ศึกออฟโรดมันส์ “กองทัพกูรข่า อาร์เอฟซี อินเดีย
ปล่อยอิสระRFC(Unleash the RFC)
เมื่อฝนตกกระหน่ำลงมาจากเมฆสีดำทะมึนบนฟากฟ้าสูง ระหว่างช่วงเวลามรสุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ในเดือนสิงหาคม เมื่อความแห้งแล้งได้แปรเปลี่ยนมามีลูกเห็บน้ำแข็ง กลบปิดร่องรอยฝุ่นได้ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งหลายหนีหน้าจางหายไป จากการย่างเข้าสู่ฤดูฝนในรัฐกัว ประเทศอินเดีย มันเป็นเวลาเริ่มต้นพลังความมันของ The Force Gurkha Rainforest Challenge (RFC)! เป็นประวัติศาสตร์การเปิดตัวของคูก้าร์ มอเตอร์สปอร์ต(Cougar Motorsports), ตัวแทน RFC ประเทศอินเดียจากเมืองนิวเดลฮี
การกีฬา /การท่องเที่ยวผจญภัย (Sports / Adventure Tourism)
นี่เป็นการกำหนดแผนการสนับสนุนโปรโหมดการท่องเที่ยวอย่างสมบูรณ์ ในดินแดนห่างไกลความเจริญของรัฐกัวระหว่างช่วงเวลาฤดูมรสุม; “มันคือกิจกรรมการกีฬาและการท่องเที่ยวผจญภัย แตกต่างไปจากกิจกรรมที่เคยจัดมาก่อนตามชายหาดและการแสดงดนตรีคอนเสิร์ตแสงสี,แต่เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ได้ดึงดูดบรรดาเหล่าชาวออฟโรดจากทั่วประเทศอินเดีย มารวมตัวชุมนุมกัน ในความหลากหลายต่างๆ เช่นมีทีมแข่งขันออฟโรด,ทีมสนับสนุนนักแข่ง กรรมการ สปอนเซอร์ผู้สนับสนุนและแฟนๆ ผู้ชื่นชอบการผจญภัยออฟโรด ความคิดเห็นของ อาชิสฮ์ กุปต้า (Ashish Gupta) ผู้ก่อตั้งคูก้าร์ มอเตอร์สปอร์ต
กองทัพกูรข่า สร้างขึ้นมาเพื่อสู้ในสงคราม (Force Gurkha, Built for War)
การแข่งขันออฟโรดได้ดึงดูดความสนใจอย่างมากจาก บริษัท คูก้าร์ มอเตอร์สปอร์ต ไม่เพียงก้าวมาเซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขัน แต่ยังเข้าร่วมเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนจัดทีมแข่งรุ่นรถยนต์โรงงานดัดแปลงพิเศษ ทีมแบ็คฟอร์ซกูรข่า4×4 backed Force Gurkha 4×4 teams จำนวน 3 ทีม ในการแข่งขันสุดยอดการแข่งขันรถยนต์ออฟโรดผจญภัยหนแรก
สมรภูมิแข่งขันออฟโรดได้ทำเหมือนๆ กับ RFC ประเทศมาเลเซีย ที่ถูกจัดเอาไว้ว่าเป็นการแข่งขันรถยนต์ที่ยากหฤโหดติดอันดับหนึ่งในสิบของโลกนี่คือ “เครื่องยนต์สร้างเพื่อสมรภูมิสงครามออฟโรด” ดังนั้นมันเป็นการเริ่มต้นการดำเนินการอย่างสมบูรณ์ ที่จะสร้างมิตรสัมพันธ์กับบรรดาลูกค้า ดีต่อการการเข้าถึงและบรรลุเป้าหมายหลายอย่าง ซึ่ง มร.ประสาน เอ ฟิริโอเดีย ประธานบริษัท ได้เห็นสอดคล้องด้วย
ใส่เกียร์เดินหน้าสมรภูมิออฟโรด(Gearing Up for Battle)
