ย้อนรอยตำนานโรงพักโบราณเสาหิน กลางป่าสาละวิน อ.แม่สะเรียง

 14_resize

เหล่าพี่ๆ น้องๆ คงเคยได้ยินเรื่องราวชีวิตครูดอยในถิ่นทุรกันดารความยากลำบากในพื้นที่และบางครั้งก็มีกลุ่มจิตอาสาจัดโครงการไปมอบอุปกรณ์การเรียนการสอนมอบของเครื่องนุ่งห่มในช่วงฤดูหนาว

แต่ครั้งนี้จะพาไปรู้จัก ตำรวจดอย 1 เดียวในประเทศซึ่งไม่ใช่ ตำรวจตระเวนชายแดน เพราะที่นี้คือ สภ.เสาหิน โรงพักในป่าสาละวินแห่งเดียวในประเทศไทย  ในบรรยากาศช่วงปลายฝน ต้นหนาว เส้นทางการคมนาคมในถิ่นทุรกันดารหลากหลายแห่งนั้นของเมืองไทยนั้นบางแห่งการเดินทางค่อนข้างจะลำบาก แต่ถ้าเทียบกับดินแดนไกปืนเที่ยงอย่างตำบลเสาหิน ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองแม่สะเรียงกว่า 90 กิโลเมตร ยังจะเทียบกันลำบาก หากไม่นับฐานที่ตั้งของบรรดาตำรวจตระเวนชายแดนเสียแล้ว

19_resize

เส้นทางการคมนาคมเข้าสู่โรงพักเสาหินนั้น เต็มไปด้วยความยากลำบาก นั่นเพราะต้องข้ามลำห้วยประมาณ 78 ครั้ง บางช่วงต้องเดินทางไปตามลำห้วยซึ่งเต็มไปด้วยโขดหินขนาดใหญ่ สำหรับการเดินทางนั้นต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง และมีข้อแม้ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ต้องเป็นเพียงรถยนต์ออฟโรดเท่านั้น และถ้าเป็นช่วงฤดูฝนอาจจะต้องใช้เวลาถึง 3 วันเต็มๆ

16_resize 17_resize

ในขณะที่บางครั้งต้องรอให้น้ำป่าลดลงก่อน และบางครั้งรถยนต์ออฟโรดก็เดินทางไปได้แค่บ้านโพซอเท่านั้น จากนั้นต้องเดินเท้าทางเดินเท้าต้องใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง ระยะทางในลำห้วยประมาณ 38 กิโลเมตร นับว่าเป็นเรื่องที่น่าลำบากมากสำหรับผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่เข้าไปดูแลความสงบและเรียบร้อยของชาวบ้าน

18_resizeทางพี่ๆ น้องๆ ร่วมอุดมการณ์ออฟโรดของเรามองเห็นถึงความยากลำบากของเส้นทางนี้ และการเดินทางเข้า-ออกเพื่อปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานในถิ่นทุรกันดาร จึงคิดหาวิธีการที่พอจะช่วยบรรเทาความลำบากให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ปรึกษาผู้หลักผู้ใหญ่สายเหนือ ทั้งลุงแดง(อาทิตย์ คำเรืองฤทธิ์) และลุงหิน เอ้าดอร์ และได้ข้อสรุปว่า เราจะเปิดรับบริจาคเงินเพื่อสมทบทุนซื้อวินช์เพื่อนำไปมอบและติดตั้งให้รถเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำ สภ.เสาหิน ซึ่งหลังการที่ได้รับเงินบริจาค ทางผมเองจึงได้ประสานกลุ่มเพื่อนพี่น้องออฟโรด สายเหนือ เพื่อดำเนินการเข้าไปยัง สภ.เสาหินในช่วงหน้าน้ำหลาก

