อัมรา ทิทะ แห่งแม่น้ำตะนาวศรี ที่เมืองทวาย

บ้านอัมราและบ้านทิทะ ตั้งอยู่ใน อ.เมตตา จ.ทวาย ห่างจากชายแดนไทยทางบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรีไม่ไกลนัก เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงเล็กๆ ที่ตั้งอยู่เหนือริมฝั่งแม่น้ำตะนาวศรีอันสวยงามและเงียบสงบ มีวิถีชีวิตแฝงตัวอิงแอบอยู่กับธรรมชาติ มีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ชาวบ้านแทบทุกคนสามารถพูดไทยได้อย่างชัดเจน เนื่องจากส่วนใหญ่เคยเดินทางมาทำงานที่เมืองไทย และมีไม่น้อยที่เข้ามาร่ำเรียนหนังสืออยู่ที่กาญจนบุรีและราชบุรี เนื่องจากเดินทางเข้ามาในไทยสะดวกสบายกว่าไปยังทวาย

แต่ขอเกริ่นนำเรื่องราวของจังหวัดนี้สักเล็กน้อย เพราะอีกไม่นานคนไทยเราคงต้องให้ความสำคัญไม่น้อย ในฐานะเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกที่เชื่อมต่อมายังไทยเรา เพราะเมื่อปี 2008 มีการลงนามระหว่างรัฐบาลไทยกับเมียนมาไปเรียบร้อยแล้ว

ทวาย หรือ เมียนม่าร์จะออกเสียงเป็น ดะแว ส่วนมอญออกเสียง ฮะไหว่ คำว่า ทวาย หมายถึงพื้นที่และชาติพันธุ์ทวาย อาศัยอยู่ที่ลุ่มน้ำทวาย พูดภาษาทวายที่ไม่ใช่ภาษาพม่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมา และเป็นเมืองหลวงของภูมิภาคตะนาวศรี หรือตะนิ้นตายี  มีประชากรอาศัยอยู่ราว 139,900 คน เป็นเมืองท่าปากแม่น้ำ อยู่ห่างจากทะเลอันดามันราว 30 กิโลเมตร ทวายมีความสัมพันธ์กับไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม ต่อมาสมัยราชวงค์คองบองของเมียนมาทวงคืนเพื่อทำเป็นเมืองท่าการค้าทางทะเล ตั้งแต่ศตวรรษ 11-12 มีมะริดอยู่ตรงกลาง ส่วนตะนาวศรีเป็นเมืองภายในคุมเส้นทางติดต่อผ่านมายังไทย ถือว่าเป็นเส้นทางสายไหมจากอินเดีย จะผ่านยะไข่ สะเทิม ทวาย ขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรมาที่กาญจนบุรี ราชบุรี หลักฐานที่เก่าที่สุดยังพบได้ที่พวกพยู (เพียว Pyu) ซึ่งคนทวายถือว่าเป็นบรรพบุรุษของพวกเขา 

ครั้นเมียนม่าร์เปิดเมืองต้อนรับ AEC การเดินทางโดยรถยนต์ไปยังทวายทำได้ง่ายขึ้น เพียงนำบัตรประชาชนไปทำ BORDERPASS กับเจ้าหน้าที่ ตรวจคนเข้าเมืองบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ก็จะได้ใบผ่านแดนชั่วคราวและสามารถอาศัยอยู่ในทวายได้ 1 อาทิตย์ แต่ทั้งนี้ทางการเมียนมาร์ก็ยังไม่อนุญาติให้รถยนต์ทะเบียนต่างประเทศเข้าไป ต้องใช้รถยนต์ของพม่าเองหรือไม่ก็ต้องยื่นทำเอกสารขอทำป้ายทะเบียนเมียนม่าร์ซึ่งก็ยุ่งยากพอสมควร ปัจจุบันมีทั้งรถตู้รับจ้าง และบริษัททัวร์ต่างๆ คอยให้บริการ ในฝั่งของไทยเราก็จะมีรถตู้วิ่งตรงจากบ้านพุน้ำร้อนสู่มหาชัยหรือสมุทรสาครคอยบริการ ระยะทางจากบ้านพุน้ำร้อนไปทวายนั้น ประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นทางฝุ่นตลอดใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-6  ชั่วโมง ก็จะถึงทวาย เมืองประตูสู่การค้าขาย อาหารทะเลสด กุ้งมังกร กุ้งแม่น้ำ ปลาทะเล จากทะเลอันดามัน

