ทริปรักษ์ป่า รักช้างเลย ภูหลวง …เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม

…ยาวนานเหมือนกัน สำหรับกลิ่นอายแดดเมืองไทย ที่แผดเผาแหล่งน้ำให้ละเหยแห้งหอดไป จนกลายเป็นวิกฤติภัยแล้งปีนี้ไปแล้ว  แน่นอนว่าต้นตอ พลพวงของภัยแล้งปีนี้ จำเลยคนที่หนึ่งเสมอมา คือ มนุษย์ นั่นเองครับ  ในทุกพื้นที่ของไทยแลนด์ ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะเหนือเขื่อนใหญ่ๆ ปริมาณน้ำที่เหลือในเขื่อนเหลือน้อยอย่าน่ากลัว  บางครั้งเรามองดูผืนป่าที่เหลืออยู่แม้ยังจะเขียวอยู่ แต่ใยไม่ทีฝนสักเม็ดเดียว…มันก็น่าคิดนะครับ

ผืนป่าผืนหนึ่งของเมืองไทย ที่ยังคงสง่างาม ยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ จากข้อมูลและสถิติหลายสำนัก ความหวังเล็กๆ ของคนกลุ่มหนึ่ง ก่อเป็นจุดเริ่มต้นของทริปนี้  กิจกรรมนี้ครับ  “รักษ์ป่า  รักช้างเลย”

สถานที่ๆผมกล่าวถึง คือ ภูหลวง  เขาลูกมหึมา ตั้งตระหง่านด้านซ้ายมือก่อนถึงตัวเมืองวังสะพุง จ.เลย  หากคุณเดินทางมาจาก จ.ขอนแก่น แต่ความยิ่งใหญ่ ไม่ได้อยู่ที่ขนาด แต่เป็นระบบนิเวศ พันธุ์ไม้ นานาสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่นั่น และการอยู่ร่วมกันกับมนุษย์อย่างลงตัว  แล้วกลุ่มออฟโรดต่างถิ่นอย่างพวกเราจะไปทำอะไรกันที่นั่น ติดตามกันได้เลยครับ….

กลุ่มฅนเลยออฟโรด กลุ่มเล็กๆ ของอิสานตอนบน นำทีมโดย  ประธานไพฑูรย์ สนธิวัฒน์ตระกูล  ที่มีสมาชิกเพียงแค่ไม่กี่คัน ได้สร้างปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ โดยใช้อำนาจและเวทมนต์ของสื่อโซเชียล เน็ตเวิร์ค  ประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆ กับสมาชิกออฟโรด โดยใช้ชื่อเรียกกิจกรรมว่า รักษ์ป่า  รักช้างเลย ในพื้นที่ของ โครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่าภูหลวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อ.ภูหลวง จ.เลย ซึ่งได้วางเป้าหมายกิจกรรมนี้ไว้คือ ปลูกป่าทดแทนในเขตทุ่งหญ้าผืนใหญ่และทำโป่งช้างเทียม  เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ออฟโรดหลังจากทราบข่าว ก็ลงนามจับจองพื้นที่สิครับ ขอฝากรอยล้อยาง ประทับลงบนผืนป่าแห่งนี้ซะหน่อย  นานมากแล้วไม่ได้รวมตัวกันที่นี่ ..มิตรภาพจากหัวใจ ที่หลั่งไหลกันมาจาก  ชมรมสหายออฟโรด , ชมรมโซ่พิสัยออฟโรด , ชมรมคนท่องป่า4×4สกลนคร , ชมรม 4×4ใจไปเลย , ชมรมจอมพลัง4WDอุดรธานี , ชมรมฅนพันธุ์X , กลุ่มฅนรักษ์ลำน้ำเซิน , ชมรมขอนแก่นออฟโรด , กลุ่มลำน้ำสักออฟโรด , ชมรมกาฬสินธุ์ออฟโรด , ชมรมลาวออฟโรด (จาก สปป.ลาว) และกลุ่มฅนเลยออฟโรด   จาก ออฟโรด 12 ชมรม รถทั้งหมด 52 คัน เรามารวมกันที่ปั้มน้ำมัน ปตท.วังสะพุง จัดเตรียมเสบียงคนและเสบียงช้างเรียบร้อย  ทักทายกันพอหอมปากหอมคอ  มือกำเสือและช้างไว้แน่น อย่างมิตรภาพออกรสชาติ ในระยะที่กฏหมายกำหนด เพราะบ่ายนี้มีคำตอบในป่าผืนนี้แน่นอน….