22_resize 24_resize

แต่ด้วยหลายๆ กลุ่มก็ต่างติดภารกิจ ทางทีมงานเลยกำหนดว่าเราจะนำไปมอบในวันที่ 13 ตุลาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันตำรวจ ภารกิจจึงเกิดขึ้นท่ามกลางความ เป็นห่วงหลายๆ ฝ่ายเพราะการเข้าไปยัง สภ.เสาหินช่วงนี้ถือว่ายังเสี่ยงที่จะเจอกับน้ำป่า เพราะยังเป็นช่วงที่มีฝนตกอยู่เส้นทางมีดินสไลน์เป็นแห่งๆ และบ้างช่วงก็มีหินลอยโผล่ขึ้นมาอยู่หน้าดิน แถมยังคมพอที่จะบาดยางให้แตกได้ในพริบตา ทีมงานจึงไปติดต่อไปยัง พ.ต.ท.สมเพชร พันกับ หน.สภ.เสาหิน ซึ่งดูแลในพื้นที่คอยสอบถามอยู่ตลอดว่า ช่วงนี้มีฝนตกชุกมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการเดินทาง คำตอบที่ได้จากสารวัตรคือ ก่อนหน้านี้ยังไม่มีฝนตกมา 3-4 วัน สภาพเส้นทางคงจะดีขึ้นและท่านยังบอกว่า จะร่วมขบวนไปส่งกับพวกเราด้วย

21_resizeเช้าตรู่วันที่10 ตุลาคม 2556 ผมได้รับการติดต่อจาก เพื่อนๆกลุ่ม “ดอยหล่อออฟโรด” เชียงใหม่ ว่าจะร่วมอาสาเข้าไปมอบวินช์และอุปกรณ์เครื่องปั่นไฟ จึงตกลงกันว่าเราจะไปเจอกันที่ปั้มน้ำมัน ปตท.แม่สะเรียง ดังนั้นในช่วงเช้าของวันที่ 12 ตุลาคม 2556 สภาพท้องฟ้าแจ่มใส…ถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับพวกเรามาก

เวลาประมาณ 9.30 น. ผมก็พบกับสมาชิกชาวดอยหล่อ ที่จะไปร่วมทริปในครั้งนี้จำนวน 2 คัน ประกอบด้วย น้าเอด นำคาริเบี้ยนเครื่อง 3s-gte ช่วงล่าง78 รถเทพแห่งท่าธาร และนายเจม ตีนระเบิด เอา ln106  คันเก่งพร้อมลุยในทริปนี้ และ สำหรับผมแล้วทริปนี้ ลุ้นมากเพราะนำสปอร์ตไรเดอร์เดิมๆ เข้ามาลุยดู

26_resizeพวกเราเริ่มล้อหมุนออกจาก อ.แม่สะเรียงในช่วงสายๆ โดยใช้เส้นทางผ่านเส้นทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน มุ่งหน้าไปยังโรงเรียนบ้านโพซอ สำหรับการเข้าเส้นทางนี้ต้องผ่านการขออนุญาต จากเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์ป่าก่อนนะครับว่า จะเข้าไปกี่วันนอนกี่คืน ต้องลงรายละเอียดให้เรียบร้อย ซึ่งทางกลุ่มได้ประสานงานเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้าไว้แล้วจึงไม่มีปัญหาอะไร ถึงผมมักปฏิบัติกันจนเป็นประเพณีเช่นนี้มาตลอด เนื่องจากเราความค่อนข้างให้เกียรติกับสถานที่เป็นอันดับแรกๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา และก็เข้าใจการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง

20_resizeสำหรับที่หมายแรกในการเดินทางวันนี้คือ นำเครื่องปั่นไฟซึ่งได้รับบริจาค จากน้าทอม  (ชัยโรจน์ โลจนะรุ่งสิริ) ต้องขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ  ตลอดการเดินทางนั้นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะ เส้นทางถือว่าอันตรายมากซ้ายเหว ขวาเป็นหน้าผา ครั้งนี้โชคดีที่ทาง อบต. เสาหิน เข้ามาปรับผิวถนนตรงบริเวณที่ดินสไลด์ทำให้เราวิ่งผ่านช่วงบริเวณนั้นไปแบบไม่ลำบาก…แต่ก็ต้องค่อยระวังหินแหลมคมที่โผล่เป็นกับดักอยู่เกือบตลอดทาง เราใช้เวลาเดินทางมากว่า 2 ชั่วโมง ก็ยังไม่ถึงบ้านโพซอ จนสุดท้ายก็ต้องจอดพักรับประทานอาหาร ณ หน่วยพิทักษ์ป่าแม่เหลอ และได้ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าเราวิ่งมากี่กิโลเมตร คำตอบที่ได้คือ เราวิ่งจากปากทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถึงจุดนี้แค่ 23 กิโลเมตรเอง เหลือระยะทางอีกกว่า 16 กิโลเมตร จะถึงบ้านโพซอ เป้าหมายแรกของเรา จากนั้นหลังจากรับประทานอาหารเสร็จเราจึงรีบเดินทางกันต่อ เพราะการเดินทางกลางคืนนั้นไม่เป็นผลดีกับพวกเราเลย เพราะถ้าถึงบ้านโพซอจากนี้ไปจะเป็นความลำบากของจริงคือ การวิ่งในลำห้วยยาวกว่า 38 กิโลเมตร วิ่งไปสักพักเราก็ไปถึงโรงเรียนบ้านโพซอประมาณบ่ายสองโมง จึงได้รีบส่งมอบเครื่องปั่นไฟให้กับทางผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโพซอ จากนั้นจึงได้รีบเดินทางกันก่อน

แผนที่_resizeเพราะจากนี้เส้นทางโหดๆในลำห้วยก็เริ่มขึ้น-ลงห้วยแรกซึ่งเป็นทางเก่า น้าเอดก็ลองเอา คาริเบี้ยนคันเก่งวิ่งทดสอบร่องน้ำในลำห้วยผลก็คือ ปั่นจนจมทราย เพราะอย่างที่ทราบกันดีนั่นแหละครับ ยางตะขาบกับทรายใต้น้ำนั้นเป็นของสะแลงไม่ถูกกันจริงๆ จึงได้นำเจ้ารถนายเจมตีนระเบิดมาช่วยเป็นหลักวินช์ และช่วยกันวินช์ขึ้นมา ได้ไม่มีปัญหา แต่คราวนี้เจ้า 106 คันเก่งกับมาติดบ้าง จมทรายซะเองเลยต้องวินช์ช่วยตัวเองขึ้นมาอีกรอบ ครั้งนี้ทำให้เราเข้าใจถึงว่า ยางตะขาบนั้นไม่เหมาะมาวิ่งในลำห้วยที่เป็นทราย เราขับต่อมาได้อีกไม่ถึง  5 กิโลเมตรแถวๆบ้านแม่เจซึ่งเป็นหมู่บ้านแรกในเส้นทางนี้  รู้สึกว่ารถมีอาการส่ายแปลกพิกล ลงมาดูยางรถเจ้ารถสปอร์ตไรเดอร์ด้านหลังซ้าย ก็รั่ว..งานเข้าเพราะไม่ได้ติดยางอะไหล่ไปด้วย โชคดีจึงยืมยางอะไหล่รถเจ้าหน้าที่ตำรวจใส่แก้ขัดไปก่อน เสียเวลาตรงจุดนี้ไปราวๆ ครึ่งชั่วโมงพวกเราจึงรีบเดินทางกันต่อ

