มาทำความรู้จักกับถุงลมเสริมความปลอดภัย SRS

เวลาที่เราอ่านข้อมูลระบบความปลอดภัยของรถ เรามักเห็นคำว่าถุงลมเสริมความปลอดภัย SRS ซึ่งเชื่อว่าหลายคนน่าจะมีความสงสัยไม่มากก็น้อยว่าถุงลมชนิดนี้คืออะไร ทำงานแบบไหน เพราะส่วนใหญ่ที่เจอจะเป็นแบบถุงลมนิรภัยคู่หน้าเท่านั้น เรามาคลายข้อสงสัยกันดีกว่าว่าถุงลมเสริมความปลอดภัย SRS มีความพิเศษอย่างไร และอยู่จุดไหนบ้าง

ถุงลมเสริมความปลอดภัย SRS – Supplemental Restraint System ระบบป้องกันผู้โดยสารในรถเมื่อเกิดการชนถุงลมนิรภัย SRS ช่วยในการปกป้องส่วนศีรษะและหน้าอก ของผู้ขับและผู้โดยสารด้านหน้า เพราะในกรณีเกิดอุบัติเหตุการชนด้านหน้าที่มีความรุนแรงจนอาจเกิดการบาดเจ็บ เข็มขัดนิรภัยจะรัดลำตัวเอาไว้ไม่ให้กระเด็นไปข้างหน้าหรือถูกเหวี่ยงออกนอกตัวรถ แต่ศีรษะก็มีโอกาสที่จะสะบัดไปมาอย่างรุนแรงและในส่วนของหน้าอกก็อาจจะได้รับความบาดเจ็บจากการกระแทกกับพวงมาลัย ถุงลมนิรภัยก็จะทำงานโดยอัตโนมัติในช่วงเสี้ยววินาทีเพื่อปกป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรง

โดยทั่วไปแล้วถุงลมนิรภัย SRS จะมี 6 จุดหลักที่ป้องกัน คือ ถุงลมนิรภัยด้านหน้า 2 จุด ม่านนิรภัยด้านหน้า ซ้าย-ขวา ม่านนิรภัยด้านหลัง ซ้าย-ขวา ซึ่งแต่ละจุดจะช่วยซับแรงกระแทกเพื่อให้ลดความรุนแรงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้รถรุ่นใหม่ๆ ยังได้เพิ่มจุดที่ 7 บริเวณเข่าคนขับอีกด้วย เรามาดูกันว่าแต่ละจุดทำงานกันอย่างไรบ้าง

การทำงานของถุงลมนิรภัยด้านหน้า

เมื่อมีการชนเซ็นเซอร์ถุงลมนิรภัยจะตรวจจับความรุนแรงของการกระแทกและเมื่อความรุนแรงเกินจากค่าที่กำหนดของชุด เซ็นเซอร์ถุงลมนิรภัย ส่วนกลาง (ชุดเซ็นเซอร์ถุงลมนิรภัย) ตัวจุดชนวนในชุดประจุก๊าซจะจุดดระเบิด ระบบ SRS ถุงลมนิรภัยด้านหน้าถูกออกแบบมาให้ทำงานเมื่อมีการกระแทกด้านหน้าอย่างรุนแรง รวมถึงถุงลมเสริมความปลอดภัยบริเวณเข่า

– ถุงลมนิรภัย SRS ดานหน้าจะพองออกถ้าความรุนแรงของการกระแทกสูงกว่าระดับที่ ออกแบบไว้เปรียบเทียบได้กับการชนที่ความเร็วประมาณ 20 กม./ชม. -25 กม./ชม. (12 ไมล์ /ชม. -15 ไมล์ /ชม.) เมื่อปะทะตรงๆ กับสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ซึ่งไม่เคลื่อนที่หรือเสียรูป

ถ้าผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เขาจะเคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็ว 50 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) จนกว่าจะปะทะกับภายในของรถในตัวอย่างนี้ ผู้โดยสารจะกระแทกภายในรถด้วยความเร็วที่เท่ากับตก จากตึกสามชั้น

การทำงานของม่านนิรภัย

– ถุงลมนิรภัย SRS ด้านหน้าจะพองออกถ้าความรุนแรงของการกระแทกสูงกว่าระดับที่ ออกแบบไว้เปรียบเทียบได้ กับการชนที่ความเร็วประมาณ 20 กม./ชม. -25 กม./ชม. (12 ไมล์ /ชม. -15 ไมล์ /ชม.) เมื่อปะทะตรงๆ กับสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ซึ่งไม่เคลื่อนที่ หรือเสียรูป

– ถ้าความรุนแรงของการกระแทกต่ำกว่าระดับที่ออกแบบไว้ถุงลมนิรภัย SRS ด้านหน้า จะไม่พองออก

–ระดับความเร็วนี้จะสูงขึ้นมากถ้ารถชนกับวัตถุ เช่นรถที่จอดอยู่หรือเสาป้ายสัญญาณจราจร ซึ่งจะเคลื่อนที่หรือเสียรูปได้เมื่อถูกกระแทก หรือถ้าชนแบบมุดข้างใด้ (เช่น การ ชนที่ส่วนหน้าของรถมุดหรือเสียบเข้าไปข้างใต้ ท้องรถบรรทุก ฯลฯ )

ถุงลมนิรภัย SRS จะไม่พองตัว (ด้านข้าง, ม่านนิรภัย)

ถุงลมนิรภัย SRS ด้านข้างและม่านนิรภัยถูก ออกแบบมาไม่ให้ทำงานเมื่อมีแรงกระแทก จากด้านหน้าหรือด้านหลังง หรือพลิกคว่ำ หรือชนด้านข้างที่ความเร็วต่ำ

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save