เตรียมตัวไปบุโรพุทโธ-พรัมมานัน

                 เมืองยอร์คยานั้น ถือเป็นเมืองใหญ่ของอินโดนีเซีย บนเกาะชวา เมืองนี้เป็นทั้งเมืองค้าขาย มีท่าเรือ มีการขนส่งสารพัด และที่สำคัญเป็นเมืองท่องเที่ยวด้วย เมืองบุโรพุทโธนั้น ห่างจากเมืองยอร์คยาออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กม. ใกล้ๆ กับแม่น้ำโปรโก เดิมเมืองนี้ก็คงเป็นแค่ชนบทธรรมดาๆ  เพราะจะเรียกว่าเป็นเมืองก็ดูไม่ถนัดปากนัก แต่พอการท่องเที่ยวมาได้รับความนิยม บรรดาโรงแรมต่างๆ จึงผุดขึ้นมามากมาย เวลาเราจะไปเที่ยวบุโรพุทโธ จึงมีทั้งที่ไปพักแรมที่เมืองบุโรพุทโธ เพื่อจะได้รอดูพระอาทิตย์ขึ้น-ตกได้เลย แต่ส่วนใหญ่ มักจะพักที่เมืองยอร์คยา ยอมออกเดินทางแต่เช้าหน่อย เพราะในยอร์คยามีตลาดให้เดินเล่น โรงแรมหลายระดับราคา และแค่ 40 กิโลเมตรนี่ รถวิ่งแป๊บเดียวก็ถึง

ตัวศาสนสถานบุโรพุทโธเอง อยู่ห่างจากในชุมชนเมืองออกไป 3 กม. เขาทำเป็นที่ท่องเที่ยวแบบเป็นกิจจะลักษณะ มีอาคารขายตั๋ว (ค่าเข้าดูคนละ ๑๒ US อัตราแลก ๑ US=  Rp. ๑๐,๕๐๐ ) มีห้องจัดแสดงนิทรรศการ บอกเล่าความเป็นมา ผัง และการซ่อมแซมต่างๆ สมกับที่เขาได้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม แล้วก็จะมีทางเดินเข้าไปจนถึงมหาเจดีย์บุโรพุทโธ  สิ่งที่เรามองเห็นคือ มหาเจดีย์ที่สร้างบนที่ราบแล้วก่อสูงขึ้นไปเหมือนภูเขาสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร กลิ่นไอสถาปัตยกรรมแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393  ว่ากันว่าสร้างจากหินแอนดีไซต์ (Andesite)  ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต ก่อต่อกันขึ้นไปคล้ายๆ ปิรามิด เหมือนขั้นบันได  10 ชั้น มีความสูงกว่า 42 เมตรจากฐานชั้นล่าง ซึ่งแต่ละชั้นจะมีภาพสลักนูนต่ำแสดงคติธรรมทางพุทธศาสนาด้วยคติเกี่ยว กับจักรวาลตามพุทธศาสนาและการเข้าสู่นิพพาน 6 ชั้นนับจากช่าง  ชั้นที่ 7 เป็นฐานวงกลมขนาดใหญ่ ขึ้นไปอีก 3 ชั้น มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำโปร่งๆ มีช่องสี่เหลี่ยม โดยรอบ ครอบพระพุทธรูปไว้ข้างใน เชื่อกันว่าหากใครยื่นมือไปจนถึงและสัมผัสพระพุทธรูปภายในได้พร้อม อธิษฐานแล้วจะสมหวังและโชคดี (ซึ่งผมว่าแบบนี้คนแขนยาวได้เปรียบ)  เจดีย์เล็กๆ เหล่านี้มี 72 องค์ เรียงเป็นแนวล้อมรอบสถูปใหญ่บนชั้นที่ 10 ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธานสูง 150 ฟุต เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ข้างในแต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว

เขามีคติความเชื่อในการสร้างผังแบบนี้ของบุโรพุทโธซ่อนไว้หมด เช่น รอบกำแพงรอบฐานที่มีภาพสลักนูนต่ำราว 160 ภาพอยู่ในส่วนกามาฐาน หรือขั้นที่มนุษย์ยังผูกพันอย่างใกล้ชิดกับความสุขทาง โลกและถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหา ส่วนที่ 2 คือ ส่วนบนของฐานที่มีขั้นบันไดรูปกลม ฐาน 6 ขั้นที่มีรูปสลักนูนต่ำเกือบ 1,400 ภาพ ที่แสดงพุทธประวัติ ถือเป็นขั้นรูปธาตุ หรือขั้นที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลส ทางโลกมาได้บางส่วน  และส่วนที่ 3 คือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์เล็ก ๆ 3 ชั้นล้อมรอบสถูปองค์ใหญ่ที่สุด หมายถึงจักรวาล คือ ชั้นอธูปธาตุที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป

บรรยากาศการเที่ยวที่นี่ก็เดินไปเดินมา ดูมุมนั้นมุมนี้ ดูภาพแกะสลัก แต่ถ้าขึ้นไปถึงชั้นบนสุด จะเห็นทิวทัศน์รอบข้างที่เป็นป่าไม้ตามชายบ้าน  เขาจะมีเจ้าหน้าที่เดินตรวจตราตลอด คนไหนทำท่ากางขาตั้งกล้องถ่ายรูปจะถูกเตือนและห้าม สรุปว่าถ่ายได้แต่ห้ามกางขาตั้ง    ด้านนอกก็จะเป็นลานให้มานั่งชมความงาม ถ้าเดินห่างออกมาอีกนิดก็จะเป็นร้านขายของที่ระลึกทั้งหลายและคนขายของที่เดินตื๊อจนรำคาญแหละน่า

ไม่ไกลจากบุโรพุทโธ ที่เมืองพรัมมานัน(ห่างยอร์คยาแค่ 17 กม.) จะมีศาสนสถานฮินดูอีกแห่งคือ วัดพรัมบานัน( Prambanan Temple ) เป็นวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียหรือจะเรียกว่าใหญ่ที่ สุดในเอเชียอาคเนย์  ในพื้นที่เดียวกันมีวัดยิบย่อยเป็นร้อยๆ หลัง  สร้างในบริเวณที่กว้างมากเหมือนเป็นสวนสาธารณะเลย มีต้นไม้ ที่นั่ง ห้องน้ำกระจายกันออกไป มีทางเดินเชื่อมไปดูได้หลายที่ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย วัดถูกสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.1340 โดยสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ราไก พิคาตัน Rakai Pikatan จากราชวงศ์ Mataram ที่ 2 เพื่อเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่ของศาสนาฮินดูบนเกาะชวา  กลุ่มวัดที่มักจะไปดูกันคือ Candi Prambanan ซึ่งเป็นกลุ่มปรางค์ใหญ่ ๆ 6  หลังปรางค์หลักนั้นมีความสูงถึง 47 เมตร คือ วิหารศิวะ (Candi Shiva) เป็นเทวสถานที่สำคัญและเด่นที่สุด ขนาบด้วยวิหารพระพรหม (Candi Bharama) ทางทิศเหนือ และวิหารพระวิษณุ(Candi Wisnu) ทางทิศใต้

ทั้งสามวิหารล้วนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  เราสามารถเดินขึ้นไปสักการะบูชาองค์เทพในห้องชั้นบนสุดได้ ภายในวิหารพระศิวะเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระศิวะองค์ขนาดสูง 3เมตร ประทับยืนบนดอกบัวบาน มีห้องกลางประดิษฐานรูปพระอิศวร และห้องเล็ก ๆ ประดิษฐานรูปพระคเณศทางทิศตะวันตก ประดิษฐานรูปพระอิศวรปางมหาโยคีทางห้องทิศใต้ ประดิษฐานรูปนางทุรคาในห้องทิศเหนือ ซึ่งคนพื้นถิ่นเชื่อว่านี่น่าจะเป็นรูปโลโรจงกรังในตำนานพื้นเมืองที่ถูกยักษ์สาปนั่นเอง  มาดูที่นี่ก็จะอดนึกถึงปราสาทขอมที่เขมรไม่ได้เพราะมันคล้ายๆ กัน ปรางค์ทุกปรางค์จะมีภาพสลักเรื่องรามายณะ วิถีพื้นบ้าน เทพ เทพี โยคี ฤาษี และสัตว์ในเทพนิยายของฮินดู

ช่วงศตวรรษที่ 9 เกาะชวาได้ถูกปกครองโดย 2 ราชวงศ์ใหญ่ คือ ราชวงศ์ไศเลนทราที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา และราชวงศ์สัญชัยที่เลื่อมใสในฮินดู ทั้งสองราชวงศ์มีสัมพันธ์อันดีต่อกัน  ราวกลางศตวรรษที่ 16 ศาสนาฮินดูเริ่มเสื่อมไปพร้อมกับราชวงศ์สัญชัยเริ่มหาพื้นที่ใหม่ไปทางชวาตะวันออกและเกาะบาหลี   ด้วยดินแดนชวากลางอันอุดมสมบูรณ์นั้น เกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้งก่อความเสียหายแก่ผู้คนและโบราณสถาน รวมถึงพรัมบานัน และบุโรพุทโธด้วย  ประกอบกับศาสนาอิสลามเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่แทน  ปัจจุบันศาลนาพุทธจึงเหลือเพียง 1%  และศาสนาฮินดูก็ไปอยู่บนเกาะบาหลี  เขาเริ่มซ่อมวิหารพรัมมานันเอาในปี  พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) นี่เองและว่าการบูรณะสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) แต่ไปก็ยังเห็นมีการบูรณะอยู่เนืองๆ ไม่เห็นเสร็จสักที

ระหว่างบุโรพุทโธมาพรัมมานันจะมีวัดพุทธอีกหลายแห่งตั้งอยู่ เช่น วัดเมนดุท (Mendut Temple) และวัดเปนเดม (PandemTemple) แต่ทว่าหลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ตัววัดก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา

            การเดินทางจากไทยไป บุโรพุทโธ และพรัมมานัน ไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งเมื่อเปิด AEC ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ มารับรู้กันไว้เผื่อว่าวันข้างหน้าจะได้ไปเที่ยวสองแห่งนี้กัน..

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save