Along the Ho Chi Minh trail War history. ตามรอยเส้นทางสายประวัติศาสตร์สงครามโฮจิมินท์

1_resize

ปฐมบทก้าวย่างสู่เส้นทาง AEC ครั้งนี้ผู้เขียนเองได้พยายามศึกษาหาเรื่องราวเส้นทางที่มีกลิ่นไอ ยุคสงครามเวียดนาม สำหรับการเดินทางในครั้งนี้ อาจจะแตกต่างไปจากคอลัมน์ SPECIAL TRIP ที่ส่วนใหญ่จะเดินทางทั่วไปตามป่าเขาลำเนาไพรในประเทศไทยของเราเอง แต่ครั้งนี้ผมเองจะพาท่านท่องโลกกว้าง ไปเปิดประตูสู่ AEC บ้านพี่เมืองน้องซึ่งไม่ไกลจากบ้านเรานัก นั่นก็คือ สปป.ลาว เพื่อนบ้านเรานี้เอต

2_resize

ก่อนการเดินทางกระผมเอง ได้ไปศึกษาหาข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์เส้นทางสายนี้ซึ่งคนไม่ใช่ใครที่ไหน “น้า POP MT” ของเรานี้เองซึ่งได้ทราบกฎระเบียบต่างๆ ในการขับรถในสปป.ลาว หลังจากได้ข้อมูลรายระเอียดต่างแล้ว เราจึงวางแผนกำหนดการเดินทางในครั้งนี้ ซึ่งเดิมทีเราจะไป เมืองอัตตะบื้อ แขวงเซกอง ในช่วงต้นฝน แต่ก็มีเพื่อนสมาชิกหลายคนที่ติดภารกิจจึงได้เลื่อนการเดินทางออกไป หลังจากที่เพื่อนสมาชิกหลายๆ ท่านได้เคลียร์เรื่องงานประจำให้ว่าง ประจวบด้วยผู้เขียนเองทำงานด้านการศึกษาจึงเสนอไปว่า ช่วงปิดเทอมเดือนกันยายนเหมาะที่สุด เพราะอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว การเดือนทางครั้งนี้จึงบังเกิดขึ้น โดยเพื่อนร่วมทริปลาวใต้ในครั้งนี้สมาชิก 8 คน รถ 3 คัน ประกอบด้วย เสี่ยเล็ก แห่ง ASIA AUTOSHOP พร้อมเนว์คู่ใจ จะเด ควบเจ้า TOYOTA Landcruiser vx80 คันงามตะลุยทริปนี้ และทีมงาน FORD เรนเจอร์ ประกอบด้วย เกรียง เชษฐ์  และน้องเก่ง สุดหล่อที่มาไกลจากเพชรบูรณ์เพื่อทริปนี้โดยเฉพาะ สำหรับบททดสอบช่วงล่าง NEW FORD ในเส้นทางออฟโรด

3_resize

4_resize

ส่วนผู้เขียนนั้นไปสมทบกับ น้าฮาร์ท หรือ ป๋าเจตต์ เชียงใหม่ ที่แกลงทุนเปลี่ยนรองเท้าใหม่ให้เจ้า D-MAX คันขาวสุดหล่อเพื่อความมั่นใจในต่างแดน การเดินทางในครั้งนี้เราได้ติดต่อประสานงานไปยังรายการทีวีรายการหนึ่งของสปป.ลาว ชื่อรายการ “โจแดนจำปา” ซึ่งทำรายการคล้ายๆ กับ รายการเนว์วิเกเตอร์บ้านเรา ได้รับคำตอบว่าเขาจะนำทางให้เราในทริปนี้ แต่มีการเปลี่ยนแผนจากแขวงเซกองมาเป็นแขวงสะหวันนะเขต โดยเราจะต้องเดินทางเข้าสปป.ลาว ที่ด่านจังหวัดมุกดาหาร ติดกับแขวงสะหวันนะเขต

