9 กลุ่มโรคที่ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด

e_dghijmqrvz78

การเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน นอกจากกรณีเมาแล้วขับแล้ว ปัญหาด้านสุขภาพบางอย่างอาจส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่ และทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า โรคและปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการขับขี่ และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ มีดังนี้

1.โรคที่เกี่ยวกับสายตา ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้ขับรถในเวลากลางคืนแล้วมองไม่ชัด ส่วนคนเป็นต้อหินทำให้มุมสายตาแคบลง มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี และมองเห็นแสงไฟบอกทาง หรือไฟหน้ารถพร่าได้

2.โรคทางสมองที่ยังเป็นไม่มาก มีอาการหลงลืม ขับรถหลงทางในบางครั้ง การตัดสินใจช้าและสมาธิไม่ดี

3.โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้แขนขาไม่มีแรงขับรถ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ บางคนมีอาการเกร็งจนขากระตุกเวลาเหยียบคันเร่งหรือเบรก บางคนประสานงานแขนกับขาไม่ดี หรือสมองสั่งให้แขนขาทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิม ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ลดลง

4.โรคพาร์กินสัน มีอาการแข็งเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น ทำอะไรช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี

5.โรคลมชัก เมื่อมีอาการชักจะเกร็ง และกระตุกไม่รู้สึกตัว

6.โรคไขข้อ ข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับรถ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่ ข้อเท้าอักเสบปวดจากโรคเก๊าต์ ทำให้ขยับลำบาก โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้ปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบากหรือมีอาการปวดหลังจากกระดูกหลังเสื่อมทำให้นั่งขับรถได้ไม่นาน

7.โรคหัวใจ อาจมีอาการแน่นหน้าอก เมื่อขับรถนานๆ เครียดจากรถติด

8.โรคเบาหวาน ทำให้มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง

9.การกินยา ซึ่งบางคนกินยาหลายชนิด บางชนิดมีผลทำให้ง่วงซึม หรือง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ และทำให้การตัดสินใจ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ไม่ดี โดยหลังกินยาแล้วควรพักผ่อนหรือวานให้คนข้างๆช่วยขับจะมีความปลอดภัยมากกว่า

4

ปัจจุบันกฎหมายกำหนดโรคต้องห้ามในการขับขี่รถยนต์เพียงแค่ 1.ไม่เป็นโรคติดต่อเป็นที่รังเกียจ 2. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต และ 3.ไม่ติดสุรา ยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ถือว่าไม่เพียงพอ และไม่เกี่ยวข้องกับการขับรถและไม่สามารถป้องกันภัยในการขับรถ

สำหรับประชาชนทั่วไปการให้ความรู้ เรื่องโรคมีผลต่อสมรรถนะการขับขี่ ต้องระมัดระวังและให้หลีกเลี่ยงต่อการขับขี่ยานพาหนะ ดื่มสุรา และง่วง ไม่ขับขี่ยานพาหนะ รวมถึงประเด็นผู้สูงอายุ การเสื่อมสภาพของอวัยวะของร่างกายและโรคประจำตัวที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งก็มีผลต่อการขับขี่ยานพาหนะของผู้ขับขี่ได้เช่นกัน

แหล่งข้อมูลจาก : กรมควมคุมโรค

ภาพ : www

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save