เราใช้เส้นทางหลวงชนบท หมายเลข 2016 ตามเส้นทางวังสะพุง-ภูหลวง ระยะทาง 50 กว่ากิโลเมตร สภาพเส้นทางลาดยางเมืองไทยปกติ ใช้ความเร็วได้ ประมาณ ก.ม. ที่ 35 เราเลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางลูกรังประมาณ 4-5 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านน้ำค้อ  จุดเริ่มต้นเส้นทางออฟโรด มีภูหลวงขนาดมหึมาเป็นแบ็คกราวนด์ อย่างสวยงาม ขนาบข้างด้วยภูหอ ฉายาฟูจิเมืองไทยอยู่ด้านซ้ายมือ ห่มด้วยปุยหมอกขาวๆ ปลายยอดภู ช่างเป็นภาพที่น่าประทับใจจริงๆ

สักพักใหญ่เราเคลื่อนขบวนไปอย่างช้า เนื่องจากมีรถเป็นจำนวนมากและมีบางคันเสียระหว่างทาง เลยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้จอดถ่ายรูปกับธรรมชาติ  กว่าจะไปถึงหน่วยที่ตั้งโครงการฯ ก็เกือบเที่ยง  …แน่นอนครับว่ากิจกรรมหลักของทริปนี้ คือ การนำเอาเกลือเม็ดกว่า 10 ตันไปทำโป่งเทียมให้ช้างป่ากว่า 20 จุด ในเส้นทางช้างผ่านและปลูกป่าทดแทนบริเวณ ที่ช้างเลิกเข้าไปใช้บริการ   หลังจากที่ชมวีดีทัศน์ที่มาที่ไปของโครงการฯ โดยหัวหน้าหน่วยโครงการฯ คุณวัชระ  ธรรมสอน  ได้เล่าความเป็นมา จนกลุ่มออฟโรดซึมซับเรื่องราว จนตาเบลอ      เราก็แบ่งจำนวนรถออกเป็น 3 กลุ่ม โดย เลขา โจ  กิตติพงษ์ จากฅนเลยออฟโรด  กลุ่มแรกนำกล้าไม้ติดรถขึ้นไปปลูก และทีม 2กับ 3 ลำเลียงเกลือเม็ดไปทำโป่งเทียม ซึ่งมีระยะห่างกันเป็นจุดประมาณ 1-2 กิโลเมตร

เม็ดฝนเริ่มโปรยปรายมาเป็นระยะๆ และก่อนหน้านี้เป็นเช่นนี้มา  2 อาทิตย์แล้ว แน่นอนว่าสภาพเส้นทางที่เมื่อก่อนยังแห้งผาดหลายเดือน  บัดนี้ทุกอย่างอิ่มน้ำ ฉ่ำโคลนไปหมด มันไม่ง่ายที่ชุดที่ 2และ3จะผ่านเข้าพื้นที่ได้โดยง่าย  เราขับไปตามเส้นทางที่มีเจ้าหน้าที่พร้อมอาวุธ (ฟังดูน่ากลัว) คือ จอบและเสียม  ทางลื่นๆ หล่มๆ ตลอดเวลาที่ออกจากหน่วย ใจหนึ่งคิดว่าเส้นทางแบบนี้คงมันแน่ๆ  อีกใจหนึ่งยังหวั่นๆกับระยะทางพร้อมฝน ที่เวลา 14.00 น.ขณะนี้  “เย็นนี้จะกลับมาปาร์ตี้ทันกะเขามั้ยนะ”  ทีมเจ้าหน้าที่หน่วยโครงการฯ นำขบวนโดยเจ้าไทเกอร์4WD จอมลุย ตามติดมาห่างๆ ด้วยรถออฟโรดอีก 7 คันในชุด 2  เป็นที่รู้กันว่า เส้นทางที่ยังสด ไม่เคยผ่านรอยล้อยาง MUD มาตลอดปีนี้จะเป็นอย่างไร  ขนาดยางตะขาบยังกลายเป็นดอกสลิด ไปในบัดดล…

จุดแรกที่ทำโป่ง ต้องผ่านเนินยาวที่ขนานไปกับแนวรั้วไฟฟ้ากันช้างป่า    ลื่น  หักศอก  ยาว และผิวดินใหม่สด ได้ทดสอบกำลังรอบเครื่องยนต์ ความแม่นยำของเกียร์  ช่วงแรกๆก็ผ่านฉลุยกันหมด แต่แอบปั่นร่องลึกไว้รอชุด 2 ที่มีรถสแตนดาร์ด อย่าง Ford ranger และ Isuzu v cross ตามมาด้วย ..เสียงวิทยุมาไกลๆ วินซ์ๆๆๆๆ  คงจะลงแซ้กันแล้วหละงานนี้   แผนการของชุดที่ 1 ทำไว้ เป็นผล อิอิ

เราไม่เสียเวลามากนักกับเนินนี้เพราะยังเหลือเกลือหลังท้ายกระบะอีกเพียบ ต้องวางโป่งให้เสร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน  ไม่งั้นมีหวัง จ๊ะเอ๋กับช้างป่าเจ้าถิ่นเป็นแน่แท้…

”ขอเลื่อยมือหน่อยครับ” 

เสียงวิทยุดังเข้ามาในรถผม เอาแล้วไง ท่อนซุงขนาด 2 คนโอบหักโค้นจากแรงลมเมื่อไม่นานมานี้ ทับเส้นทางหมดสิทธิ์ผ่าน ต้องหาทางเบี่ยงลงข้างล่างไลน์เดิม ที่ทั้งชัน ลื่นดินหนังหมูป่าดิบต้องฝน  ที่ปั่นล้อนิดเดียว รถก็ไถลไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก เบียดพิงกับต้นไม้ทันที ต้องวินซ์กันไปหลายคัน ไม่เว้นแต่เจ้ายักษ์ใหญ่ จีพ เชโรกีของ อ.เปา จากจอมพลัง 4WD อุดรธานี บู๊กันอยู่พักใหญ่กว่าจะเคลื่อนรถผ่านไปได้  ระยะทางยังไม่ถึงครึ่ง  แต่เรามองไม่เห็นแสงของพระอาทิตย์ตั้งแต่เที่ยงแล้ว นี้มัน 17.30 น. เรารู้พิษสงของป่าภูหลวงดีครับ จากคำบอกเล่า…แต่นี้มันเรื่องจริง  ก็ขอไม่ให้เป็นจริงละกันครับ

“ห้วยตาดใหญ่” จุดนี้มีน้ำตกขนาดเล็กๆ แต่สวยงามมาก ทอดต่อจากเส้นทางลงไปประมาณ 15 เมตรมันกลายเป็นจุดพักสายตา ละเท้าจากคันเร่งลงมาเก็บความสวยงาม บันทึกความทรงจำกันก่อนเข้าสู่บทเรียนออฟโรดอีกครั้ง  ตำนานเมื่อหลายปีก่อน รถออฟโรดหลายคันนำเฟืองท้ายมาทิ้งที่นี่  เพราะเป็นร่องลำห้วยขนาดย่อมๆ เลยทีเดียว ที่พลังน้ำซัดโคตรหินมาเรียงรายอย่างไร้ระเบียบ คอยดักล้อและเพลาออฟโรดไว้  สายฝนช่วยผสมโคลนบนล้อ MUD พาให้ลื่นไถลไปตามแรงเฉื่อย  ชะลอหัวใจรถหลายคันให้เดินเครื่อง เติมคันเร่งไปอย่างช้าๆ ไม่ตะบี้ตะบันข้ามหินลื่นอย่างโจนทะยาน เพราะมิฉะนั้น อาจจะลงไปนอนตะแคง เป็นเพื่อนซากรถเก๋ง ที่โดนน้ำป่าพัดมาจากไหนไม่รู้  เป็นอนุสรณ์เตือนใจก็เป็นได้ เป็นเรื่องมากครับสำหรับเนินนี้ ไม่ง่ายเลย หลังจากหลุดโคตรหินข้ามห้วยมาได้ ต้องเจอกันเนินชันบรรลัยเลย มากว่า 200 เมตร หักศอก 3 ครั้ง คันแรกรถเจ้าถิ่น 4×4 ใจไปเลย  ต้องตะกุยเบิกทางดินเหนียวหนึบ วินซ์แล้ววินซ์อีก ท่ามกลางเสียงเอาใจช่วยของเพื่อนๆ  คือ ลุ้นให้แกปั่นผิวดินลึกครึ่งล้อออกให้หมด ให้เจอพื้นแข็ง 5555 ซึ่งก็เป็นผลครับ ทั้งปั่น พร้อมดึง …สบายคันหลังเลย อิอิ…