5_resize

6_resize

การเดินทางในวันแรก เราเสียเวลาตรงด่านนิดหน่อย ซึ่งกว่าจะข้ามไปฝั่งลาวได้เกือบเที่ยงวัน เคลื่อนเข้าไปในตัวเมืองเพื่อไปสมทบขบวนออฟโรดเจ้าถิ่น ที่นำโดยทีมงานช่างโอฬาน และครั้งนี้เป็นเป็นการบังเอิญจริงๆได้เจอลูกศิษย์เก่าของผม เดย์ เชียงคำ ที่ไม่ได้เจอกันมา 10 ปีหลังจากเรียนจบหันมาเอาดีด้วยการข้ามมาขายอะไหล่รถยนต์อยู่ฝั่งนี้ ผมสอบถามอ้ายโจว่า คืนนี้เราจะไปเดินทางไปนอนที่ไหน แกจึงบอกเราว่าจะพาไปนอนฟังเสียงละมั่ง ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นไม่น้อยที่จะไปนอนกางเต็นท์ในป่าที่มีฝูงละมั่งฝูงสุดท้ายของโลก และปกติแล้วนักท่องเที่ยวทั่วๆ ไป ในลาวไม่อนุญาตให้กางเต็นท์นอนได้ตามอำเภอใจเหมือนบ้านเรา ดังนั้นการไปนอนพักแรมกลางป่าเช่นนี้นับเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งของคณะเรา

5_resize

6_resize

ขบวนใช้เส้นทางลาดยางปกติราวๆ 40 กม. จนไปถึง หลัก 35 ซึ่งเรามาพักทานอาหารเที่ยงที่นี้ ผมเองได้สอบถามทางอ้ายโจว่า เราจะขับบนทางลาดยางแบบนี้อีกนานมั้ย ( ถนนแบบนี้บ้านผมมีแล้ว) เพราะตอนนี้อยากออกกำลังเกียร์กันเต็มแก่ ได้คำตอบมาว่าอีกแค่ 3 กม. ก็จะเจอกับเส้นทางออฟโรดแล้ว

7_resize

8_resize

หลังจากทานเฝอ (ก๋วยเตี๋ยว) ตุนแรงกันเรียบร้อย พวกเราก็วิ่งตามเส้นทางเข้าสู่เมืองแก้งก๊อก เจอเส้นทางที่ต้องเรียกได้ว่าเขย่าตับไตใส้พุง อาหารที่กินไปแทบจะกลับออกมาทางเดิม ใช้เวลาไปราวๆ 1 ชั่วโมง ระยะประมาณ 30 กม. เร็วบ้าง ช้าบ้าง หลบรถช่วงสะพานในแต่ละช่วง เพราะสะพานที่นี้รถไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้ ขับผ่านแนวต้นตาลซึ่งธรรมชาติได้รังสรรค์ความสวยงามในเส้นทางสายนี้ ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส พวกเราวิ่งไปอีกสักพักจึงแวะจอดพักขบวนที่บ้านดอนแดง ซึ่งกลางหมู่บ้านมีบึงขนาดใหญ่อยู่บึงแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า บึงปลาผา(ตะพาบน้ำ) อาศัยอยู่จำนวนมาก มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผมเองไม่ได้เข้าไปดูข้างใน เพราะมัวแต่สาละวนเก็บบรรยากาศชนบทในหมู่บ้าน ส่วนระยะทางจากบ้านแก้งก๊อกมาบ้านดอนแดงระยะทางประมาณ 20 กม. ถือว่าไม่ได้ลำบากมากเท่าไร แต่ฝุ่นเยอะมาก สงสารแต่รถเซอร์วิสที่ไม่มีแอร์เปิดรับอากาศข้างนอกต้องดมฝุ่นตามหลังเราตลอดเส้นทาง เราก็ออกเดินทางกันอีกครั้ง โดยใช้เส้นทางมุ่งหน้าสู่เมืองชลนะบุรี แวะจอดรับหัวหน้าป่าไม้ผู้รับผิดชอบเขตพื้นที่ป่าฝูงละมั่งแห่งนี้ พร้อมกับเอาหนังสือจากเจ้าแขวงมาแสดงยืนยันว่าเป็นนักท่องเที่ยวจากฝั่งไทย (ตรงหนังสือราชการตรงนี้ทางรายการโจแดนจำปาดำเนินการให้ครับ)

