แรลลี่เมืองไทยไปทางไหน?

ถ้าพูดถึงการแข่งขันรถยนต์แรลลี่ในเมืองไทย โดยในที่นี้จะขอพูดถึงเฉพาะประเภทแรลลี่แข่งขัน หรือ Rally Sprint ที่ต้องใช้ความเร็ว ใครทำเวลาได้น้อยที่สุดในช่วงทดสอบพิเศษ (SS = Special Stage) แต่ละช่วง ถือว่าเป็นผู้ชนะ จนถ้าย้อนหลังกลับไปสักประมาณ 20 ปี จะมีคำพูดๆ หนึ่ง ของเครื่องดื่มชูกำลังได้นำไปใช้ในภาพยนตร์โฆษณา “ระยะทางเท่ากัน เครื่องยนต์พอๆ กัน แพ้ชนะวัดกันที่ใจ” กับมิสเตอร์ลิโพ พนัส ควรสถาพร

 

1

เจ้าของฉายา “มิสเตอร์ลิโพ” รวมทั้ง “ไอ้หมูบิน” พนัส ควรสถาพร  ถือเป็นตำนานนักแข่งคนสำคัญของเมืองไทย

 

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าการแข่งขันแรลลี่เมืองไทยได้บูมสุดขีด โดยได้ถูกคัดเลือกเป็น 1 ในสนามแข่งขัน ของการแข่งขันรถยนต์แรลลี่ชิงแชมป์เอเชีย-แปซิฟิก APRC (Asia-Pacific Rally Championship) ซึ่งในช่วงเวลานั้น การแข่งขันรายการนี้ถือได้ว่าเป็นรองก็แต่เฉพาะการแข่งขันรถยนต์แรลลี่ชิงแชมป์โลก WRC (World Rally Championship) เท่านั้น มีนักแข่งระดับแชมป์โลกได้มาพิสูจน์ฝีมือกันสนามแข่งขันเมืองไทยมากมาย อาทิ คอริน แมคเร, ทอมมี่ มาคิแนน, ริชาร์ด เบิร์น, เคนเน็ธ อีริคสัน, พอสซั่ม บอร์น

 

2

 คอริน แมคเร นักแข่งชื่อดังชาวอังกฤษ หลังจากที่กลับจากแรลลี่ที่ จ.แพร่ ปีนั้นได้คว้าแชมป์โลก

2_1

Subaru World Rally Team สมัยนั้นถือว่าแรงสุดขีด ส่งผลให้รถ Subaru ทั้งตัว Legacy และ Impreza เป็นที่ได้รับความนิยมในเมืองไทยในช่วงเวลาหนึ่ง

3

ทอมมี่ มาคิแนน ถือเป็นตำนานของทีม Mitsubishi Ralliart ถือเป็นนักขับมือดี ในรถ Mitsubishi Lancer Evolution รุ่นต่างๆ

3_1

ทีม Mitsubishi Ralliart ในอดีตโด่งดังมากในสังเวียนสนามแข่งขัน WRC

5

ริชาร์ด เบิร์น  เริ่มฉายแววความโหดที่เมืองไทย หลังจากนั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็ได้ขึ้นไปเป็นมือระดับต้นๆของการแข่งขัน WRC รวมทั้งการคว้าแชมป์โลก

2_2

พอสซั่ม บอร์น นักแข่งชาวนิวซีแลนด์ ที่สร้างชื่อเสียงไว้อย่างมากมาย

 

นอกเหนือไปจากนักแข่งขันชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย อย่าง รอส ดันเคอร์ตัน, เคนจิโร่ ชิโนสุกะ, โนบูฮิโร่ ทาจิม่า, คารามจิตต์ ซิงห์, เฮนรี่ ยัพ รวมทั้งนักแข่งคนดังลูกชายประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซีย (ในสมัยนั้น) ซูฮาร์โต้ ทอมมี่ ฮูตาโม้ ต่างเคยมาสัมผัส และลิ้มลองเส้นทางคดโค้งบนเขาเมืองไทย บริเวณ บ้านปูแจ-แม่ถาง, สอง-งาว หรือจะเป็นใน SS.Show ที่มีผู้ชมรอบสนามระดับหลักหมื่น ณ สนามกีฬากลาง จ.แพร่ กันมาแล้ว

 

Japanese driver Kenjiro Shinosuka prepares for the Granada Dakar rally during technichals preparations in Granada December 30

เคนจิโร่ ชิโนสุกะ นักแข่งชาวญี่ปุ่น เคยมาคว้าแชมป์ในสนามเมืองไทย แต่จุดสูงสุดของเขากลับกลายมาเป็นในรูปแบบ Cross Country

7

ไอ้หน้าผี “มอนสเตอร์” โนบูฮิโร่ ทาจิม่า ชาวญี่ปุ่น สมัยนั้นคนไทยตื่นตาตื่นใจกับรถแข่ง Suzuki Swift ปัจจุบันเอาดีกับการแข่งขันประเภท Pike Peak (ขับรถลงทางเขา)

6

คารามจิตต์ ซิงห์ นักแข่งมาเลเซีย ในยุคนั้นถือเป็นคู่ปรับคนสำคัญของนักแข่งไทย

CANBERRA, AUSTRALIA - MAY 9: Karamjit Singh of Malaysia and co-driver Allen Oh of Malaysia from Team Proton Pert Malaysia win the Asia Pasific Championship section of the FIA Subaru Rally of Canberra . May 9, 2004 in Canberra, Australia. (Photo by Jamie Osborne/Getty Images) *** Local Caption *** ?Driver Name?

รถ Proton รถแห่งชาติ จากมาเลเซีย ชาววงการแรลลี่เมืองไทย คงคุ้นยี่ห้อนี้กันเป็นอย่างดี

10

ซูฮาร์โต้ ทอมมี่ ฮูตาโม้ เหมาโรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ทั้งชั้น สำหรับทีมงาน แต่ต้องออกจากการแข่งขันไปก่อนอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากปัญหาของเครื่องยนต์ในรถแข่ง

 

หลายท่านคงตั้งข้อสงสัย ในเมื่อแรลลี่เมืองไทยรุ่งเรืองขนาดนี้ ทำไมปัจจุบัน ถึงเริ่มคล้ายจะเลือนลางเป็นหมอกหรือควันไปชั่วทุกขณะ ประการแรกหน้าจะเป็นเรื่องของ FIA (International Automobile Federation = สมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ)

 

11

 

ที่เริ่มเพิ่มสนามเก็บคะแนนสะสม WRC ให้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ทีมแข่ง ชั้นนำอย่าง มิตซูบิชิ และซูบารุ (ส่วนทีมโตโยต้า สมัยนั้นไม่มีนโยบายเข้าร่วมแข่งขันรายการนี้) ต้องตัดงบประมาณในส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน APRC ประการที่สองการแข่งขัน APRC ยกเลิกรุ่นแข่งขันในรุ่น Group A FIA คงเหลือไว้แต่ในรุ่น Group N FIA ส่งผลให้หลังจากนั้น การแข่งขัน APRC คงหลงเหลือแต่นักแข่งประเภทเกรด B – C+ นอกเหนือไปจากนักแข่งจากประเทศเจ้าภาพนั้นๆ โดยในช่วงเวลานั้นนักแข่งไทยที่อยู่หัวแถวได้แก่ “สิงห์ทะเลทราย” พรสวรรค์ ศิริวัฒนกุล, สุรกิจ กุลม์กำธร, ศักดิ์ชัย ห่านตระกูล, ชวาล สินธุเขียว, กิติภูมิ จาวจักรศิริ, ชัชธรรม พรมหนอก, จิรพัฒน์ พรหมนอก  ฯลฯ ส่วนประการที่สามน่าเป็นเรื่องสำคัญสุด นั่นคือเม็ดเงินหรืองบประมาณจากผู้สนับสนุน

 

8

“สิงห์ทะเลทราย” พรสวรรค์ ศิริวัฒนกุล ยุคนั้นผูกขาดกับอันดับ 1 สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในการแข่งขัน Paris Dakar ในนามทีม Mitsubishi Ralliart

8_1

สุรกิจ กุลม์กำธร ผู้สร้างตำนานขับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น โมเดลแรก คนแรกของประเทศไทย จากทีม Mitsubishi Ralliart  ในสนามแข่งขันที่ จ.หนองคาย

555962_324164874337107_436739078_n

ทีมแข่ง Mitsubishi Ralliart จากไทย ในการแข่งขัน SS.Show ณ สนามกีฬากลาง จ.แพร่

9

กิติภูมิ จาวจักรศิริ ผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะทีมสิงห์ ถือเป็นจอมวางแผนวางรากฐานทีมแข่งสิงห์จวบจนปัจจุบัน

 

จนถึงเวลาของ APRC ก็ได้หายไปจากเมืองไทย จนต้องทำการขอ Candidate ในปีต่อๆ มา จนเหลือไว้ในรายการแข่งขันระดับนานาชาติปีละครั้ง นอกเหนือจัดแข่งขันเก็บคะแนนสะสมประเทศไทยในแต่ละปี

 

แรลลี่เมืองไทยไปทางไหน?

แรลลี่เมืองไทยอยู่อย่างไร?

ติดตามกันได้ตอนต่อไปครับ…

 

เรื่อง    กิตติศักดิ์ สวัสดิทัศน์

ภาพ     Rally of Thailand/www

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save