ย้อนกลับมาในเรื่องของการเดินทางในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากทางกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี โดย พันเอกวินิจ  สว่างเนตร รองผู้การกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 9 ต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เมียนม่าร์ จึงได้จัดทริปเล็กๆ ส่งมอบความสุขให้กับชาวบ้านริมตะเข็บชายแดน และร่วมจัดงานวันคริสต์มาสให้กับชาวบ้านที่บ้านอัมราและทิทะ ต.ตะนาวศรี อ.เมตตา (MITTA) จ.ทวาย (DAWEI) โดยมี จเด็ด ถ้ำทอง จากชมรมท้ายขบวน ยูนิคอร์น เป็นผู้ประสานงานทางกลุ่มออฟโรด ในการร่วมกันนำของไปบริจาคและมอบให้กับชาวบ้าน มีรถร่วมเดินทางทั้งหมด 20 คัน จากท้ายขบวน ยูนิคอร์น, แควใหญ่-แควน้อย, ยุทธหัตถีสุพรรณบุรีออฟโรด, ทีมงานจากนิตยสารออฟโรด และทางกลุ่มของพันเอกวินิจ  สว่างเนตร อีก 6 คัน

 3

นั่งพักรอออกเดินทางจากด่านพุน้ำร้อน

2

จากพุน้ำร้อนสู่ด่านทิขี้ของเมียนม่าร์ระยะทาง 3 กิโลเมตร ลาดยางอย่างดี

4

เข้าสู่ด่านทิขี้ของเมียนม่าร์ สภาพทางก็เปลี่ยนไปทันที

ทุกคันเดินทางมารวมตัวกันที่หน้าด่านพุน้ำร้อนในวันที่ 24 ธันวาคม 2559 หลังจากจัดการยื่นเอกสารรถและคนเรียบร้อยแล้ว ในช่วงบ่ายก็เคลื่อนขบวนออกจากด่านพุน้ำร้อนไปประมาณ 3 กิโลเมตร ก็ถึงด่านทิขี้ของเมียนมาร์ ต้องปรับความรู้สึกกันเล็กน้อยในเรื่องของการขับ จากเลนซ้ายของบ้านเรามาเป็นเลนขวาของพม่า และตั้งแต่ด่านทิขี้ไปเส้นทางจะเป็นทางฝุ่นล้วนๆ ทำให้รถทุกคันต้องทิ้งช่วงกันพอประมาณ เพื่อความปลอดภัย เส้นทางจะค่อยๆ ไต่ความสูงของขุนเขาขึ้นไปเรื่อยๆ ผ่านแคมป์ของบริษัท อิตาเลี่ยนไทย จำกัด ขับมาได้สัก 10 กิโลเมตร ก็มีทางแยกซ้ายจากทางหลัก ไปยังบ้านอัมราและบ้านทิทะ(HTEE HTA) ต.ตะนาวศรี