9_resize

10_resize

จากนั้นเดินทางมุ่งหน้าสู่บ้านสองห้องระยะทาง 30 กม. ยังคงวิ่งอยู่บนถนนลูกรังสลับข้ามลำห้วย ผ่านหมู่บ้าน ผ่านเส้นทางลักษณะป่าเต็งรัง พื้นที่คล้ายกับทุ่งดอกกระเจียว ไม่นานก็เดินทางมาถึงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งเป็นลานหญ้ากว้าง แต่มองรอบๆ แล้ว ไม่มีแหล่งน้ำ ป๋าเจตต์จึงบอกว่าเราควรหาพื้นที่กางเต็นท์ใกล้แหล่งน้ำน่าจะเหมาะกว่า เพื่อที่จะได้อาบน้ำและล้างภาชนะใส่อาหาร จึงพากันย้ายจากลานกางเต็นท์ไปจุดริมลำห้วย หลายคนรีบจัดแจงกางเต็นท์ดึงฟรายชิสกันฝนไว้ก่อน ส่วนผมเองไม่ได้รีบอะไร เพราะได้ของดีจากเอ้าท์ดอร์ อินโนเวชั่น หรือ EQUINOX มาทดสอบสำหรับฤดูฝน เป็นเต็นท์ของ KARANA โยนกางง่ายและไว

11_resize

12_resize

13_resize

ความมืดเริ่มปกคลุมอย่างรวดเร็วในราวป่า บรรยากาศรอบด้านเงียบสงบ พวกเราจัดแจงทำอาหารและร่ำสุรากับมิตรสหายใหม่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผมเองปลีกตัวไปเก็บภาพบรรยากาศค่ำคืน นอนดูแสงดาวกลางป่าในต่างแดน อากาศเริ่มเย็นลงเรื่อยๆ ยิ่งตึกน้ำค้างเริ่มแรง มุดเข้าเต็นท์นอนฟังเสียงหริ่งหรีดเรไรที่ร่วมกันบรรเลงเพลงกลางไพร บรรยากาศแบบนี้ซินะที่หลายคนถวิลหา

ช่วงเวลาประมาณตี 4 ผมต้องสะดุ้งตื่น เพราะมีเสียงคำราม ไม่ใช่เสือสางที่ไหนหรอกครีบ เป็นเสียงกรนจจากเต็นท์ข้างๆ นั่นเอง เล่นเอานอนไม่หลับ เลยหาวิธีการให้คนอื่นตื่นเช้าๆ โดยก่อไฟไล่ความหนาวเย็น พร้อมกับนำกล้องตัวเก่ง มาถ่ายภาพทางช้างเผือกไปพรางๆ รับรุ่งอรุณวันใหม่

14_resize

ก่อนฟ้าสาง อ้ายโจก็ตื่นพร้อมกับเรียกลูกน้องให้ตื่น เพื่อจะพาพวกเราจะไปตามล่าหาฝูงละมั่งที่ออกหากินในช่วงเช้า ตามคำบอกเล่าของเจ้าถิ่นว่า ละมั่งฝูงนี้จะไม่ตื่นตกใจกับเสียงรถ ตรงกันข้ามจะกินหญ้าอยู่กับที่ไม่สนใจอะไร การขับรถหาฝูงละมั่งในครั้งนี้ปรากฎว่าเราไม่เจอสิ่งที่คาดหวัง เจอแต่รอยเท้ากับกองอุจจาระ เราจึงย้อนกลับมาที่แคมป์ เก็บเต็นท์เก็บสัมภาระออกเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองเซโปน โดยใช้เส้นทางลัดไม่ออกถนนหลัก เรามุ่งหน้าเข้าสู่บ้านสนามไชย และบ้านภูตูบมูบ เส้นทางคับแคบเพราะเป็นทางมอเตอร์ไซค์ เราขับลัดเลาะตามแนวต้นไม้ข้ามลำห้วยปลาผา บ้านนาหญ้าปล้อง และเข้าสู่เมืองเซโปน ระยะทางทั้งหมดราวๆ 100 กม.

