พอ.สว. 232 “หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อประชาชนด้อยโอกาสในเขตท้องถิ่นทุรกันดาร”

ภาพเปิด_resize

เป็นที่แน่นอนว่าเหล่าคนที่อยู่ในวงการออฟโรดรู้จักมูลนิธิ พอ.สว. หรือมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นอย่างดี เนื่องจากได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าไปช่วยเหลือกิจกรรมทางด้านการคมนาคมขนส่งของคณะแพทย์ในมูลนิธิ ด้วยเส้นทางที่ยังอยู่ห่างไกล และเป็นเขตทุรกันดาร ทำให้ถนนหนทางยังไม่ได้รับการพัฒนา หากเดินทางด้วยรถยนต์ หรือรถกระบะธรรมดาก็คงไม่อาจนำเครื่องมือ และคณะแพทย์อาสาเข้าไปถึงยังพื้นที่นั้นๆ ได้

SANYO DIGITAL CAMERA

ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต เราจะพบว่ายังมีราษฎรที่เจ็บไข้ได้ป่วยอีกเป็นจำนวนมาก ที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์เท่าที่ควร เนื่องการเดินทางยากลำบาก บางครั้งต้องรอจนอาการหนัก จึงเดินทางมารักษาในโรงพยาบาลจังหวัด บางครั้งอาการก็หนักเกินกว่าจะรักษา หรือโรคที่ไม่ได้เจ็บป่วยมากมาย กลับเรื้อรังจนต้องพิการทุพพลภาพ

พอ.สว.1-คุณลุงบุญธันว์กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร_resize
คุณลุงบุญธันว์กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร

และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงตั้งกิจการแพทย์อาสาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ขณะทรงประทับอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ และเกิดโครงการอีกหลากหลายโครงการขึ้นมา เพื่อที่ต้องการจะให้สามารถตอบสนองกับความต้องการแพทย์อาสาผู้ที่จะเข้าไปทำการรักษาชาวบ้านในพื้นที่เหล่านั้น

พอ.สว.2-คุณลุงบุญธันว์ พูดคุยรายละเอียดงานของโครงการกับหน่วยอาสา พอ.สว._resize
คุณลุงบุญธันว์ พูดคุยรายละเอียดงานของโครงการกับหน่วยอาสา พอ.สว

หนึ่งในโครงการของมูลนิธิ พอ.สว. ก็คือ “หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่” ซึ่งสืบเนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้พระราชทานกำเนิด “มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” และ “พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย” ทรงห่วงใยในสุขภาพอนามัยของประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารที่ขาดแคลนบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน รวมทั้งบริการทางทันตกรรม ซึ่งพระองค์ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีทันตแพทย์ร่วมออกปฏิบัติงานในหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2512 จนถึงปัจจุบัน

พอ.สว.3-คุณลุงบุญธันว์ และคณะแพทย์อาสา พอ.สว._resize
คุณลุงบุญธันว์ และคณะแพทย์อาสา พอ.สว.

นอกจากนี้มูลนิธิ พอ.สว. ยังได้สนองพระราชปณิธานด้วยการดำเนินกิจกรรมด้านทันตสาธารณสุข เพื่อให้บริการทันตกรรมบำบัดและป้องกันแก่ประชาชนด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลเช่น กิจกรรมรถทันตกรรมเคลื่อนที่ กิจกรรมเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนและกิจกรรม “ฟันสะอาดเหงือกแข็งแรง”

พอ.สว.4-สมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทยมอบอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่หน่วยอาสา พอ.สว._resize

โดยเหตุที่มูลนิธิ พอ.สว. ได้พิจารณาเห็นว่าปัจจุบันมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง ” กระจายอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลทั่วทุกภาคของประเทศรวม 17 จังหวัด ประมาณ 600 แห่ง แต่ละแห่งมีนักเรียนและประชาชนประมาณ 300 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขอนามัยในช่องปาก คณะกรรมการมูลนิธิ พอ.สว. จึงอนุมัติให้มูลนิธิดำเนินการ “โครงการทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อประชาชนด้อยโอกาสในเขตท้องถิ่นทุรกันดาร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาสได้รับบริการทันตกรรมบำบัด ทันตกรรมป้องกัน และส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างถูกต้องและทั่วถึงทั้งเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนสนใจดูแลทันตสุขภาพของตนเอง  ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนเพื่อแสดงถึงความร่วมใจสมานสามัคคีของอาสาสมัครทันตบุคลากร และเจ้าหน้าที่ของภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทั้งนี้ในระยะเริ่มแรก โครงการจะดำเนินการในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก น่านและพะเยา  เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2548  ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พอ.สว.5-ชาวบ้านที่มารอรับการรักษา_resize
ชาวบ้านที่มารอรับการรักษา

โครงการนี้สามารถบรรลุผลสำเร็จสมบูรณ์ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภาคและเอกชน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่อ่องสอน ตาก น่านและพะเยา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก น่านและพะเยา ทันตแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมทันตแพทย์เอกชนไทย สมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตลอดจนคณะกรรมการโครงการทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อประชาชนด้อยโอกาสในเขตท้องถิ่นทุรกันดารคณะทำงานบริหารจัดการอาสาสมัคร คณะออกแบบรถทันตกรรมเคลื่อนที่และครุภัณฑ์วัสดุทันตกรรม คณะทำงานบริหารเรื่องพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกการปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

พอ.สว.6-คณะแพทย์อาสา พอ.สว. คณะทำการตรวจรักษาสุขภาพในช่องปากให้แก่ชาวบ้าน_resize
คณะแพทย์อาสา พอ.สว. คณะทำการตรวจรักษาสุขภาพในช่องปากให้แก่ชาวบ้าน