บริเวณศูนย์นานาชาติกัว The International Centre Goa (ICG), ซึ่งตรงกับวันที่ 8 ส.ค.2557 บรรดาชาวออฟโรดผู้เข้าร่วมการแข่งขันมาจากทางภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ได้เดินทางมาร่วมแข่งขันกันมากมาย น่าประทับใจ เช่น สีแดงสดตาของทีมแข่งจากโรงงานทีมแบ็คฟอร์ซ (Backed Force teams) ทีมที่มาลงบู๊แบบเดี่ยว ทีมมาหินดรา ทารซ์(Mahindra Thars),ซีเจ 3บีเอส(CJ3BS) วิลลี่ซ์(Willys)และยิบซีส์(Gypsies) ซึ่งประทับใจกับการตกแต่งเปลี่ยนแปลงโมดิฟายรถยนต์ออฟโรด ที่ดูแตกต่างไม่เหมือนกับใครๆ และมีการเตรียมมาเพียบพร้อมอย่างมากในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์
อุ่นเครื่องโปรล็อคSS(Warming Up Prologue SS)
ดี-เดย์ จากคำว่า “ไป” ที่สนามโปรล็อค ทุกคนกระโจนเข้าสู่สมรภูมิออฟโรด บางทีมบู๊สู้ด้วยความเอามันส์ สนุกสนาน ขณะที่อีกหลายทีมสู้ด้วยความรอบคอบ “นี่เป็นการตั้งต้นเวลาการแข่งขัน RFCในอินเดีย,SSมีจำนวนทั้งหมด 12SS นักแข่งต้องใช้กลยุทธ์ ทักษะ ประสบการณ์และการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ ขับฝ่าผ่านข้ามอุปสรรคที่ทุรกันดาร ทางลาดเอียง ลำธารน้ำ พื้นฐานการใช้วินช์และรวมทั้งการแข่งขันเปลี่ยนยาง ด้วยการใช้ไฮ-ลิฟท์แจ็ค เดวิด เม็ทคาลฟี่ (David Metcalfe ) ผู้ชำนาญการแข่งขันออฟโรดจากการแข่งขันนานาชาติ RFC ได้ให้ความคิดเห็นว่า โปรล็อค SS เป็นการอุ่นเครื่องอย่างแท้จริง สำหรับทีมที่จะเก็บสะสมคะแนนและได้รู้ก่อนว่ารถยนต์ของพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำอะไรไม่ได้บ้าง ก่อนที่พวกเขาจะเดินทางสู่สมรภูมิแดนนักล่ามหาภัยและแดนคนเหล็ก
ฝนตกลงมาอย่างหนักมาก ทั้งในตอนเช้าและกลางวันขณะทำการโปรล็อก สนามแข่งขันมีน้ำเจิงนอง ขณะที่หลายๆ ทีมยังคงบู๊สู้เอามันส์ จบการแข่งขันวันที่สอง ทีมมากด้วยประสบการณ์อย่างทีมฟอร์ซกูรข่า ได้ขึ้นเป็นผู้นำการแข่งขัน และพวกเขายังคงรักษาตำแหน่งตำแหน่งอย่างเหนียวแน่นตลอดการแข่งขัน
แดนนักล่ามหาภัยและแดนคนเหล็ก(Predator to Terminator)
หลังจากการแข่งสมรภูมิโปรล็อคจบเรียบร้อย ก็ถึงเวลาของการเดินทางเข้าสู่สมรภูมินักล่ามหาภัย กับเส้นทางได้เปลี่ยนแปลงขรุขระลำบาก ฝนได้ตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก และบททดสอบของคนและเครื่องยนต์ได้กลายเป็นการผจญภัยออฟโรดหฤโหดแล้ว SSช่วงนี้จึงเพิ่มระดับความยากมากยิ่งขึ้น เหล่านักแข่งต้องใช้ทักษะการขับรถยนต์ ขับตะลุยสุดฤทธิ์ฝ่าอุปสรรคหลายอย่างมีทั้งคูน้ำลึก ทางลาดเอียงอันตราย ขึ้นลงทางลาดชันภูเขาและต้องออกแรงใช้วินช์อย่างหนักหน่วงจาก SS13 -18 ขณะที่มีหลายทีมต้องสะดุดไปต่อไม่ไหว
ความสามารถและความอดทน (Ability and Grit)