ภาพเปิด_resizeสภาพเส้นทางเริ่มเข้าสู่ ป่าหินไม่สามารถทำเวลาได้เลย ข้ามลำห้วย แม่เจไปเรื่อยๆ ข้ามอยู่หลายครั้งหลายรอบ ลึกบ้างตื้นบ้าง บางทีต้องลงมาดูเพราะรถคันนำคันแรกยังโชคดีที่สามารถมองเห็นก้อนหินใต้น้ำ แต่คันที่ตามหลังมาต้องมีคนคอยลงรถไปสำรวจว่าใต้น้ำนั้น มีก้อนหินขวางทางหรือไม่ พวกเราวิ่งไปเรื่อยๆ แข่งกับดวงตะวันที่กำลังจะเริ่มลับขอบฟ้า จนเข้าเขตบ้านสล่าเจียง เริ่มเข้าสู่จุดข้ามห้วย บริเวณน้ำลึก 3-4 จุด ลึกขนาดที่ว่า มอเตอร์ไซค์ของชาวบ้านไม่สามารถข้ามตรงบริเวณนี้ได้ ลองนึกเอานะครับว่าระดับความลึก มิดยางตะขาบ 35 นิ้ว  แต่พวกเราวิ่งไปถึงบ้านสล่าเจียงตองโดยไม่มีปัญหาอะไร และเมื่อเสร็จสิ้นการข้ามน้ำสิ่งแรกที่ต้องปฎิบัติคือการไล่น้ำออกจากผ้าเบรก โดยทำการเบรกย้ำหลายๆ ครั้ง จนสามารถหยุดรถได้ตามปกติและไม่มีเสียงครืดๆ อีก ความร้อนจะทำให้น้ำระเหยออกจากผ้าเบรกจนหมด  จากนั้นเราก็วิ่งเข้าสู่บ้านเสาหินซึ่งอยู่ห่างกับบ้านสล่าเจียงตองใช้เวลา ประมาณ10 นาที

พวกเราก็ถึงที่หมาย ณ สภ.เสาหิน ประมาณ17.30 น. ใช้เวลาในการเดินทางร่วม 6 ชั่วโมง กับระยะทาง 90 กิโลเมตร หลายคนแยกย้ายไปกางเต็นท์ ช่วยกันเตรียมทำอาหารไว้เลี้ยงชาวบ้านวันพรุ่งนี้ สำหรับทริปนี้ถือว่าเป็นอีกทริปเล็กๆ แต่แฝงเอาไว้ด้วยความอบอุ่นด้วยมิตรภาพ และการได้ร่วมกันทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยตรง

ประวัติตำรวจภูธรเสาหิน

ใส่ประวัติ 1_resize

สถานีตำรวจภูธรเสาหิน ตั้งอยู่ที่บ้านเสาหิน หมู่ 1 ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จว.แม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ 8 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2470 ก่อนที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เป็นเวลา 5 ปี ในระยะแรกของการก่อตั้งสถานีฯ นั้น สภ.เสาหิน อยู่ในปกครองของ สภ.แม่สะเรียง โดยมีวัตถุประสงค์ ในการป้องกันการรุกรานของข้าศึกภายนอกประเทศเป็นหลัก และให้การคุ้มครองพ่อค้า ที่ไปค้าขายตามแนวชายแดนอีกด้วย ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนแต่อย่างใด ซึ่งเราจะสังเกตว่า สถานีตำรวจในยุคนั้นประกอบด้วย สภ.ท่าตาฝั่ง, สภ.เสาหิน, สภ.น้ำเพียงดิน ซึ่งเป็น สภ.ที่ก่อสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ก็เป็นหน่วยที่ตั้งอยู่แนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ มีวัตถุประสงค์ในการปกป้องชายแดน เป็นหลักนั้นเอง

จนกระทั่ง ปี 2550 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ยกฐานะสภ.เสาหินฯ ให้มีหัวหน้าสถานีเป็นระดับสารวัตรและมีอำนาจสอบสวนด้วย ปัจจุบัน พ.ต.ท.สมเพชร พันกับ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถานี เป็นลำดับที่ 24 จุดน่าสนใจของ สภ.เสาหินฯ คือ ตัวอาคารที่ทำการเดิมของ สภ.เสาหินฯ ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี แต่ยังคงสภาพที่มั่นคง แข็งแรงอย่างเดิม ลักษณะเป็นไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนต่ำ หลังคามุงด้วยสังกะสี รอบตัวอาคารมี บังเกอร์เป็นท่อนไม้ เจาะช่องยิงต่อสู้รอบตัวอาคาร ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็พยายามที่จะรักษาสภาพเดิมๆ ของตัวอาคารไว้ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปมาก และยังคงเป็นไฮไลท์ ของ สภ.เสาหินฯ ที่นักท่องเที่ยว หากได้เดินทางไป ตำบลเสาหิน ก็ไม่ควรพลาดที่จะไปถ่ายรูปคู่กับอาคารหลังนี้

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save