15_resize

16_resize

เมืองเซโปนอยู่ก่อนถึงด่านลาวบาว ประเทศเวียดนาม วันนี้กว่าจะถึงที่พักก็เกือบ 2 ทุ่ม โดยวันนี้เราเลือกเราเข้าพักที่โรงแรมในตัวเมืองแทนการไปหาทำเลกางเต็นท์นอน สำหรับที่นี้สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือ วัฒนธรรมแถวนี้จะค่อนไปทางเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอาหารการกิน ดีนะที่เราเตรียมเสบียงมากันเอง ไม่งั้นคงแย่แน่ๆ ด้วยว่ารสชาติอาหารที่ไม่ค่อยถูกปากคณะเราเท่าไรนัก เพราะหนักไปทางจืดเสียมากกว่า

17_resize

18_resize

เช้าวันที่สามผมเองออกมาเดินเก็บภาพตลาดเช้าของเมืองเซโปน ที่นี้จะว่าไปอาหารทั่วไปไม่ต่างกับชนบทบ้านเราเท่าไร แต่ที่เห็นได้ชัดคือ มีซากสัตว์นานาชนิดที่วางขายเป็นเรื่องปกติของบ้านเขา ทีมงานเราซื้อเสบียงไปหลายอย่างเลยทั้ง เก้ง หมูป่า เพื่อเป็นอาหารในคืนนี้ จากนั้นออกเดินทางเข้าสู่เส้นทางยุคสงครามเวียดนามหรือเส้นทาง”สายโฮจิมินท์” แต่ก่อนอื่นทางทีมงานโจแดนจำปา พาเราไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สงครามลาวกับเวียดนามร่วมรบเพื่อขับไล่อเมริกาที่เข้ามารุกราน ซึ่งแน่นอนว่า นอกจากระเบิดนานาชนิดแล้ว ผลพวงของสงครามในครั้งนั้นเด่นชัดสุดก็คือ ฝนเหลือง ที่ทหารอเมริกันใช้ทิ้งมาจากเครื่องบิน ปูพรมเหนือผืนป่าอันกว้างใหญ่ของเวียดนามใต้ รวมทั้งลาว เพื่อทำลายป่าที่หลบซ่อนของทหารเวียดกง แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปแล้ว 30 ปีเศษ แต่ผลกระทบของฝนเหลืองไม่ได้เฉพาะมีผลกระทบต่อผู้คนเท่านั้น ยังกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย

20_resize

เราแวะชมพิพิธภัณฑ์ราวๆ หนึ่งชั่วโมง จากนั้นก็เดินทางยังชายแดนเวียดนามโดยใช้เส้นทางโฮจิมินท์ แวะเข้าไปแจ้งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของลาวว่าเราจะเข้าไปกางเต็นท์ที่ ระวินระเวิง ซึ่งเป็นยอดเขาสูงประมาณ 1,000เมตร ห่างชายแดนเวียดนามเพียงแค่ 3 กม. เส้นทางจากเมืองเซโปนถึงยอดเขาระวินระเวิง ระยะทาง 90 กม. พวกเราขับรถมากันเรื่อยๆ แวะไปรายงานตัวที่จุดตรวจและรับเจ้าหน้าที่ทหารชุดคุ้มกันความปลอดภัยไปอีก 3 นาย งานนี้มีไนท์ช็อตเราขับผ่านหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นชนเผ่า บ่าแวะ ละแนด ลาวเทิง ชาวบ้านเริ่มออกมาดูหลังจากขบวนรถของพวกเราขับผ่านหมู่บ้านไปอย่างช้าๆ เพราะมีทั้ง เด็ก คนแก่ หมู หมา วิ่งกันให้ทั่ว กว่าจะถึงที่หมายก็ปาไป 2 ทุ่มกว่าๆ พวกเราและทีมงานรีบจัดแจงช่วยกันทำอาหารและกางเต็นท์ ท่ามกลางบรรยากาศที่มืดมิดบนยอดเขา มีหลายคนบอกว่าต้องบรรยากาศแบบนี้ที่ใช่เลย เหมาะกับการกางเต็นท์นอนเสียจริงๆ

