สงกรานต์สีที่อินเดีย

1

เทศกาลสงกรานต์ในแถบเอเชียนั้น ที่รับรู้กันจนกว้างขวางก็คือ ในบ้านเราที่เดี๋ยวนี้พอถนนข้าวสารเป็นที่รับรู้กันของนักท่องเที่ยวต่างชาติว่า เป็นสงกรานต์ที่สนุกสนานเพียงไร เดี๋ยวนี้แต่ละจังหวัดก็พลอยลอกกันไป เป็นงานสงกรานต์สารพัดข้าว จังหวัดไหนมีอะไรดีก็เอามาต่อชื่อถนนที่เขาจัดงานสงกรานต์ กรุงเทพมีข้าวสาร  ที่อื่นก็มี ถนนข้าวเหนียว ถนนข้าวปุ้น  ถนนข้าวจี่  ถนนข้าวก่ำ ถนนข้าวเม่า ถนนข้าวตอก ได้ข่าวแว่วๆ ว่าบ้านผมที่เพชรบุรี ทำถนนข้าวแช่กับเขาด้วย

2_resize

นอกจากบ้านเรา ประเทศที่นับถือศาสนาพุทธก็มักจะมีประเพณีนี้ วัตถุประสงค์ตอนเริ่มแรกก็คล้ายๆ กันทั้งที่ลาว พม่า กัมพูชา ลาว แต่ไหงปี 57 ที่ผ่านมา ได้ข่าวว่าสิงคโปร์จะจัดงานสงกรานต์ซะอย่างงั้น ที่อินเดียต่อกับทางเนปาล เขามีประเพณีคล้ายๆสงกรานต์ในบ้านเรา บ้านเราวันสงกรานต์นี่คือ การใช้น้ำหยด หยอด จนตามมาถึงสาดกัน ที่อินเดียวเขาใช้สีครับ เริ่มตั้งแต่ค่อยๆ แต้มให้กันพอติดสี มาจนถึงขนาดป้าย และสาดใส่กันเหมือนกัน เขาเรียกว่าเป็นเทศกาลโฮลี่ Holy ที่แปลว่าศักดิ์สิทธิ์ นี่แหละ จะเรียกว่าเป็นเทศกาลของการป้ายสีหรือสาดสีก็ไม่น่าจะผิด

3_resize

4_resize

ปีที่ผมไปเห็นมา เขาจัดวันที่  27-28 มีนาคม  2556  เรียกว่าเป็นงานหลักๆ  แต่บางพื้นที่ก็เล่นเลยเถิด ลามไปจนถึงวันที่ 30 ก็มี ซึ่งงานเขาในแต่ละปีก็ไม่ตรงกัน เข้าใจว่าคงมีการนับวันจัดงานที่ไม่ใช่ทางสุริยคติ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นช่วงต่อฤดูกาลระหว่างการสิ้นสุดหน้าหนาวจะเข้าหน้าแล้ง(ราวปลายเดือนมีนาคม) เป็นประเพณีของคนที่นับถือฮินดูเขา จะว่าเป็นการเฉลิมฉลองหรือจะว่าเป็นปีใหม่ในทางศาสนาเขาเลยก็ว่าได้  เส้นทางที่ผมเดินทางไปทั้งในอินเดีย และเนปาล ( บางครั้งในปากีสถานบางเมืองที่นับถือฮินดู ก็มีการเฉลิมฉลองนี่เช่นกัน) กำลังเข้าสู่เทศกาลโฮลี่พอดี  ผมไปถึงเมืองเสาโนรี ของอินเดีย กำลังจะข้าไปเมืองสิดดานาทากา ของเนปาล   ก็เป็นช่วงที่ฮินดูสองประเทศนี้ทั้งสองเมืองนี้กำลังสนุกสนานไปด้วยสงกรานต์สีอย่างพอดิบพอดี

5_resize

6_resize

ที่ผมบอกว่าเหมือนวันสงกรานต์ก็คือ เขาจะมีขบวนแห่เทพเข้าใส่เสลี่ยงไปรอบๆ เมืองก่อน มีเครื่องดนตรี ตีนำหน้าขบวน ถ้าเป็นบ้านเราก็คงเป็นกลองยาว แตรวงมีคนรำเชิ้บๆนำหน้าไป  แต่ที่นั่นเหมือนไม่เห็นคนรำ   พอสายๆ สักหน่อย สงครามสีก็จะเริ่มขึ้นละ ตามหน้าบ้านก็จะมีวงนั่งดื่ม-กิน(ซึ่งไม่รู้ว่าดื่มอะไร)กันหน้าบ้าน แล้วก็เอาสีป้ายใส่กัน ใครผ่านไปผ่านมาก็เอาสีป้าย ที่สนุกหน่อยก็เอาขึ้นไปบนบนบ้าน สาดน้ำสีลงมาก็มี  สีที่ป้ายใส่กันก็มีทั้งสีเขียว สีแดง สีม่วง สีเหลือง เขียว สีโทนสดๆ เอามาใช้ได้หมด จนถึงขนาดตั้งด่านขวางถนนรถยนต์ผ่านไปผ่านมาก็จะต้องถูกป้ายสีใส่ ไม่ก็ต้องบริจาค รถมอเตอร์ไซค์อะไรผ่านไปนี่ไม่มีรอด สีที่ป้ายได้ก็ป้าย สีที่เป็นฝุ่น เป็นผงพวกก็เอาซัด ปาใส่กัน แล้วคนอีนเดียที่ตัวดำๆ มีหนวด หน้าโหดๆๆ เวลาใบหน้ามีสารพัดสีที่เลอะเทอะอยู่บนหน้านี่ อย่าได้เห็นตอนกลางคืนเด็ดขาด สยองเชียวละ

