มารู้จัก !! ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อกันเถอะ
ปัจจุบันนี้รถกระบะ รถเอสยูวี รถพีพีวี มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลากหลายประเภทให้เราเลือกใช้ แถมมันยังใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่สุดยอด จนทำให้การขับขี่บนเส้นทางออฟโรดกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นเยอะ ทำให้หลายคนสนใจหันมาเล่นรถออฟโรดกันมากขึ้น ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ขับที่ต้องการการยึดเกาะถนนสูงสุดและศักยภาพการขับขี่บนทางออฟโรด แบ่งประเภทการทำงานได้ 3 แบบ ดังนี้
- แบบพาร์ทไทม์ (PART TIME)
ส่วนมากจะอยู่ในกระบะ, PPV, SUV ที่เป็นรุ่นสูงสุด 4WD เพราะระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบนี้ ออกแบบมาให้ใช้วิ่งในสภาพเส้นทางทุรกันดาร เพื่อให้สามารถผ่านอุปสรรครูปแบบต่างๆ ได้สบายๆ โดยระบบส่งกำลังของระบบนี้ จะแบ่งออกได้อีก 2 แบบ คือ PART TIME HIGH (4H) และ PART TIME LOW (4L) โดยระบบนี้ผู้ขับสามารถเปลี่ยนระบบการขับเคลื่อน 2 ล้อ (4X2) เป็นขับเคลื่อน 4 ล้อได้ (4X4) ตามสภาพถนน แต่ระบบขับสี่จะเพิ่มอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น จากการส่งกำลังกระจายไปทั้ง 4 ล้อ เมื่อต้องการใช้ระบบ 4WD อาจจะต้องระวังเรื่องการใช้ความเร็ว หรือเปลี่ยนระบบด้วยความเร็วไม่เกินที่กำหนด หากใช้ระบบอัตราทดต่ำร่วมด้วย ต้องให้รถจอดหยุดนิ่งแล้วเปลี่ยนโหมด
- แบบฟูลไทม์ (FULL TIME)
ระบบนี้มักจะประจำการในรถที่เป็น 4WD มาแต่กำเนิดส่วนมากมันจะอยู่ในรถเก๋งซะมากกว่านะครับเพราะ มันเน้นสมรรถนะ ไม่เน้นลุย ซึ่งมันไม่สามารถเปลี่ยนระบบส่งกำลังได้หรือเรียกง่ายๆขับเคลื่อน 4 ตลอดเวลานั้นเอง แน่นอนสมรรถนะการขับขี่มันดีสุดยอด แน่น หนึบ สบายไร้กังวล แต่ก็มีข้อเสียคือ อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่สูง หรือมันกินน้ำมันนั้นเอง
- ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ บางเวลา แบบอัตโนมัติ เรียลไทม์ ( REAL TIME )
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ลักษณะนี้ ถูกออกแบบมาใช้ในถนนที่ไม่สมบุกสมบันมากนัก ส่วนใหญ่ระบบขับเคลื่อนหลัก จะเป็นล้อคู่หน้า การทำงาน คือ ถ้าล้อหลังล้อใดเกิดการหมุนในความเร็วที่ต่างกัน (รถเกิดอาการลื่นไถล) เพลากลางจะหมุนฉุดปั๊มแรงดันขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าแรงดันสูงมากพอ จนทำให้แผ่นคลัทช์จับกับเพลาหลังของรถ จะทำให้ระบบส่งกำลังมาที่ล้อหลังกลายเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่สมบูรณ์ แต่เมื่อใดที่ล้อหน้าและล้อหลังเกิดหมุนที่ความเร็วเท่ากัน (สภาวะปกติ) เพลากลางจะไม่สามารถสร้างแรงดันที่ปั๊มมากพอที่จะทำให้ไปจับแผ่นคลัทช์ที่เพลาหลังได้ ทำให้ระบบขับเคลื่อนกลับสู่สภาวะปกติ (ขับเคลื่อน 2 ล้อ) นั่นเอง
เรื่อง : ณัฐพล เดชสิงห์
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.