ตรงลำห้วยนี้ใช้เวลามากกว่าจะผ่านไปได้ทีละคัน 8 คัน จนขบวนหลังตามทัน จากกลุ่มคนท่องป่า 4×4สกลนครและสหายออฟโรด โซ่พิสัยออฟโรด จอมดีเดือมเมืองหนองคาย และทีมลาวออฟโรด จากเมืองเวียงจันทน์  สปป.ลาว ซึ่งเป็นรถเทพๆกันทั้งนั้น แต่ละคันเต็มไปด้วยเขี้ยวเล็บ ทั้งล็อกเฟืองท้าย ทั้งวินซ์ ทั้งเครื่องยนต์  ขนาดลากเจ้ายักษ์ 2 ตันอย่าง FORD RANGER ขึ้นจากหลุมกับดักโคลนได้อย่างสบาย ตลอด ทริป โดย สานิต วงษ์เพ็ญ ประธานชมรมสหายออฟโรด  อย่างไรก็ตามขาเก๋าอย่าง อ.สันทัด ฉายา ครูแลนด์ ภูผาม่าน  ควบแลนด์โรเวอร์ ซีรีย์ 2 อย่างเยือกเย็น พร้อมปาดเหงื่อบนหน้าผากอย่างโล่งใจ 5555 ให้มันรู้ซะบ้าง อีกทีมที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้ จากฟากฝั่งโขง ทีมงานจากลาวออฟโรด  อ้ายตะและทีมงาน ดีกรีผ่านสังเวียน RFC. ที่เวียดนามมาแล้ว มาบู๊ด้วยแลนด์ครุยเซอร์ยักษ์ใหญ่และ LN เหลืองอ๋อย ปั่นสุดมัน ทีมลาวออฟโรดทีมนี้กลายเป็นมหามิตรออฟโรดของอีสานไปโดยปริยาย และบ่อยครั้งที่ได้รับเชิญไปออกทริปที่เวียงจันทน์

สุดท้าย S นี้ปิดท้ายขบวนด้วยจอมเก๋า จากอู่ดิส เซอร์วิส และเสี่ยต๋อง ไฟแรง ชมรมคนท่องป่า 4×4สกลนคร ที่เวลา 19.00 น.โอ้วว  เรามาได้แค่ครึ่งทาง เสียงวิทยุสื่อสารดังระงมตลอดเส้นทาง ของการแก้ไขอุปสรรคเส้นทางของแต่ละชุด  รวมถึงชุดของผมด้วย เจ้ามาสด้า 8.5 ของผม โดนท่อนไม้กวาดเอาจู๊บยางล้อหลุดหายลมยางไม่เหลือ  ต้องจอดรอช้าง  เอ้ยยย !!! จอด รอยางอะไหล่ จากขบวนหน้า ที่ห่างออกไป  2 กิโลแม้ว  มันเป็นบทเรียนที่เรียนแล้วเรียนอีกก็ไม่จำ กับยางอะไหล่เวลาเดินป่า  ก็ได้แต่สมน้ำหน้าตัวเองไป ที่ต้องนั่งกินมาม่าต้มข้าวเหนียวไปกลางป่า  4 ทุ่มกว่า เสียงหวีดร้องของแมลงและสัตว์ป่าภูหลวง  อารมณ์มันแตกต่างกับทริปอื่นๆ ที่ผ่านมาของผม ในยามค่ำคืน  ฝนกระหน่ำ ร่องทางลึกลงเรื่อย  เรานั่งแข็งแข่งกับเวลาชุมนุมออกหากินของฝูงช้างหลังเที่ยงคืน และผมก็เชื่อว่าเขาจ้องมองแสงไฟเราอยู่ ซึ่งมันก็ทำให้เราขนลุกซู่ชูชันขึ้นมาทันที    รอล้อยางอะไหล่เกือบ 2 ชั่วโมง หลังจากเปลี่ยนยางเสร็จเราก็ทำเวลาเร่งเครื่องทำความเร็วทะยานผ่านทุกอุปสรรคที่มองไม่เห็น ท่ามกลางความมืด ผมนำขบวนนี้ ได้แต่ภาวนาว่า จะไม่มีร่างดำทะมึนของช้างป่า  ยืนขวางรถเมื่อยามสาดแสงไฟหน้าผ่านโค้งแต่ละโค้ง