6

ออกจากด่านทิขี้ของเมียนม่าร์ ผ่าน DUTY FREE หรือศูนย์จำหน่ายสินค้าปลอดภาษี

5

ผ่านด่านของทหารเมียนม่าร์อีกครั้ง ที่บริเวณใกล้กับแคมป์ของอิตาเลี่ยนไทย

7

สภาพเส้นทางค่อนข้างกว้างขวางพอสมควร ขึ้นเขา ลงเนินเกือบตลอด แต่ฝุ่นเยอะมาก

8

10

ทางไปบ้านอัมราและทิทะที่ติดแม่น้ำตะนาวศรี ต้องข้ามลำห้วยถึง 5 แห่ง 

11

ผจญภัยกับทางฝุ่นราวกับเมืองในหมอกตลอดทาง

ขบวนของเรายังคงวิ่งฝ่าทางฝุ่นที่ไม่ต่างจากเมืองในหมอก พร้อมกับลัดเลาะไป-มาอยู่กลางขุนเขา ข้ามลำห้วยน้อยใหญ่อีกราว 5 แห่ง ราวบ่ายแก่ๆ ก็เดินทางถึงยังบริเวณโบสถ์คริสต์ใจกลางหมู่บ้านอัมรา ปลายทางของการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งชาวบ้านจากหมู่บ้านต่างๆ ในย่านนี้เดินทางมารวมตัวกันอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว รวมระยะทางจากด่านพุน้ำร้อนประมาณ 20 กว่ากิโลเมตร

30

31

32

ชาวบ้านมาร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ และประดับประดาซุ้มทางเข้างานอย่างสวยงาม

33

ชมรมท้ายขบวนยูนิคอร์น จัดหนังมาฉายสร้างความบันเทิงให้กับชาวบ้าน

34

35

ชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง พูดไทยชัดเจน ใช้สินค้าส่วนใหญ่มาจากเมืองไทย 

36

เมื่อถึงวันคริสต์มาส เด็กๆ และวัยรุ่นหนุ่มสาวจากหมู่บ้านต่างๆ จะเดินทางมารวมตัวและนอนพักแรมกันที่บ้านอัมรา

37

นอกจากการร่วมงานวันคริสต์มาส การมอบของให้กับชาวบ้าน และทำอาหารเลี้ยงเด็กๆ แล้ว ที่พิเศษสุดทางชมรมท้ายชบวนยูนิคอร์นยังจัดเต็ม จัดหนัก ด้วยการนำหนังกลางแปลงมาสร้างความบันเทิงให้กับชาวบ้านในครั้งนี้อีกด้วย ซึ่งทีมงานได้จัดเตรียมมาเป็นอย่างดี ขณะที่อีกส่วนหนึ่งแยกลงไปยังจุดแคมป์พักแรมด้านล่าง ริมแม่น้ำตะนาวศรี ห่างจากสถานที่จัดงานไปไม่กี่ร้อยเมตร เป็นลานหินกว้างๆ ที่ทางชาวบ้านและทางการเมียนม่าร์ประสานงานและจัดเตรียมเอาไว้ให้ เพื่อกางเต็นท์พักแรมและทำอาหารเลี้ยงคณะและชาวบ้านในคืนนี้

13

พันเอกวินิจ  สว่างเนตร รองผู้การกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 9 สุนทร ยศสง่า จากนิตยสารออฟโรด และชมรมท้ายขบวนยูนิคอร์น ถ่ายภาพร่วมกัน โดยมีทหารเมียนม่าร์มาช่วยอำนวยความสะดวกและรักาาความปลอดภัย

14

22

บรรยากาศของภัตตาคารเคลื่อนที่ริมแม่น้ำตะนาวศรี 

แม่น้ำตะนาวศรีนั้น มีต้นกำเนิดอยู่ในทวายต้นแม่น้ำตะนาวศรีที่ไหลเคียงข้างเทือกเขาอันยิ่งใหญ่ ก่อนที่ปลายน้ำจะไหลออกสู่ทะเลอันดามันที่เมืองมะริต  ถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมียนม่าร์ ในช่วงน้ำหลากแม่น้ำแห่งนี้คงยิ่งใหญ่ไม่แพ้สายน้ำอื่นๆ ในช่วงนี้ต่อเนื่องไปจนถึงหน้าแล้ง นอกจากชาวบ้านจะใช้เรือเป็นพาหนะในการข้ามฟากไป-มาแล้ว ส่วนหนึ่งก็ยังเดินลุยน้ำที่เชี่ยวกรากข้ามไป-มาได้อีกด้วย โดยอาศัยเดินไปตามรอยทางของรถบรรทุกถ่านหิน ส่วนใครที่มีรถขับเคลื่อนสี่ล้อก็สามารถข้ามไป-มาได้สบายๆ แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนก็จะมีแพขนานยนต์คอยให้บริการบริเวณวัดอัมรา เช่นเดียวกับแพไม้ไผ่ที่นำมาประยุกต์ใส่เครื่องยนต์ใช้สำหรับบรรทุกรถมอเตอร์ไซค์และผู้คนข้ามฟากไป-มา

17

รถออฟโรดขณะเดินทางข้ามแม่น้ำตะนาวศรี โดยมีทหารเมียนม่าร์ร่วมอำนวยความสะดวก

16

ทีมรถมอเตอร์ไซค์วิบากจากราชบุรี กำลังนำพาหนะคู่ใจฝ่ากระแสน้ำ

21

แพขนานยนต์ให้บริการตลอดสำหรับรถยนต์

19

มีแพคอยให้บริการทั้งรถมอเตอร์ไซค์และคน ข้ามแม่น้ำตะนาวศรี

18

ความงดงามของสายน้ำตะนาวศรี มองจากวัดอัมรา จะเห็นจุดตั้งแคมป์อยู่ทางด้านซ้ายมือ

15

เอาอ่างจากุซซี่มาแลกก็ไม่มีใครยอม

23

24

ภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังคงพึ่งพิงกับสายน้ำแห่งนี้ 

27

การตัดไม้ไผ่ เป็นอาชีพที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวบ้านในละแวกนี้

29

ในช่วงที่นำ้ไม่ลึกมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่่ยังคงนิยมเดินข้ามแม่น้ำกันอยู่ โดยเดินตามทางของรถบรรทุกถ่านหิน

พื้นที่พรมแดนแนวเขตติดต่อกับไทยเรา นับตั้งแต่เทือกเขาถนนธงชัยใน จ.แม่ฮ่องสอน มาบรรจบกับเทือกเขาตะนาวศรีที่ จ.ตาก และ จ.กาญจนบุรี ไปสุดปลายทางที่ระนอง รวมระยะทางประมาณ 834 กิโลเมตร  ถือเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุด และเต็มไปด้วยเรื่องราวการต่อสู้ระหว่างชนชาติเดียวกัน ตามแนวชายแดนแถว จ.ตากและจ.กาญจนบุรี ส่วนใหญ่เคยอยู่ในการปกครองของกะเหรี่ยงเคเอ็นยู (KNU) หรือพวกเขาเรียกตัวเองว่า”กอทูเล” และทำการสู้รบกับรัฐบาลเมียนม่าร์มาอย่างยาวนาน จนกระทั่งค่ายมอเนอพลอ ของนายพลโบเมี๊ยะ ผู้นำสูงสุดของกะเหรี่ยงแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 บางส่วนก็วางอาวุธเข้าร่วมกับรัฐบาลเมียนม่าร์ บางส่วนก็ยังจับอาวุธสู้รบและกระจายเป็นกลุ่มต่างๆ ตามตะเข็บชายแดนไทย

ในพื้นที่ที่เราเดินทางไปนี้ก็เช่นกัน เมื่อปี 2540 ก็เกิดการต่อสู้กันอย่างหนักริมฝั่งแม่น้ำตะนาวศรี ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพหนีภัยสงครามเข้าไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยแถวชายแดนไทย โดยเฉพาะที่ถ้ำหิน จ.ราชบุรี จนกระทั่งมีการทำสัญญาหยุดยิง ชาวบ้านจึงได้เดินทางกลับยังภูมิลำเนาเดิมอีกครั้ง เมื่อ 3-4 ปีก่อน จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ชาวบ้านในแถบตะเข็บชายแดนสามารถพูด อ่าน รวมทั้งเขียนภาษาไทยได้แทบทุกคน เนื่องจากเคยอยู่ในศูนย์ผู้ลี้ภัย หรือบางคนก็เคยเดินทางมาทำงานที่ไทย ส่วนคนที่พอมีเงินก็ส่งลูกไปเรียนที่เมืองไทย โดยเฉพาะที่โรงเรียนบ้านหนองขาวใกล้ชายแดนไทยนั่นเอง

