ออฟโรดต่างแดน…..ลุยแดนจิ้งโจ้ออสเตรเลียซาฟารี

ผมได้มีโอกาสเข้าไปลุยเส้นทางลูกรังในประเทศออสเตรเลียกว่า 4,000 กม.กับกองทัพรถออฟโรดที่ ไปทำหน้าเซอร์วิสรถแข่งในรายการ Australasian Safari 20114 ครั้งนีัเราจะไม่คุยกันเรื่องแข่งรถ แต่จะเล่าเรื่อง การเดินทางและความเป็นอยู่ในทะเลทรายและป่า Outback ตลอด 10 วันเรานอนกลางดินกินกลางทรายกันอย่างไร

เมื่อมาถึงออสเตรเลียสัมผัสแรกคือความเจริญรุ่งเรืองในเมืองใหญ่อย่างเพิร์ธ ชีวิตผู้คนที่มีความเป็นอยู่ที่ดีมาก ถนนหนทางสะดวกสบายรถไม่ติดเหมือนบ้านเรา แต่ว่าค่าครองชีพแม่เจ้าโวยมันสูงลิบลิ่ว เอาเป็นว่าน้ำขวดละ 3 เหรียญหรือราว ๆ 100 บาท ผักคะน้า กก.ละ 400 บาท แพงกว่าเนื้อสัตว์ซะอีก ถามคุณตุ๊กแก คนไทยที่อยู่ในเมืองนี้ บอกว่า ประเทศออสเตรเลียกว้างใหญ่ไพศาลก็จริง แต่ขาดแคลนน้ำเพาะปลูกผักและต้นไม้ บ้างครั้งรัฐบาลยังต้องประ กาศห้ามล้างรถเพื่อจะเก็บน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอต่อประชากร มิน่าล่ะผักต่าง ๆถึงได้แพงกว่าเนื้อหมูเนื้อวัว

การเดินทางเข้าป่าซาฟารีหรือ Outback จำเป็นอย่างยิ่งที่รถทุกคันจะต้องมีน้ำดื่มในปริมาณที่เพียงพอกับทุก คน ถ้าเราขาดน้ำในดินแดนซาฟารีทุกชีวิตจะไม่รอดกลับไป น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตใน Outback ซึ่งกลาง วันแดดแรงมาก ถ้าใครไปยืนกลางแดดโดยไม่มีร่มไม้หรือขาดการป้องกันผิวจะไหม้ในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง แต่ยาม ค่ำคืนก็จะเจออากาศหนาวเย็นแค่ 10 กว่าองศา ดังนั้นชาวออฟโรดที่ออสเตรเลีย จึงเป็นติดเป็นนิสัยที่จะต้องเตรียมสัม ภาระทุกอย่างให้พร้อมกับการเดินทาง ทั้งที่หลับที่นอน น้ำดื่ม อาหารการกิน และเครื่องป้องกันภัยธรรมชาติ พายุฝุ่น ฝนตกและอากาศร้อนอากาศหนาวสลับไปสลับมาเกือบทุกวัน

ตลอด 10 วันที่กินนอนอยู่ด้วยกัน ผมดูผู้ใช้รถออฟโรด ปิคอัพ – SUV 4×4 และรถบรรทุก 6×6  ที่ประเทศ ออสเตรเลีย มันแตกต่างกับชาวออฟ โรดเมืองไทย รถออฟโรดที่นั่นแต่งมาเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์จริง ๆ ยางล้อใหญ่ๆดอกยาง all terain สำหรับเดิน ทางได้ทั้งไฮเวย์และทางลูกรังระยะทางยาว ๆเป็นพันกิโลเมตร ไม่มีหมู่ บ้านหรือเมืองที่จะจอดพักรถได้เลย วันหนึ่ง ๆเราต้องขับรถลุยทางลูกรัง 500-600 กม. แน่นอนครับ….สภาพรถทุก คันต้องเตรียมมาอย่างดีพร้อมน้ำมันสำรองที่ต้องมีเพียงพอกับจุดหมายปลายทาง ซึ่งกว่า 1,000 กม.เราจึงจะเจอปั๊ม น้ำมันเล็ก ๆ และบางครั้งก็ไม่มีน้ำมันเพียงพอด้วย แผนการเดินทางและการเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับเส้นทางที่พวกเราได้ไปผจญภัยมาครั้งนี้ เริ่มวันแรกจากเมืองเพิร์ธ (Perth) เดินทางยามค่ำคืนกว่า 400 กม.บนถนนลาดยางมุ่งหน้าขึ้นเหนือของภาคตะวันตกออสเตรเลีย (WA Werstern Australia) เป็นทางลาดยางทั้ง หมดนาน ๆจะมีรถบรรทุกยาว ๆ truck train สวนทางมาบ้างเป็นระยะๆ แต่สิ่งต้องระวังมากที่สุดคือ ‘จิ้งโจ้’ ที่มีมาก มายหลายล้านตัว เราจะเห็นรถยนต์ในออสเตรเลียใส่กันชนบูลล์บาร์เพื่อป้องกันชนกับเจ้าจิงโจ้โดยเฉพาะ กว่าจะถึง เมืองเกอรัลด์ตัน เราก็เจอกับจิ้งโจ้วิ่งข้ามทาง 4-5 จุด ส่วนมากก็ไม่ค่อยมาเดี่ยวซะด้วยไม่เป็นคู่ก็มีเป็นฝูง

วันที่สองของการเดินทางจากเมืองเกอรัลด์ตัน เข้าทางลูกรังล้วน ๆไปยังจุดพัก เมอร์ชิสัน โอเอซีส (Merchison) ระยะทางเกือบ 500 กม. เราเจอทั้งพายุฝุ่นที่บางครั้งต้องจอดรถเนื่องจากมองทางไม่เห็น และต้องทิ้งระยะให้ห่างกัน พอสมควรเนื่องจากฝุ่นหนา พอตกเย็นค่ำฝนก็เทลงมาตลอดคืนต้องนอนในเต๊นท์หนาวสั่น และต้องหาจุดกางเต๊นท์ใน ร่มหลังคาอะไรก็ได้ที่พอมีที่ซุกหัวนอน บางคนก็นอนใต้ท้องรถอย่างอึดอัดเป็นค่ำคืนที่แสนจะทรมานที่ต้องจดจำกัน ไปอีกนาน และที่ Merchison Oasis แห่งนี้มีเพียงแห่งเดียวในป่าซาฟารี Outback ซึ่งมีแหล่งน้ำ น้ำดื่ม น้ำอาบ ร้านกาแฟ และปั๊มน้ำมัน เลยไปกว่านี้อีกกวา 2,000 กม.ก็ไม่มีให้เห็นอีกแล้วที่นี่จึงเป็นจุดพักรถค้างแรมที่โด่งดังของ นักเดินทางออฟโรดรู้จักกันดี

วันที่สามเราออกจากเมอร์ชิสันขึ้นเหนือไปจุดชุมทาง Gascoyne Junction ลุยลูกรังอย่างเดียวกว่า 600 กม.

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save