เราทะลุผ่านออกมาถึงชายทุ่ง ไร่ของชาวบ้านรอยต่อตีนภูหลวง รวมพลกับทีมที่ 1 ที่ออกมาก่อนแล้ว  ตรวจสอบความบอบช้ำของรถแต่ละคัน เพื่อเดินทางต่ออีกครึ่งทางกลับหน่วยฯที่พัก ซึ่งความยากเริ่มเป็น 2 เท่า เราแบ่งเป็น 2 ทีมเหมือนเดิมเพื่อความปลอดภัย เหมือนการเช็คเส้นทางไปในตัว  เสียงวิทยุขาดหายเป็นช่วงๆ สัญญาณการเกิดอุบัติเหตุลื่นชนท้ายกันมาเป็นระยะ เนื่องจากทางลื่นและชัน  ฝนโปรยปรายลงมาหนักเบา เป็นระยะๆ  เบรก รถไหลลื่น ควบคุมยากตอนจอดรถต้องทิ้งระยะห่างสมควร ขบวนแรกทั้งดึง ทั้งลาก ทั้งตะโกนแข่งเสียงฝน  ทีมโซ่พิสัยออฟโรด  ฅนเลยออฟโรด  4×4ใจไปเลย และสหายออฟโรด  ลาวออฟโรด  ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ จนเรากลับสู่เส้นทางแคมป์ได้สำเร็จอย่างปลอดภัย ทั้งเหนื่อย ทั้งหิวสุดๆ  ที่ 03.00 น.  เสียงพูดคุยประวัติศาสตร์แต่ละคนเริ่มหายไปที่ละคน เปลี่ยนเป็นเสียงคำราม จากลำคอแทน……กู๊ดไนท์

เช้าแล้ว  เริ่มมองเห็นหมอก หยอกล้อกับทิวเขาภูหลวงอยู่ด้านหลังเราออกไปเพียงไม่กี่เมตร ละอองฝนปรอยๆ สร้างความสดชื่น มันสร้างจินตนาการได้ดีมากครับ เมื่อยามสายหมอกวิ่งผ่านยอดไม้สูงออกไป ต้นแล้วต้นเล่า…ก่อนลาจากกันท่านประธานที่ปรึกษาชมรมฅนเลยออฟโรด ป๋าชาญยุทธ  นครธรรม ในฐานะเจ้าภาพของทริปนี้ ได้กล่าวขอบคุณน้องๆ ออฟโรดทุกชมรม รวมทั้งแต่ละชมรมได้มอบทุน อุปกรณ์ดำรงชีวิตในป่า  เพื่อการดูแลช้างป่าให้กับเจ้าหน้าที่ไว้ใช้งานต่อไป…

สำหรับเมืองเลย เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของผม ที่มีแหล่งท่องเที่ยวทุกอำเภอ และท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล  ทุกกลุ่ม  ทุกสไตล์  แต่หากท่านหลงใหลในกิจกรรมแบบออฟโรด ติดต่อผ่านทางกลุ่มฅนเลยออฟโรดได้ตลอดเวลาครับ และหากต้องการสัมผัสกลิ่นไอหมอกยอกเขา แบบจมูกชนจมูก ติดต่อมาได้ครับ เลขา โจ  กิตติพงษ์  เบอร์โทร 0812614224  ยินดีรวมพลพรรคจัดเส้นทางต้อนรับท่านอย่างถึงใจ  สไตล์ “ฅนเลยออฟโรด”

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save