12

บรรยากาศยามเย็นเหนือแม่น้ำตะนาวศรี ที่บ้านอัมรา

26

เรือหาปลาและเรือร่อนแร่ของชาวบ้านจอดนิ่งสนิทอยู่ริมฝั่ง

38

39

40

41

42

คณะร่วมกันมอบของและฉายหนังกลางแปลงให้กับชาวบ้าน

หลังร่วมกันมอบและมีการฉายหนังกลางแปลงให้กับชาวบ้านอัมราแล้ว เช้าวันที่ 25 ธันวาคม 2559 คณะของเราทั้งหมดก็เดินทางออกจากบ้านอัมรา ขับรถเลาะแม่น้ำตะนาวศรีขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ เพื่อไปยังหมู่บ้านทิทะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีวัด โรงเรียน และเป็นที่ตั้งของเจดีย์ Htee Hta อันสวยงาม และได้รับการต้อนรับป็นอย่างดีจาก พ.อ.Colonel Than Alarng Win ผู้บัญชาการทหารพม่าในเขตตะนาวศรี ที่มาร่วมมอบของกับคณะเราด้วยตัวเอง

43

รถบรรทุกถ่านหิน ขณะวิ่งข้ามแม่น้ำตะนาวศรีในยามเช้า

44

45

46

47

48

บรรยากาศสบายๆ ยามเช้าที่แม่น้ำตะนาวศรี สดชื่น สวยงาม และเงียบสงบ จนไม่มีใครกล้าคิดว่า นี่คือหนึ่งในฉากการสู้รบระหว่างทหารเมียนม่าร์และชาวกะเหรี่ยง

49

เดินทางข้ามสะพานไม้สู่บ้านทิทะ (Htee Hta)

50

51

ร่วมมอบของที่บ้านทิทะโดยมี  พ.อ.Colonel Than Alarng Win ผู้บัญชาการทหารพม่าในเขตตะนาวศรี มาร่วมมอบขกับคณะเราด้วยตัวเอง

52

53

สาธิต  ยศสง่า บรรณาธิการบริหารจากนิตยสารออฟโรด ถ่ายภาพร่วมกับเด็กๆ ที่บ้านทิทะ

58สาวยสวยชาวทิทะ กับแป้งทานาคา

55

56

57

การจีบหมากและส่วนผสมของหมากพม่าแตกต่างกับหมากไทย คือ นำใบพลูไปทาด้วยปูนสีขาวและผสมนมด้วย  หลังจากนั้นก็ใส่หมาก เครื่องเทศ 4-5 ชนิดซึ่งนำเข้ามาจากทางทิเบต และน้ำหวาน พับพลูเป็นรูปสี่เหลี่ยมพร้อมรับประทาน

59 ความน่ารักและใสซื่อของหนูน้อยชาวทิทะ

61

วัดทิทะ ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในแถบนี้ ปลูกสร้างด้วยศิลปะแบบพม่าสวยงาม

62

เจดีย์ชะเวดากองจำลองที่บ้านทิทะ

หลังจบภารกิจและทั้งหมดก็เดินทางต่อมาจับจ่ายซื้อของที่เขตปลอดภาษี (Duty Free) ของเมียนม่าร์ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็น เหล้า บุหรี่ และเบียร์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างถูกพอสมควร ก่อนจะเดินทางกลับสู่ด่านชายแดนพุน้ำร้อนในช่วงบ่ายของวันนั้น

ถือเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าอีกครั้งหนึ่ง ในการเดินทางสู่ดินแดนที่เคยต้องห้าม ต้นกำเนิดแม่น้ำตะนาวศรีอันยิ่งใหญ่ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในวงล้อมแห่งธรรมชาติ กลางบรรยากาศอันงดงามของน้ำใจไมตรีอันงดงามของชาวบ้าน และแน่นอนว่าพรมแดนมิใช่เครื่องกีดกั้นมิตรภาพของพวกเราเสมอไป

จิตรกร  ถาวร เรื่อง/ภาพ

64

63หนุ่มๆ รุมซื้อของจากแม่ค้าสาวสวยกันอย่างชุลมุนที่ DUTY FREE

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save