เยือนกรูโบ แห่งป่าทุ่งใหญ่ตะวันออก

kubol24-300x201

ชมรมยุทธหัตถีสุพรรณบุรีออฟโรด ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาอาจจะดูเงียบหายไปจากวงการอยู่สักพักหนึ่ง เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ปล่อยพวงมาลัยรถออฟโรด หันไปจับแฮนด์จักรยานเสือภูเขา เป็นการออกกำลังกายและรักษาสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามรถยนต์ออฟโรดก็ยังคงอยู่ในสายเลือดตลอดมา

ยุทธหัตถีฯ เรายังคงเดินทางท่องเที่ยวป่าและลงแข่งขันกันอยู่เนืองนิจ โดยเฉพาะครั้งนี้ ได้ร่วมกับบรรดาศิษย์ญาณุศิษย์แห่งวัดวัดป่าทับทิมแดง จ.ปทุมธานี เดินทางไปเยี่ยมชม รร.บ้านกรูโบ อ.อุ้มผาง จ.ตาก และร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์การเรียนต่างๆ  ให้กับโรงเรียนแห่งนี้ด้วย โดยเฉพาะครั้งนี้มี ดร.ฟิศิษฐ์  วรอุไร เดินทางไปสำรวจ รร.บ้านกรูโบ กับพวกเราด้วย

สำหรับบ้านกรูโบนี้ เชื่อว่าชาวออฟโรดหลายๆ ท่านคงรู้จักกันดี เพราะว่าในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้ มีชาวออฟโรดหลายๆ กลุ่มเดินทางเข้าไปบริจาคสิ่งของ ช่วยสร่างโรงเรียน และร่วมกับ พอ.สว.นำแพทย์อาสาเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน แต่ส่วนใหญ่จะเดินทางเข้าไปในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน เนื่องจากยามหน้าฝนนั้น เส้นทางจะแปรเปลี่ยนเป็นทะเลโคลน การเดินทางจึงค่อนข้างลำบากและสาหัสสากรรจ์พอสมควร

จะว่าไปแล้ว ในส่วนของพวกเราชาวยุทธหัตถีฯ ก็เคยเดินทางเข้าไปบ้านกรูดบมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน ทริปนี้เกิดขึ้นได้เพราะได้รับการติดต่อ ธรรมรัตน์ ศรีสุข อดีต CO-DRIVER ของ อนันต์ ตั้งเจริญชัย แชมป์ประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสมาชิกชมรมยุทธหัตถีฯ ว่าทางคณะศิษยานุศิษย์ ของวัดป่าทับทิมแดง จ. ปทุมธานี จะเดินทางไปโรงเรียน บ.กรูโบ อ.อุ้มผาง จ.ตาก พร้อมทั้งนำสิ่งของเครื่องใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับโรงเรียน โดยมี ดร.ฟิศิษฐ์  วรอุไร ร่วมเดินทางเพื่อสำรวจหาทางช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงกรูโบด้วย

พร้อมกันนี้ก็แจ้งความประสงค์มาว่า ต้องความอนุเคราะห์ในเรื่องของรถออฟโรด ที่จะต้องใช้ประมาณ 7-8 คัน เพื่อบรรทุกคนและสัมภาระรวมทั้งสิ่งของต่างๆ ที่จะนำไปมอบให้กับโรงเรียนและชาวบ้าน พร้อมสำทับมาว่า รถที่จะเดินทางเข้าไปนั้น ทุกคันจะต้องเป็นดอก MUD TERRIAN เพราะเส้นทางที่จะไปนั้นมีร่องลึกๆ เนินชัน ลื่น บ่อโคลน และต้องข้ามลำห้วยอีกด้วย ในฤดูฝนนั้นหมู่บ้านกรูโบจะเดินทางเข้า-ออกติดต่อกับหมู่บ้านอื่นๆ ลำบากมาก

