั้น
นอกจากการแบ่งตามข้างบนแล้ว ในฝั่งยุโรปยังใช้วิธีแบ่งประเภทของเบาะออกเป็นขั้น หรือ Stage ตามมาตรฐานการทดสอบของยุโรปที่เรียกว่า ECE ซึ่งมี 2 มาตฐาน คือ ECE R44.03 และ ECE R44.04 แต่โดยรวมแล้วก็ไม่ต่างจากการแบ่งข้างบนสักเท่าไร และคิดว่าวิธีนี้ทำให้เลือกซื้อเบาะได้ง่ายและสะดวกกว่าด้วยซ้ำ
Stage 1 = Groups 0 and 0+ ซึ่งแบบแรกสำหรับเด็กอายุ 6-9 เดือนที่มีน้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม และอย่างที่ 2 สำหรับเด็ก 12-15 เดือนที่มีน้ำหนักไม่เกิน 13 กิโลกรัม
Stage 2 = Group 1 เด็กที่มีน้ำหนักระหว่าง 9-18 กิโลกรัม หรือใช้ได้ตั้งแต่ 9 เดือนจนถึง 4 ปี
Stage 3 = Group 2 เด็กที่มีน้ำหนักระหว่าง 15-25 กิโลกรัม หรือใช้ได้ตั้งแต่ 4-6 ปี
Stage 4 = Group 3 เด็กที่มีน้ำหนักระหว่าง 22-36 กิโลกรัม หรือใช้ได้ตั้งแต่ 6-11 ปี
ถ้าว่ากันตามการแบ่งประเภทของยุโรปแล้ว เบาะนั่งจะมีแค่ 3 แบบเท่านั้น คือ สำหรับแรกเกิดที่อยู่ใน Group 0 และ 0+ ตามด้วยแบบ Toddle ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Group 1 และ Booster ที่อยู่ในกลุ่ม Group 2 และ 3 และในบางครั้งเบาะนั่ง 1 ตัวอาจจะสามารถผ่านมาตรฐานการทดสอบโดยได้เรทที่รองรับ Stage ในกลุ่มที่สูงกว่า เช่น เบาะนั่งในแบบ Group1 อาจรองรับกับการใช้งานใน Group 2 หรือ 3 ก็ได้ ถ้าสามารถผ่านการทดสอบภายใต้ข้อกำหนด
ตรงนี้ต้องดูที่ป้ายบอกจากผู้ผลิตเบาะนั่งเด็กให้ดี หรือพูดง่ายๆ คือ ท่านผู้ปกครองควรหาข้อมูลจากเว็บไซต์และทำการบ้านให้เยอะๆ ก่อนซื้อ เพราะบางทีอาจจะจ่ายทีเดียวแต่ใช้งานได้นานเลย
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.