21_resize

ตกดึกผมเริ่มมองหาทิศทางแห่งแสงดาว เพื่อตามหาทางช้างเผือกเช่นเคย บรรยากาศฟ้าเปิดไม่มีเมฆมาปิดบังแสงดาว ในคืนนี้เพื่อนสมาชิกยังไม่ยอมนอน สนุกกับการสอนถ่ายภาพของผม ผนวกกับรสชาติอาหารป่า  ที่เราแวะซื้อมาจากตลาดสดเมืองเซโปน สมาชิกมิตรสหายเริ่มคุ้นเคยกันมาขึ้น การพูดคุยท่ามกลางใต้แสงดาวค่ำคืนนี้มันช่างมีความสุขเสียจริงๆ กว่าจะนอนปาไปเกือบตี 2 กับความหนาวอุณหภูมิประมาณ 19 c บนยอดเขากับน้ำค้างที่แรง แต่…เต็นท์ KARANA รุ่น Quick Release Plus Water Proof ก็ยังเอาอยู่ ทำให้ผมหลับได้สนิทดีจริงๆ

22_resize

ค่ำคืนวันที่สามในต่างแดนผ่านไปอย่างรวดเร็ว ต้อนรับเช้าวันใหม่อันสดใสบนยอดเขา ผมเริ่มเก็บบรรยากาศทะเลหมอกมีให้เห็นบางๆ ภูเขาส่วนใหญ่ลักษณะเป็นหัวโล้น ปราศจากต้นไม้ใหญ่ มีแต่ต้นหญ้าเท่านั้น สอบถามได้ความว่า แถวนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่โดนฝนเหลืองแม้จะผ่านไปหลายสิบปีสารพิษยังมีตกค้างอยู่ ทำให้ต้นไม้ไม่วสามารถขึ้นได้ 

23_resize

 

ฝนเหลือง(Agent Orange) มหันตภัยร้ายแห่งมนุษยชาติ

“ฝนเหลือง” : สารเคมีที่กองทัพอเมริกันใช้โปรยในเวียดนาม ทั่วโลกประจักษ์ซึ้งถึงพิษภัยของ “ฝนเหลือง” (Agent Orange) เป็นอย่างดีในยุคสงครามเวียดนามระหว่างปี 2504-2518 เพราะเป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดรุนแรงที่ทหารอเมริกันใช้ฉีดพ่นเหนือผืนป่าอันกว้างใหญ่ของเวียดนามใต้ เพื่อทำลายป่าที่หลบซ่อนของทหารเวียดกง โดยมีการประมาณกันว่า อเมริกันใช้ฝนเหลืองร้อยละ 60 หรือ 42 ล้านลิตร จากจำนวนสารเคมี 72 ล้านลิตรที่ใช้ไปในสงครามครั้งนั้น แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปแล้ว 30 ปีเศษ แต่ผลกระทบของฝนเหลืองต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมร่องรอยสงครามผลกระทบจากฝนเหลือง พ.ศ.2504-2518 เครื่องบินอเมริกันโปรยสารฆ่าพืช 72 ล้านลิตร ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นฝนเหลือง ลงไปในป่าของเวียดนาม ลาวใต้ และกัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่ 2.6 ล้านเฮกตาร์

24_resize

25_resize

เวียดนามโดนฝนเหลือง 10% ของพื้นที่ทั้งหมด 3.3 แสนตาราง กิโลเมตร เครื่องบินโปรยฝนเหลืองลงไปในป่าชายแดนเวียดนามกับลาวแล้ว เมื่อยังมีฝนเหลืองค้างอยู่ นักบินก็จะปล่อยสารที่เหลือนี้ลงไปในพื้นที่ทิศตะวันตกของเมืองเว้ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนเวียดนามและลาว…สังเกตดีๆไม่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเลย

26_resize

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย นิตยสาร ออฟโรด : www.grandprix.co.th/offroadmagazine
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์  รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ไดที่ www.grandprix.co.th

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save