เมื่อทราบความประสงค์แล้ว ผมก็ติดต่อเพื่อนร่วมขบวนการที่พร้อมสรรพทั้งอาวุธและประสบการณ์ รวมแล้ว 9 คัน ประกอบด้วย ผม (เทิดศักดิ์  ธีระพงษ์ไพบูลย์ หรือ บุ้น) ใช้รถ ISUZU D MAX 2500 สีขาว วิชัย (บ๊อกภู่จรรยา ใช้รถ LN 106 โตโยต้า จันทร์ แช่มช้อย ใช้รถโตโยต้า ไทเกอร์ และ บรรหาร (หรั่งจักษุวัชร ใช้รถนิสสัน แพตทรอน

เราออกเดินทางในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี ที่ 31 มีนาคม 2554 ไปสมทบกับทีมงานจากด่านช้าง นำโดย นายเชิดศักดิ์ (แจ๋กล่ำพบุตร ใช้ซูซูกิ คาริเบียน ซึ่งเดินทางล่วงหน้าคอยที่เส้นทางบายพาสนครสวรรค์รวม 3 คัน ร่วมกับทางสุพรรณบุรี 4 คันเป็น 7 คัน เมื่อพบกันแล้ว เราก็ออกทางเดินไป อ.อุ้มผาง จ.ตาก เป็นจุดหมายปลายทางของวันแรก และพักที่ตูกะสู รีสอร์ท เพื่อรอขบวนรถจากกรุงเทพฯ โดยการนำ คุณธรรมรัตน์ ศรีสุข พร้อมคณะจากวัดป่าทับทิมแดง อีก 3 คัน เป็นรถตู้ 1 คัน ออฟโรด 2 คัน ซึ่งจะออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในเวลา 09.00 น. คาดคะเนว่า น่าจะถึงที่พักตูกะสู รีสอร์ท ในเวลาตีสามของวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2554

ขบวนรถจากกรุงเทพฯ ก็ได้เดินทางมาถึงตูกะสู รีสอร์ทตามกำหนดจริงๆ  เมื่อขบวนมาถึงต่างก็นำรถมาขนถ่ายสิ่งของอุปกรณ์การเรียนการสอน กระจายกันไป พร้อมคณะศิษย์ 24 คน ใช้เวลาขนถ่ายสัมภาระราวชั่วโมงเศษๆ ก็เรียบร้อย พร้อมออกเดินทางทันทีในช่วงเช้าของวันนั้น

kubol04

เมื่อทุกอย่างพร้อมเราก็ออกเดินทางทันที มุ่งหน้าไปตามถนนหมายเลข 1167 ซึ่งเป็นทางลาดยางคดเคี้ยว ขึ้นๆ ลงๆ ตามไหล่เขา ตามธรรมชาติของพื้นที่ภูเขา ซึ่งวันนี้เราต้องเดินทางราวๆ 120 กิโลเมตรเลยทีเดียว หลังจากใช้เวลาเดินทางมาประมาณ 3 ชั่วโมง ก็วิ่งเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1288 ต่ออีก 80 กิโลเมตร ไม่นานนักเราก็เดินทางมาถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านยูไนท์ – หมู่บ้านกรูโบ เส้นทางช่วงนี้ไปเริ่มเป็นทางลูกรัง หลุมบ่อ สลับบ่อโคลนลึก ผ่านลำธาร เส้นทางไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปนัก อุปสรรคต่างๆ ก็ไม่สร้างปัญหาให้กับเรามากนัก