14_resize

15_resize

แล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาทำไปทำไมกัน แล้วทำไมถึงต้องเป็นสี จนมาหาข้อมูลจึงพอได้ความมาว่า  มันมีเรื่องในตำนานของฮินดูว่ามีอสูรตัวหนึ่ง อสูรตนนี้ได้รับพรจากพระพรหม ให้เป็นอมตะ ไม่มีใครฆ่าตายได้  พออสูรรู้ตัวแบบนี้ก็เหลิง ไม่กลัวใคร ทำอะไรก็ได้ ไม่ตายนี่นา ใครๆ ก็ต้องมาซูฮกพินอบพิเทา ต้องมาบูชาตน แต่ลูกของอสูรเองกลับไปบูชาพระวิษณุ แทนที่จะบูชาพ่อตน อสูรก็โกรธ ด้วยความเหลิง หลงตนเอง ก็เลยคิดฆ่าลูกที่ไม่บูชาตน ครั้นจะฆ่าเองก็เกรงเขาจะครหา บังเอิญอสูรตัวนี้มีน้องสาวชื่อ Holica ที่ได้รับพรวิเศษว่าไฟไม่อาจทำร้ายเธอได้ เจ้าอสูรนั่นเลยให้น้องสาวหลอกลูกชายให้เข้ากองไฟไปด้วยกัน ซึ่งผมก็สงสัยว่า เจ้าลูกชายนี่ก็เซ่อบรมเซ่อ เขาหลอกไปตาย หลอกเข้ากองไฟก็เชื่อไปหมด ปรากฏว่านาง Holica ที่คิดไม่ดี กลับถูกไฟเผาตายแต่ลูกชายอสูรรอด ซึ่งเหมือนเขาจะสอนว่าผู้ใดยึดมั่นบูชาความดีก็จะอยู่รอดปลอดภัย ใครหลงใหลยกย่องบูชาคนเลวก็จะต้องพบความหายนะอะไรประมาณนี้แหละ ชื่อ Holy จึงมาจากชื่อของนาง Holica ที่มีแผนชั่วต้องการทำลายความดี งานเทศกาลเขาจึงมักเริ่มด้วยการจุดกองไฟเพื่อเผาปีศาจให้ตายก่อนแล้วจึงเล่น สาดสี ป้ายสีกัน

16.เมือง kumpur ทางไปลักเนาว์_resize
17_resize

สีที่ป้ายกันนั้นจะเป็นสีที่ทำจากสมุนไพร ถ้าใครเดินทางไปอินเดียหรือเนปาลในช่วงนี้ ตามตลาด ข้างทาง จะเห็นกองสีเหล่านี้ เอามาวางขายกันตามพื้น ตามร้านเต็มไปหมด เหมือนจะบอกว่า เทศกาลวันโฮลี่ ใกล้จะมาแล้ว เหมือนบ้านเรามีเสื้อลายดอก มีปืนฉีดน้ำมาวางขาย   แน่นอน สงกรานต์จะมาถึงแล้ว

18._resize

19_resize

ในช่วงนี้ ไปเมืองไหนในอินเดีย ก็เห็นแต่คนที่เลอะเทอะไปด้วยสี หน้าตามอมแมมบางที่ผมว่านะจะมีดื่มเหล้าด้วยนะ เห็นตามชนบทมีเป็นกลุ่มๆ เอาเชือกมากั้นถนน ขอบริจาคอย่างที่บอกไป แต่ไม่รู้ว่าเลยเถิดจนถึงขนาดตีกันเหมือนสงกรานต์บ้านเราหรือเปล่า แต่เท่าที่ไปเห็นมานั้นมันไม่น่าพิศมัยเอาซะเลย ผมว่าออกจะเลอะเทอะไปหน่อย แต่อย่างว่าแหละครับว่า เริ่มต้นไม่ใช่การเอาสนุกสนาน หากแต่เป็นความเชื่อทางศาสนา การละเล่นเฮฮาแค่ตามมาทีหลัง

20

ไปเห็นที่อินเดีย เนปาล มีสงครามสี  มาบ้านเรามีสงครามน้ำ ผมว่าเหล่านี้ดูสร้างสรรค์ดี ไม่มีใครตาย(อย่างน้อยก็ตอนที่เล่น) แต่สงครามจริงๆ ที่สาดกระสุนใส่กันนั้นนอกจากจะไม่สร้างสรรค์แล้วยังเป็นการทำลายด้วย  ไม่รู้ว่าสงครามที่สร้างความรัก ความเชื่อ ความศรัทธาเป็นเช่นไรให้ไปที่อินเดียว แต่ถ้าอยากชุ่มฉ่ำเย็นทรวงก็ต้องมาที่ไทย รับรองไม่มีใครตาย มีแต่ความรื่นรมย์…

……………………………………

ขอขอบคุณ บ.ควอลิตี้เอกเพลสผู้ชำนาญการเดินทางออกท่องโลกอย่างเข้าถึงจริงๆ  www.qetour.com  โทร.02-511-3000

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย นิตยสาร ออฟโรด : www.grandprix.co.th/offroadmagazine
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์  รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ไดที่ www.grandprix.co.th

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save