หลับใน 4 วินาที เคลื่อนที่ 100 เมตร

รู้หรือไม่ว่าอาการหลับในในช่วงเวลาขับรถ คือการเกิดการเกิดอุบัติเหตอันดับสองรองจากเมาแล้วขับ!!!

อุบัติเหตุที่เกิดจากการหลับในค่อนข้างรุนแรงมาก เพราะคนหลับในไม่มีสติ ไม่รู้ตัว จึงไม่มีการหักหลบหรือเหยียบเบรกแต่อย่างใด เช่น คนที่อดนอนทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ จะมีอาการเหมือนคนที่มีแอลกอฮอล์ในร่างกายถึง 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่สามารถตรวจเช็คค่าวัดออกมาได้เพราะเป็นอาการทางร่างกายที่แสดงความเหนื่อยล้า จนเกิดอาการสลึมสลือ ฟื้นตัวให้กลับมาสดใสได้ยาก
แล้วรู้อีกหรือไม่ว่า…เพียงแค่ระยะเวลา 3-5 วินาที ที่วูบหลับขณะขับรถ จะทำให้รถที่ปราศจากการควบคุมสามารถวิ่งได้ระยะทางกว่า 100 เมตร ซึ่งเป็นอัตราเสี่ยงต่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงสูงสุด

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง เรามาสังเกตอาการหลับในผู้ขับรถกันเถอะว่า มีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือเปล่า เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียบนท้องถนนทั้งตัวเราและเพื่อนร่วมทาง

1.ขับรถกระตุก เป็นผลสืบเนื่องมาจากอาการข้างต้น กล่าวคือ คนขับรถที่ง่วงจะพยายามฝืน เมื่อตอนง่วงจัดเกือบหลับ เท้าเหยียบคันเร่งจะแผ่ว พอรู้สึกตัวจากภวังค์ จะรีบกดปลายเท้าขวา คันเร่งน้ำมันถูกเหยียบ รถจะพุ่งไปข้างหน้าทันที ทำให้รถถูกกระชากด้วยความเร็ว ถ้าท่านนั่งรถแล้วรู้สึกอย่างนี้ต้องระวังให้ดี

2.ขับรถช้าลงทั้งๆ ที่มีโอกาสจะขับเร็วได้ เหตุผลอธิบายก็คือ เมื่อมีอาการง่วง น้ำหนักกดที่ปลายเท้าขวาซึ่งจะเหยียบคันเร่งน้ำมันก็จะเบาลง เมื่อน้ำหนักเท้าเบา ความเร็วรถก็จะช้าลง

3.สังเกตดูตาผู้ขับ ให้ชำเลืองมองจากกระจกมองหลัง จะเห็นว่าหนังตาบนจะค่อยๆ ตกลงมาหรือเปล่า และเจ้าตัวพยายามเบิกหนังตาบนขึ้นหรือไม่

4.กะพริบตาบ่อยๆ หรือพยายามสะบัดหัวไปมา

5.ขับขี่รถไม่ค่อยตรงทาง เริ่มเฉออกด้านข้างนิดหน่อยแล้วดึงรถกลับทางเดิม ถ้าผู้ขับรถที่ท่านนั่งไปอยู่ในลักษณะนี้ พึงเข้าใจว่า คนขับรถของท่านร่างกายอ่อนเพลีย เริ่มหย่อนความสามารถในอันที่จะขับแล้ว รีบหาทางแก้ มิฉะนั้นอาจไปไม่ถึงปลายทาง แต่ได้แวะไปโรงพยาบาลก่อนเพราะเกิดอุบัติเหตุ

6.พูดน้อยลง หรือไม่ยอมพูดจา ถ้าพูดก็จะพูดช้า นานๆคำ

7.ห้ามถามคนขับรถว่า “ง่วงหรือเปล่า” เพราะคนขับร้อยทั้งร้อยจะบอกว่า “ไม่ง่วง” ต่อให้ง่วงจะตายก็จะปากแข็ง ดังนั้นให้ชวนคนขับจอดรถข้างทางหรือแวะเข้าปั๊ม โดยท่านอ้างว่าจะเข้าห้องน้ำ แล้วชวนคนขับลงไปด้วย ให้ผู้ขับได้เปลี่ยนอิริยาบถ หาผ้าเย็นเช็ดหน้า โดยท่านเช็ดหน้าท่านนำก่อน

วิธีป้องกันการหลับใน

1.นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่อดนอนติดต่อกันหลายวัน จะเกิดภาวะง่วงนอนสะสม ทำให้สมองทำงานช้าลง และวูบหลับในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นหลับในได้

2.ไม่ทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท  เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก เป็นต้น เพราะจะทำให้มีอาการง่วงนอนในขณะขับขี่

3.งดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะผู้ที่อดนอนเพราะจะกระตุ้นให้เกิดอาการหลับในอย่างฉับพลัน

4.หลีกเลี่ยงการขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะการนั่งรถขับเป็นเวลานานทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียจนเกิดอาการหลับในได้

5.ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง การขับรถในลักษณะเอนที่นั่งกึ่งนอนขับ จะเร่งให้ผู้ขับขี่ง่วงนอนง่ายขึ้น ควรปรับท่านั่งให้ถูกต้อง ไม่เอนมากเกินไป จะช่วยให้เกิดการตื่นตัวและกระฉับกระเฉงมากขึ้น

6.วางแผนก่อนการเดินทางไกล ควรมีเพื่อนร่วมทาง เพื่อชวนคุยหรือปรับเปลี่ยนกันขับรถ หากไม่มี ให้หยุดพักรถทุกระยะ 150 กิโลเมตร หรือทุก 2 ชั่วโมง เพื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถ จะช่วยคลายอาการง่วงนอนได้

นอกจากนี้เรายังมีทริกวิธีการแก้ไขการหลับในหรือง่วงขณะขับรถสำหรับท่านที่ต้องการเดินทางจริงๆ เริ่มด้วย การเปิดหน้าต่างให้แรงลมปะทะใบหน้า เปิดเพลงดังๆ จังหวะเร็วๆ และร้องตาม ดื่มน้ำ จิบกาแฟ ทานของขบเคี้ยว ใช้เล็บจิกปลายนิ้วก้อย และจอดพักในบริเวณที่ปลอดภัย เช่น ปั๊มน้ำมัน จุดพักรถริมทาง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการหลับใน

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save