หลังจากเดินทางยาวตั้งแต่เช้าจนกระทั่งเที่ยงวัน เราก็แวะทำอาหารและรับประทานอาหารกลางวันที่บ้านกุยลอตอ จากนั้นจึงเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่บ้านกรูโบ โดยผ่านบ้านกุยเคอะ – กุยต๊ะ กระทั่งถึงหมู่บ้านหม่องกั๊วะ ก็เกิดปัญหาขึ้นกับรถในขบวนของเรา นั่นคือรถคันนิสสัน แพตทรอนของ บรรหาร จักษุวัชร ปัยหาคือน้ำมันไม่ขึ้น ต้องเสียเวลาซ่อมอยู่พักใหญ่ แต่ก็ไม่สามารถไปได้ เวลาก็เคลื่อนผ่านไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ตัดสินใจลากกันไปโดยใช้รถของ จันทร์  แช่มช้อย เป็นคนลาก และมี ดำ ด่านช้าง คอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา ทางเส้นจากนี้ไปเริ่มเข้าสู่ริมขอบของผืนป่าใหญ่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออกอย่างเต็มตัว ทางป่าข้างหน้าเรา เริ่มแปรสภาพเป็นร่องลึกๆ เนินชัน และค่อนข้างลื่น มีร่องน้ำดักอยู่เป็นช่วงๆ พร้อมกับผ่านลำห้วย ลำธารมากมาย ยิ่งลึกการเดินทางก็เริ่มช้าลงและลำบากมากขึ้น สองข้างทางปกคลุมด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์

กว่าจะถึงหมู่บ้านกรูโบก็ตกบ่ายคล้อย เมื่อถึงหมู่บ้านกระเหรี่ยงกรูโบ มีนักเรียนพร้อมชาวบ้านยืนเข้าแถวยกมือไหว้ คอยให้การต้อนรับทำให้หายเหนื่อยลืมความยากลำบากของเส้นทางเป็นปลิดทิ้ง

กรูโบ หมู่บ้านชายขอบ ตั้งที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญในเมือง แต่ในชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ มีเรื่องราว และชีวิตผู้คนที่อยู่กันอย่างเรียบง่ายตามอัตภาพ เรียนรู้การพึ่งตนเอง และการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงไป กรูโบหรือเกลิงบอ ตามสำเนียงท้องถิ่น เกลิงบอเป็นชื่อหวายชนิดหนึ่งในภาษามอญ หมู่บ้านนี้เก่าแก่มากกว่า 100 ปี เป็นเครือญาติกับโพล่วทางสังขละบุรี และเป็นหมู่บ้านปลอดอบายมุข ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ นับถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด เป็นหมู่บ้านสงบสุขร่มเย็นน่าอยู่ มีที่พักอาศัย 30 ครัวเรือน มีโรงเรียน 1 หลัง มีนักเรียนเล็ก – ใหญ่ ประมาณ 30 คน มีครูน้อยเป็นครูคนเดียวและสอนอยู่ที่นี่เป็นเวลา 15 ปี เป็นทั้งครู หมอรักษา หมอทำคลอด เป็นที่นับถือของชาวบ้านมาก

kubol17

ทุกคนที่มาได้ทักทายครูน้อย และนักเรียน และพาไปหาที่พักซึ่งเป็นอาคารเรียนและโรงอาหาร บางคนก็กางเต็นท์ที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียน หลังจากนั้นครูน้อยพร้อมลูกศิษย์เข้าครัวทำอาหารมื้อเย็น อาหารจำพวกผัก ผลไม้ได้จากนักเรียนและชาวบ้านได้ปลูกเอาไว้กิน และหาได้ง่าย อาหารมื้อนี้เป็นอาหารป่าจริงและอร่อยมาก โดยเฉพาะน้ำพริก พอทานอาหารเสร็จทุกคนก็แยกกันทำธุระสังสรรค์ตามประสา บ้างก็สนทนาธรรมกับพระอาจารย์ บ้างก็เข้านอนเพราะความเหนื่อยล้า จนเวลาพอสมควร ต่างก็แยกย้ายกันเข้าพักผ่อน ส่วนครูน้อยกับลูกศิษย์ชาวบ้านต่างช่วยกันตระเตรียมของเครื่องแกงต่างๆ เอาไว้วันพรุ่งนี้เช้า

