ฺBADMINTON ACTIVE ACTIVE
กีฬาในร่มที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้คงเป็นกีฬาอื่นไม่ได้นอกจากเสียจาก แบดมินตัน Badminton ที่ล่าสุดมีนักกีฬาของไทยอย่าง “น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์” ที่คว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันโลกมาเป็นของขวัญให้แก่ชาวไทย และสร้างชื่อเสียงไปทั่วโลกเพราะเป็นแชมป์โลกที่มีอายุน้อยที่สุด
หากให้เอ่ยถึงกีฬาแบดมินตันใครๆ ก็เคยรู้จักและได้สัมผัสมาก่อน แบดมินตันเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ใช้อุปกรณ์ในการเล่นตีลูก โดยเราเรียกลูกนี้ว่า “ลูกขนไก่” เหตุเพราะสมัยก่อนลูกของแบดมินตันนั้น จะมีขนไก่ติดมากับลูกบอลขนาดเล็ก แต่ในปัจจุบันการผลิตลูกขนไก่จะใช้ขนเป็ดแทนขนไก่เหมือนสมัยก่อน และลูกบอลเปลี่ยนเป็นไม้คอร์ก
การเล่นแบดมินตันนั้นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย และยังแบ่งการเล่นได้อีก 2 ประเภท คือ การเล่นแบบเดี่ยว และการเล่นแบบคู่ การเล่นรอบหนึ่งเรียกว่า 1 แมทช์ แมทช์ละ 3 เซ็ท ตัดสินแพ้ชนะ 2 ใน 3 เซ็ท ส่วนในเรื่องคะแนนของแบดมินตัน จะนับคะแนนสูงสุด 21 คะแนน หากฝ่ายใดทำคะแนนได้ถึง 21 ก่อนจะเป็นผู้ชนะ
History Badminton in Thailand.
แบดมินตัน(Badminton) ถือว่าเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นกีฬาที่ใช้อุปกรณ์การเล่นน้อยชิ้น อีกทั้งยังเป็นกีฬาที่ไม่หักโหมจนเกินไป จึงไม่แปลกที่คนทั่วไปจะชื่นชอบกีฬานี้
แบดมินตันได้เริ่มเข้ามาประมาณปี พ.ศ. 2456 โดย พระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามที่บ้านซึ่งตั้งอยู่ที่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี หลังจากนั้นจึงนิยมเล่นกันแพร่หลายมากขึ้น ในราวปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้จัดการแข่งขันแบดมินตันขึ้นเป็นครั้งแรกโดนจัดการแข่งขัน 3 ประเภท ได้แก่ประเภทเดี่ยว, ประเภทคู่, ประเภท 3 คน (ในช่วงนั้นแบดมินตันนิมยมเล่นกันข้างละ 3 คน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ ได้ก่อตั้ง “สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย” เมื่อแรกตั้งสมาคมนั้นมีอยู่ทั้งหมด 7 สโมสร แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 2 สโมสร คือ สโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้ ในปีเดียวกันนั้นสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ซึ่งนักกีฬาแบดมินตันของไทยนั้น มีฝีมือดีอยู่เป็นจำนวนมากและจากการที่มีรายการแข่งขันต่างๆ นักกีฬาแบดมินตันของไทยก็ได้สร้างชื่อเสียงไว้
ปัจจุบันการเล่นแบดมินตันในประเทศไทยเป็นกีฬายามว่าง และเล่นกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะหญิงหรือชาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อีกทั้งยังมีโรงเรียนสอนแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ และเชื่อว่าในอีกไม่นาน ไทยเราจะขึ้นเป็นผู้นำด้านกีฬาแบดมินตันของโลกได้แน่นอน
Rule.
• การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแตกต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
• การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
-หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
– หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
• ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริ์ฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริ์ฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
• ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
• การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
• ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
• ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา (Over net)
Field and Equipment.
• สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มิลลิเมตร
• เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
• เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
• เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงโดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)
• เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่
• ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
• ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร
• ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มิลลิเมตร ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
• เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
• สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
• ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็นต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา
Point.
• ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอวัยวะทุกส่วนได้พัฒนาอยู่เสมอโดยเฉพาะข้อมือ แขน ขา และ สายตา
• แบดมินตันเป็นกีฬาที่ใช้ร่างกายที่ดี สมรรถภาพทางร่างกาย คือ ความแข็งแรง ความอดทน การทำงานสัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ พลังความยืดหยุ่นของอวัยวะต่าง ๆ ความคล่องตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด ทำให้มีร่างกายแข็งแรง และยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหาร เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจให้ลึกและดีขึ้นด้วย
• เป็นการฝึกสมอง เพราะการเล่นมีการรุก – รับตลอดเวลาที่ต้องใช้ทั้งสมาธิและสมอง จึงช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดและสร้างความพอใจให้ผู้เล่นเพราะคนทั่ว ๆ ไปต้องการเล่นให้สนุกสนานปล่อยอารมณ์ไปกับการเคลื่อนไหวตามชนิดต่าง ๆ ของกิจกรรม
• เป็นกีฬาที่สร้างเสริมมนุษย์สัมพันธ์ มิตรภาพ และการแสดงออกที่แสดงถึงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เพราะการเล่นต้องเล่นร่วมกับคนอื่น ๆ ได้มีการพบปะสังสรรค์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะได้รับประโยชน์เท่า ๆ กัน
• เป็นกีฬาที่มีคนนิยมมาก มีรางวัลสูง มีการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นเกมส์แบดมินตันดี ๆ อยู่เสมอ
Accident with badminton.
การเล่นแบดมินตันก็เกิดการบาดเจ็บเหมือนกับกีฬาประเภทอื่นๆ โดยส่วนมากแล้วอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอก หรือที่เราเรียกว่า Tennis elbow ซึ่งจะพบได้ทั้งด้านในและด้านนอกของข้อศอก
สาเหตุของการเจ็บข้อศอก
• เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นซ้ำๆ กันมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบบริเวณดังกล่าว
• ใช้ข้อศอกเป็นจุดหมุนมากเกินไป
• การบาดเจ็บแบบนี้เกิดขึ้นได้กับทุกกีฬาที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อจุดๆ เดียวกันมากเกินไป
อาการบาดเจ็บของ Tennis Elbow
• มีอาการเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อยกของ บิดแขนหรือกำมือแน่น ทำให้การตีในแต่ละครั้งรู้สึกแหยงๆ ในบางครั้งจะมีอาการปวดร้าวไปที่แขนและมือได้
• เมื่อกดบริเวศข้อศอกด้านนอกแล้วจะรู้สึกเจ็บ ถ้าคว่ำมือหรือกระดกข้อมือ ในขณะเหยียดศอกจะรู้สึกเจ็บเพราะกล้ามเนื้อและเอ็น ยืด-หด
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.