ถึงตามเวลาบริเวณช่วงล่างของแดนคนเหล็กที่ดีโอที (DOT), ซันกึม ป่ากัวใต้ ทีมบู๊ออฟโรดต้องแข็งแกร่งและทนทาน บู๊สู้ทรหดในSS19จนถึง SS24 ทำแต้มเก็บคะแนนให้ได้ให้มากที่สุด ก่อนที่จะไปลุยในแดนสนธยา Twilight Zone; SS ซึ่งได้ถูกคิดออกแบบให้ทดสอบสำหรับสุดยอดทีมออฟโรดเท่านั้น ถึงจะสามารถผ่านลุยเข้า-ออกไปได้ กับดักนั้นมีทั้งทางชันลาดเอียงหฤโหด,โค้งแคบไปมาหักมุม, ผจญภัยทั้งหินและน้ำลึก
ยากยิ่งที่จะหาแดนสนธยา (Elusive Twilight Zone)
แดนสนธยาที่น่ากลัว กลับต้องถูกยกเลิกไป หลังจากทีมผู้จัดการแข่งขันตัดสินใจสร้างแดนสนธยาขึ้นมาใหม่ โดยย้อนเส้นทางกลับตามทางแข่งขันเดิมที่ผ่านมา ด้วยเลือกเอาความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะเส้นทางข้างหน้ายากเกินกว่าที่จะผ่านไปได้ และเวลาก็ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามการล่าถอยจากแดนสนธยา สิ่งที่ตามมาภายหลังได้ เต็มไปด้วยมิตรไมตรีอย่างยิ่งใหญ่ บรรดานักแข่งทั้งหลายต้องช่วยเหลือกันและกัน เพื่อผ่านอุปสรรคปัญหาออกมาให้ได้ กลายเป็นความทรงจำน่าประทับใจ
6 เดือน & 6 วัน (6 Months & 6 Days)
ในเวลา 6 วัน การแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงความคิดชาวอินเดียนออฟโรดตลอดไป จุดเปลี่ยนในแง่ของการแข่งขันแบบออฟโรด ซึ่งทำให้ชาวออฟโรดทั่วประเทศมุ่งไปยังจุดหมายเดียวกันในการแข่งหนึ่งรายการ ไม่เพียงทำให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ผลักดันตัวพวกเขาเองและรถยนต์ไปถึงสุดขีดจำกัดและเหนือกว่าใน SS การแข่งขัน แต่พวกเขาทั้งหลายยังได้มีการทดสอบทุกอย่างมาแล้วหกเดือน จึงสามารถผงาดขึ้นมากับรถยนต์ออฟโรด ทำให้การจัดการแข่งขันผ่านไปกับพวกเขาได้ด้วยดี และแทบไม่น่าเชื่อมีชาวออฟโรดผู้มีพรสวรรค์ซ่อนอยู่มากมายในประเทศอินเดีย ซึ่งได้ถูกฉุดดึงออกมาโดยการแข่งขัน RFC ที่นี่ครั้งนี้
“ สำหรับสมรภูมิออฟโรด4×4ได้บันทึกประวัติศาสตร์รายการนี้ บรรดาเหล่าจอมบู๊ออฟโรดอินเดียนต่างได้เรียนรู้ว่ามันไม่ได้เป็นเพียงแค่การทดสอบความกล้าหาญ แต่ต้องอาศัยการทำงานด้วยความสามัคคีด้วย, ความทรหดอดทนและการปกป้องเหนียวแน่นที่ก้าวขึ้นตำแหน่งสุดยอด – สิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ดีๆ จะทำให้รู้สำหรับครั้งต่อไปอย่างแน่นอน;เหนือสิ่งอื่นใด,พวกเขาทั้งหมดรู้ว่า พวกเขาคือผู้ชนะในการจบการแข่งขันRFCหนแรกนี้ในประเทศอินเดีย,” ลูอิส เจ เอ วี(Luis J A Wee) ผู้จัดการแข่งขันออฟโรดนานาชาติRFC ได้ยกนิ้วให้กับการแข่งขัน
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.