เช้าวันที่ 2 เมษายน 2554 ทุกคนตื่นตั้งแต่เช้า โดยการปลุกของเหล่าแม่ครัวที่กำลังทำอาหารสัมผัสบรรยากาศยามเช้า ผสมผสานเสียงสัตว์ นกนานาชนิด และร่วมกันตักบาตร พร้อมกับชาวบ้าน พระอาจารย์จะฉันแค่มื้อเดียว หลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จ ออฟโรดจะต้องแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะต้องช่วยกันลากรถของเฮียหรั่งออกล่วงหน้าไปก่อนเพราะเดินทางได้ช้ากว่าธรรมดา ส่วนชุดที่ 2 ที่เหลือ 5 คัน ต้องรอรับพระอาจารย์ รวมทั้งบรรดาศิษยานุศิษย์ในตอนบ่าย รถน้อยคนเยอะต้องนั่งกระบะเบียดเสียดกันบ้าง แต่ก็เต็มไปด้วยความสนุกสนานและเป็นกันเอง ระหว่างทางมีติดบ่อโคลนกันบ้าง วินช์กันไป กว่าจะถึงที่พักรถจอดรอชุดแรกถึงแล้วก็ปาเข้าไปสองทุ่ม เมื่อถึงที่พัก ตูกะสู รีสอร์ท คณะที่มาจากกรุงเทพฯ จะต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯเลยทันที ส่วนผมกับพรรคพวกต้องพักค้องคืนที่รีสอร์ทอีก 1 คืน

ในช่วงเช้าหลังทั้งหมดตกลงกันไปเที่ยวน้ำตกทีลอซู จะได้เปรียบเทียบสถานที่เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว กับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือ ถนนที่มุ่งหน้าไปยังตัวน้ำตกทีลอซุ ยังเป็นทางลูกรังธรรมดา บางช่วงในอดีตที่ค่อนข้างสูงชันและลื่น ต้องวินช์เป็นตัวช่วย ปัจจุบันทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯเทปูนกันลื่น รถยนต์จึงผ่านได้สบายๆ แม้จะเป็นรถออฟโรดสแตนดาร์ดก็ตามที ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าฯมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีระเบียบดีขึ้นส่วนทางเดินไปชมและเล่นน้ำตก ระยะทาง 1500 เมตร ก็ปรับปรุงทำเป็นขั้นบันไดปูนตลอดเส้นทาง สะดวกไม่ลื่นล้ม แต่ก็ขัดต่อธรรมชาติอยู่บ้างพออนุโลม ส่วนธรรมชาติป่าไม้ยังเหมือนเดิม ระหว่างเดินทางออกจากน้ำตกทีลอซู คณะของเราได้แวะไปที่โรงเรียนใกล้ๆ พร้อมหอบสิ่งของและสมทบทุนอาหาร จำนวน 5,000 บาท และเดินทางกลับภูมิลำเนา

อิ่มบุญ อิ่มใจ สัมผัสธรรมชาติ ทุกคนต่างนำสิ่งเหล่านี้ซึ่งเต็มไปด้วยความสุขกลับภูมิลำเนา

kubol25

คู่มือการเดินทาง

ให้ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 1167 ซึ่งเป็นทางลาดยางคดเคี้ยว ขึ้นๆ ลงๆ ราวๆ 120 กิโลเมตรเลยทีเดียว หลังจากใช้นั้นให้วิ่งเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1288 ต่ออีก 80 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าหมู่บ้านยูไนท์ – หมู่บ้านกรูโบ เป็นทางลูกรัง เส้นทางนี้จะผ่านบ้านกุยเคอะ – กุยต๊ะ ถึงหมู่บ้านหม่องกั๊วะ ทางเส้นจากนี้ไปเริ่มเข้าสู่ผืนป่าใหญ่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออก เส้นทางจะแปรสภาพเป็นร่องลึกๆ เนินชัน และค่อนข้างลื่น มีร่องน้ำดักอยู่เป็นช่วงๆ พร้อมกับผ่านลำห้วย ลำธารมากมาย ไม่นานนักก็จะถึงหมู่บ้านกรูโบ

 

Comments are closed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save