จุดเริ่มต้นของการที่สมาพันธ์ออฟโรดได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการดีๆ นี้ได้นั้น นายแพทย์สมนึก ชาญด้วยกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานมูลนิธิ พอ.สว. เล่าให้เราฟังว่า

“คุณลุงบุญธันว์ หรือ นายบุญธันว์ มหาวรรณ์ ผู้ใกล้ชิดทำงานให้แก่สมเด็จย่ามาเป็นระยะเวลานานนั้น ได้รับพระราชดำริให้จัดบริการทัตกรรมแก่เด็กนักเรียนและประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารที่ด้อยโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงรียน ตชด. กสน.ต่างๆ โดยโครงการนี้ มีคุณลุงบุญธันว์ท่านคิดอย่างรอบคอบกว่าจะได้ข้อสรุปมาว่า จะนำคณะทันตแพทย์ออกไปอยู่ในพื้นที่ ซึ่งครั้งแรกนั้นคุณลุงท่านคิดว่าจะให้คณะแพทย์ลงไปอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1 เดือน ซึ่งด้วยการทำงานของแพทย์แล้วคงไม่สามารถที่จะลงพื้นที่ได้นานขนาดนั้น เนื่องจากมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบอื่นๆ รออยู่อีกมาก

พอ.สว.8-ห้องทำงานนอกพื้นที่ของคณะแพทย์อาสา_resize
ห้องทำงานนอกพื้นที่ของคณะแพทย์อาสา_

แต่คุณลุงบุญธันว์ท่านก็อยากให้ทีมแพทย์ลงไปอยู่ให้นานที่สุด เพื่อให้คนในพื้นที่ได้รับการรักษา จึงได้ข้อสรุปกันที่ 1 สัปดาห์ ซึ่งปัญหาต่อมานั่นคือ หากหาทีมแพทย์อาสาได้แล้ว การขนอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ หรือแม้แต่คนเข้าไปยังพื้นที่ตามถิ่นทุรกันดารนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ไม่มีการพัฒนา เรื่องน้ำ ไฟฟ้า และการคมนาคมยังเข้าไม่ถึง บางเส้นทางอาจต้องบุกป่า ลุยโคลน หรือข้ามแหล่งน้ำเข้าไป ด้วยเหตุนี้เองทำให้คุณลุงบุญทันกลับไปคิด ปรึกษาจากบุคคลต่างๆ และหาข้อสรุปมาได้ว่า สำหรับโครงการนี้จะมีผู้บริจาครถทันตกรรมเคลื่อนที่เข้ามา ซึ่งในขบวนของรถแพทย์ทันตกรรมเคลื่อนที่นี้ ก็จะมีรถหนึ่งคันที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษา มีทั้งเครื่องปั่นไฟ และยังมีพื้นที่เก็บอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ สำหรับให้ทีมแพทย์ได้ตรวจรักษา

พอ.สว.9-คณะแพทย์อาสาท และทีมสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย_resize
คณะแพทย์อาสา และทีมสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย

ซึ่งนอกเหนือจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และผู้ร่วมโครงการแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยภาคีต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ ทั้ง กสน.ฝ่ายของสาธารณะสุขจังหวัด และเพิ่มไปที่สถานีอนามัยในสมัยนั้น เข้ามาร่วมกันวางแผนว่าจะออกไปลงพื้นที่ในส่วนไหน อย่างไร ซึ่งการลงพื้นที่ตรงนี้ โครงการจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอาศัยแพทย์ที่มีความชำนาญ รวมทั้งผู้ที่มีความเป็นมืออาชีพในพื้นที่ ชำนาญเส้นทาง ชำนาญทั้งการขับรถ เพราะในบางพื้นที่นั้นเข้าถึงลำบาก และยังอยู่ห่างไกล จึงจำเป็นที่จะต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ ดังนั้นจึงได้ความร่วมมือจากสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทยเข้ามา ในช่วงแรกนั้นผ่านมาทางลุงหนุ่ย (ธีรชัย ศรีสกุล) และลุงแดง (อาทิตย์ คำเรืองฤทธิ์) และลุงหิน (ศรีมูล ศิริปัญญา) และมีการประสานงานมายังเลขาธิการของสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย คือ เรวัตร นิลาพันธ์ รวมทั้งลุงจ่อย (ทวีศักดิ์ สุรสิทธินุสรณ์)  เป็นช่วงชุดแรกที่เข้ามาช่วย

พอ.สว.7-เด็กๆ ที่มารับการรักษาสุขภาพฟัน_resize

สุดท้ายจึงมีการออกระเบียบมูลนิธิที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อความต่อเนื่องในเรื่องข้อมูลและการรักษา เพราะการไปลงพื้นที่ทีมงานจะต้องลงพื้นที่ต่อเนื่อง 8 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม กระทั่งเดือนพฤษภาคม ดังนั้นแผนงานของมูลนิธิที่ออกมานั้นจะค่อนข้างมีความละเอียด เพราะต้องใช้ความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน ต้องมีหัวหน้าหน่วยที่จะต้องประสานกับพื้นที่ ต้องประสานกับแพทย์ ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งก็ทำมาได้ด้วยดีตลอดมา

ตั้งแต่นั้นมาทางสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย และชมรมออฟโรดในพื้นที่จึงได้กลายเป็นกำลังสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะนำทีมแพทย์ พร้อมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เข้าไปยังแหล่งพื้นที่ในถิ่นทุรกันดารให้ได้มีทันตสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดั่งพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย นิตยสาร ออฟโรด : www.grandprix.co.th/offroadmagazine
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์  รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ไดที่ www.grandprix.co.th

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save