ลุย…”แอนคาร์กติกา” ทวีปที่ 7 ของโลก
ขาลุยคนชอบเดินทางผจญภัย 4×4 Overland Explorer นำโดย Thomas Foo จากมาเลเซีย พาคณะผู้ร่วมเดินทางเมื่อ 23-28 มีนาคม 2568 เพื่อลุย “แอนตาร์กติกา” อยู่ที่ขั้วโลกใต้ เป็นทวีปที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ และเนื่องจากคนส่วนน้อยที่มีโอกาสไปเยือน จึงนับเป็นทวีปที่เจ็ดในโลก ในอดีตเมื่อรู้แล้วว่า มีแผ่นดินอยู่ใต้ลงไปจากอาร์เจนตินาจึงมีคนจากหลายชาติพยายามที่จะเดินทางไปให้ถึงและสำรวจ แต่ชาติแรกที่ไปถึงและขึ้นฝั่งได้สำเร็จคือนอร์เวย์ แปลกดีที่นอร์เวย์อยู่ถึงขั้วโลกเหนือแต่กลับเป็นชาติแรกที่มาพิชิตดินแดนขั้วโลกใต้ได้ คงเป็นเพราะมีความสามารถในการฝ่าอากาศหฤโหดเหมือนกันหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
หลังจากนั้นก็มีอีกหลายชาติที่ตามมาสำรวจจนสำเร็จ และสุดท้ายมีประเทศทั้งหมดถึง 7 ประเทศที่ประกาศว่าดินแดนในบางส่วนของแอนตาร์กติกาเป็นของตัว คือนอร์เวย์ อังกฤษ อาร์เจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และนิวซีแลนด์ ซึ่งในส่วนดินแดนที่ประกาศเป็นเจ้าของกันนั้นก็ไม่ใช่จะตกลงกันได้อย่างชัดเจนและเป็นที่ยอมรับทั้งหมด มีการเคลมทับซ้อนและมั่วกันอยู่เหมือนกัน ในปัจจุบันจึงมีเพียงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และชีววิทยา การท่องเที่ยว และประมงเท่านั้น
หลายคนอาจมองว่า “แอนตาร์กติกา” ที่อยู่ทางขั้วโลกใต้และ “อาร์กติก” ที่อยู่ทางขั้วโลกเหนือก็ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเหมือนๆ กัน แต่ในความเหมือนกันนี้ยังมีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
– ขั้วโลก (ใต้) ของแอนตาร์กติกาอยู่บนแผ่นขนาดใหญ่ที่ปกคลุมด้วย “ชั้นน้ำแข็ง” แต่ขั้วโลก (เหนือ) ของอาร์กติกอยู่บนน้ำทะเลที่บางส่วนกลายเป็นน้ำแข็งหรือเรียกว่า “ทะเลน้ำแข็ง”
– น้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกามีความหนาเฉลี่ยถึง 2,450 เมตร แต่น้ำแข็งที่อาร์กติกมีความหนาเฉลี่ยเพียง 2-3 เมตร
– ในช่วงฤดูหนาวของทวีปแอนตาร์กติกามีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -65 ถึง -70 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -25 ถึง -45 องศาเซลเซียส ขณะที่อาร์กติกมีอุณหภูมิช่วงฤดูหนาวระหว่าง -26 ถึง -43 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 0 องศาเซลเซียส ซึ่งเห็นได้ชัดว่าอุณหภูมิในฤดูหนาวของอาร์กติกใกล้เคียงอุณหภูมิในฤดูร้อนของแอนตาร์กติกา
จากกรุงบัวโนสไอเรสเมืองหลวงของ อาร์เจนตินา หลายๆ คนรู้จักในฐานะตัวตึง บอลโลก มาอย่างยาวนาน วันนี้เราขอชวนทุกคนไปทำความรู้จักอาร์เจนตินาในการท่องเที่ยวนั่งเรือ Cruise จากเมือง อูซัวยา(Ushuaia) เมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “End of the World” เนื่องจากตั้งอยู่ทางใต้สุดของโลก ห่างจากขั้วโลกใต้ หรือ แอนตาร์กติกา เพียง 1,000 กิโลเมตรเท่านั้น เป็นเมืองเล็กๆ ริมทะเลที่มีตึกอาคารสีสันสดใส พร้อมด้วยภูเขาหิมะอันยิ่งใหญ่เป็นฉากหลัง แถมยังมีบรรยากาศที่สวยงามแตกต่างกันออกไป อาร์เจนตินา เป็นประเทศทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 2,780,400 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากบราซิลในทวีปอเมริกาใต้
ขั้วโลกใต้: ขั้วโลกใต้ไม่มีประชากรท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ถาวร เนื่องจากสภาพอากาศที่รุนแรงและสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสมในการอาศัย แต่มีสถานีวิจัยจากหลายประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา นักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาอยู่ในสถานีเหล่านี้เพื่อทำการวิจัยในระยะเวลาที่กำหนด
สัตว์ในแอนตาร์กติกา มีการปรับตัวที่แตกต่างกันมากมายในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดของทวีปแอนตาร์กติกาและใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของทวีปนี้ เห็นได้ชัดว่าสัตว์ต่างๆ ที่นี่ต้องรับมือกับความหนาวเย็นอย่างหนัก สัตว์หลายชนิดทำเช่นนั้นอย่างน้อยก็บางส่วนโดยการอพยพออกไปในช่วงฤดูหนาวที่ยาวนานและปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง (ยกตัวอย่างที่รุนแรงที่สุด นกนางนวลอาร์กติกใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในทวีปออสเตรเลียในทวีปแอนตาร์กติกา ช่วยป้องกันปลาวาฬ แมวน้ำ และเพนกวินจากน้ำเย็นจัดในขั้วโลก โมเลกุลและสารประกอบป้องกันการแข็งตัวตามธรรมชาติช่วยปกป้องปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดในแอนตาร์กติกาจากอุณหภูมิที่เย็นจัด และสัตว์บางชนิดสามารถแข็งตัวได้โดยไม่เกิดความเสียหาย ทั้งนกเพนกวินและนกทะเลจมูกท่ออีกหลายสายพันธุ์ในมหาสมุทรใต้มีโพรงจมูกที่ดัดแปลงเพื่อพ่นเกลือออกมา ซึ่งทำให้พวกมันสามารถดื่มน้ำทะเลได้ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อพิจารณาถึงการขาดแคลนน้ำจืดและปริมาณน้ำฝนในส่วนนี้ของโลก
การเดินทางเรือ Cruise จากเมืองอูซัวยา ของอาร์เจนตินาเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดที่จะเข้าสู่ทวีปแอนตาร์กติกา เป็นระยะทางราว 800 กิโมเมตรและต้องแล่นเรือผ่าน Drake passage ที่ขึ้นชื่อว่าคลื่นลมแรงอย่างมากเอาแน่เอานอนไม่ได้เป็นการเดินทางผจญภัยสุดขั้วเป็นทริปในฝันของนักเดินทางกับครั้งหนึ่งในชีวิตเพื่อพิชิต White Continent หรือทวีปสีขาวโพลนแบบเอ็กครูซีฟเท่านั้น การไปเที่ยวแอนตาร์กติกา
จะไปได้เฉพาะช่วงฤดูร้อนคือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มีนาคมเท่านั้น
เรื่องโดย: พิทักษ์ ปราดเปรื่อง ภาพจาก: Thomas Foo