ตลาดรถยนต์ในประเทศปี 2560 คาดยอดขายรวมอยู่ที่ 830,000 คัน เพิ่มขึ้น 8%
เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของโตโยต้าได้ร่วมกันแถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2560 พร้อมปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2560 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณภาครัฐที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนภายในประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย จนทำให้ตลาดรถยนต์ในครึ่งปีแรกเริ่มฟื้นตัวและเติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว โดยตลาดรถยนต์ในครึ่งปีแรกของปี พ.ศ.2560 มียอดขายรวมอยู่ที่ 409,980 คัน เพิ่มขึ้น 11.2%”
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2560
ปริมาณการขาย (คัน) | เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ 2559 |
|
ปริมาณการขายรวม | 409,980 คัน | +11.2% |
รถยนต์นั่ง | 161,483 คัน | +25.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 248,497คัน | +3.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 201,019 คัน | +4.4% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 172,482 คัน | +7.5% |
โดยโตโยต้ามียอดขาย 112,488 คัน เพิ่มขึ้น 3.1% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 45,167 คัน เพิ่มขึ้น 26.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 67,321 คัน ลดลง 8.3% และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 63,105 คัน ลดลง 9.4%
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2560
- ปริมาณการขายโตโยต้า 112,488 คัน เพิ่มขึ้น 1% ส่วนแบ่งตลาด 27.4%
- รถยนต์นั่ง 45,167 คัน เพิ่มขึ้น 5% ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 67,321 คัน ลดลง 3 % ส่วนแบ่งตลาด 27.1%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 63,105 คัน ลดลง 4 % ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 52,167 คัน ลดลง 9% ส่วนแบ่งตลาด 30.2%
สำหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 135,332 คัน ลดลง 19% จากปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 72,750 ล้านบาท และมีการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 33,823 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่ 106,573 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2560 สำหรับตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลัง มีปัจจัยบวกต่างๆ ทั้งการเติบโตของ GDP มาตรการกระตุ้นการลงทุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐเพื่อดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่สูงขึ้น รวมถึงการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลายจากค่ายรถยนต์ ทำให้เรามองว่าตลาดรถยนต์ในประเทศจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดรถยนต์รวมในครึ่งปีแรกเติบโตมากกว่าที่คาดไว้อยู่ที่ 11.2% ทำให้เราคาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์โดยรวมในประเทศ ปี พ.ศ.2560 จะอยู่ในระดับ 830,000คัน เพิ่มขึ้น 8% จากปีที่แล้ว”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2560
- ปริมาณการขายรวม 830,000 คัน เพิ่มขึ้น 0%
- รถยนต์นั่ง 339,000 คัน เพิ่มขึ้น 1%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 491,000 คัน เพิ่มขึ้น 4%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 394,000 คัน คงที่ 0%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 336,000 คัน เพิ่มขึ้น 8
มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม ยอดขายโตโยต้าในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 3% นั้น ยังถือว่าต่ำกว่าอัตราการเติบโตของตลาดรถยนต์รวม ทั้งนี้มีปัจจัยหลักมาจากการที่ค่ายรถยนต์อื่นๆ ต่างทยอยเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่หลากหลายรุ่นเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งปีแรก แต่เรายังคงยืนยันที่จะยึดเป้าหมายการขายสำหรับตลาดในประเทศในปีนี้ไว้ที่ 265,000คัน เพิ่มขึ้น 8% จากปีที่แล้ว โดยโตโยต้าจะแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้สามารถรองรับกับตลาดที่เติบโตขึ้น”
“ในส่วนของเป้าหมายการส่งออกนั้น เราคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกของโตโยต้าจะอยู่ที่ 291,000 คัน ลดลง 9% จากปีที่แล้ว โดยเป็นผลกระทบจากตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงตลาดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และอเมริกาใต้”
ประมาณยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2560
- ปริมาณการขายรวม 265,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 9%
- รถยนต์นั่ง 110,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 4%
- รถเพื่อการพาณิชย์ 155,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6%
- รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 147,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3%
- รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 122,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3%
มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้ต้องขอแสดงความขอบคุณจากใจจริงต่อรัฐบาลไทย สำหรับการให้ความสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเป็นอย่างดี และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานของรัฐบาล เรายังคงมุ่งมั่นในการมีส่วนช่วยส่งเสริมและตอบสนองต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งโตโยต้ายังคงมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถของวิศกรไทยในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ่านพันธกิจของบริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) ในแผนการดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนารถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กในตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง พร้อมทั้งขยายโครงการความร่วมมือด้านการถ่ายทอดความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย นอกจากนี้ เราขอยืนยันในความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนความสุขให้กับสังคมไทย ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย”
ประมาณการปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2560
ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 69,798คัน เพิ่มขึ้น 7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,959 คัน ลดลง 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 12,878 คัน เพิ่มขึ้น 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.5%
อันดับที่ 3 อีซูซุ 11,139 คัน ลดลง 0.3% ส่วนแบ่งตลาด 16.0%
ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 29,424 คัน เพิ่มขึ้น 6%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 9,021 คัน เพิ่มขึ้น 21.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,464 คัน ลดลง 4.9% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,973 คัน เพิ่มขึ้น 78.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 31,044 คัน ลดลง 3.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,030 คัน เพิ่มขึ้น 0.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,812 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,132 คัน เพิ่มขึ้น 24.9% ส่วนแบ่งตลาด 13.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,837 คัน
โตโยต้า 1,748 คัน – มิตซูบิชิ 1,157 คัน – อีซูซุ 1,078 คัน – ฟอร์ด 744 คัน – เชฟโรเลต 110 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 26,207 คัน ลดลง 3.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 8,952 คัน ลดลง 2.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,064 คัน ลดลง 24.1% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,388 คัน เพิ่มขึ้น 41.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,374 คัน ลดลง 0.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,139 คัน ลดลง 0.3% ส่วนแบ่งตลาด 27.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,495 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 26.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,442 คัน เพิ่มขึ้น 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.0%
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ประมาณการสถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2560
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 409,980 คัน เพิ่มขึ้น 11.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 112,488 คัน เพิ่มขึ้น 3.1% ส่วนแบ่งตลาด 27.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 77,109 คัน เพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 61,428 คัน เพิ่มขึ้น 13.9% ส่วนแบ่งตลาด 15.0%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 161,483 คัน เพิ่มขึ้น 25.0%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 45,983 คัน เพิ่มขึ้น 18.8% ส่วนแบ่งตลาด 28.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 45,167 คัน เพิ่มขึ้น 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 28.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 16,971 คัน เพิ่มขึ้น 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 201,019 คัน เพิ่มขึ้น 4.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 70,419 คัน เพิ่มขึ้น 7.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 63,105 คัน ลดลง 9.4% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 23,877 คัน เพิ่มขึ้น 44.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 28,537 คัน
โตโยต้า 10,938 คัน – มิตซูบิชิ 7,222 คัน – อีซูซุ 6,213 คัน – ฟอร์ด 3,601 คัน – เชฟโรเลต 563 คัน
ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 172,482 คัน เพิ่มขึ้น 7.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 64,206 คัน เพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 52,167 คัน ลดลง 4.9% ส่วนแบ่งตลาด 30.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 20,276 คัน เพิ่มขึ้น 51.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.8%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 248,497 คัน เพิ่มขึ้น 3.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 77,109 คัน เพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 67,321 คัน ลดลง 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 27.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 25,157 คัน เพิ่มขึ้น 44.0% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด