การเดินทางผจญภัยในป่าลึกบนเกาะสุมาตรา 2000 กม.
กลุ่มชาวออฟโรดของอินโดนีเซียต้องใช้เวลาเตรียมตัวล่วงหน้าหลายเดือน ก่อนจะร่วมกันจัดงานใหญ่ระดับนานาชาติ โดยมีกำหนดการเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา มีรถออฟโรดที่จัดเตรียมอุปกรณ์การเดินทางผจญภัยไว้อย่างครบครันกว่า 75 คัน พร้อมผู้ขับ ผู้นำทาง เพื่อจะพิชิตเส้นทางหฤโหด 2,000 กม.ในป่าลึกบนเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือ การนำรถทั้งหมดไปให้ถึงเส้นชัย ณ จุดฟินิชที่ อนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิของอินโดนีเซีย (The National Monument of Indonesia) ที่ตั้งตระหง่านบนความสูง 132 เมตร ณ จตุรัส Merdeka ใจกลางกรุงจาร์กาต้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้สู่อิสรภาพ ของชาวอินโดนีเซีย
ทีมผู้ร่วมเดินทางผจญภัยครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นมือออฟโรดชาวอินโดนีเซียและทั้งหมดก็เคลื่อน ขบวนไปรวมตัวกัน ณ จุตสตาร์ทที่เมือง Palembang ซึ่งตั้งอยู่ภายในเกาะสุมาตรา ซึ่งมีทีม จากเกาะสุมาตราใต้, ทีมจากเกาะชะวา (Java), ทีมจากเกาะบาหลี และทีมจากกาลิมันตัน ส่วนชาวต่างชาติที่มาร่วมงานครั้งนี้มาจาก มาเลเซีย, เวียดนาม, อังกฤษ, อิตาลี และ ฮอลแลนด์ ซึ่งแต่ละคนมีประสบการณ์ในการเดินทางผจญภัยแบบนี้มาแล้วอย่างโชกโชน
ในช่วงเดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว ผม (Fred) ได้รับอีเมลจากเพื่อนที่แสนดีชาวอินโดนีเซีย 2 คน Tinus และ Syamsir สอบถามผมว่า พร้อมที่จะไปลุยผจญภัย ในป่าเกาะสุมาตราในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ด้วยกันรึไม่ ผมใช้เวลาไม่นานในการตัดสินใจ จึงตอบตกลงเดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ พร้อมทั้งจัดการจองตั๋วเครื่องบิน แล้วก็เดินทางก้าวเข้าสู่แผ่นดินอินโดนีเซียวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เข้าพักที่กรุงจาการ์ต้า 1 คืน และวางแผนการเดินทางในเช้าวันรุ่งขึ้นร่วมกับทีมงานบางส่วนขึ้นเครื่องบินภายในประเทศไปลงที่เมือง Palembang บนเกาะสุมาตราใต้ ที่โรงแรม Novotel ในเมือง Palembang เป็นที่พัก และรวมกลุ่ม die-hard ชาวออฟโรดที่เตรียมรถกันมาอย่างสมบูรณ์ พร้อมเติมน้ำมันเต็มถัง ทุกคันและซื้อเสบียงใส่กล่องและน้ำดื่มอาหารให้เพียงพอกับการอยู่รอดในป่าดิบและเส้นทางตลอด 16 วัน
ผมอยู่ร่วมรถ Toyota Fortuner 4×4 กับมือออฟโรด 2 คน Herman Harsoyo และ Ero Kebo Ireng ซึ่งทั้งคู่มีประสบการณ์จากงาน 2012 Borneo Safari มาแล้ว เราซื้ออาหารดิบจากหมู่บ้าน พร้อมทั้งเติมน้ำมันใส่ถังสำรอง ก่อนจะออกเดินทาง รถคันเราเบอร์ 120 สติ๊กเก้อร์ “Official Media Team” เราพร้อมออกเดินทางจากเมือง เข้าสู่ป่าดิบร้อนชื้นที่เป็นหลุมเป็น โคลนตลอดทาง
หลังจากพักในเมือง Palembang 2 คืน ทำการตรวจสภาพรถแล้วก็มีพิธีปล่อยรถอย่างเป็นทางการวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ขบวนรถทั้ง 75 คันพร้อมออกคอนวอยจากตัวเมืองเกาะสุมาตราใต้ มุ่งหน้าสู่เกาะชวาโดยเรือเฟอร์รี่ข้ามทะเลเป็นวันสุดท้ายซึ่งจากนี้ไปอีก 14 วันกับระยะทาง 2,000 กม. เราต้องนำรถทั้งหมดไปให้ถึงเส้นชัยที่ Monas Monument ซึ่งต้องผ่านอุปสรรคมากมายบนเส้นทางที่มีแต่ หลุมโคลน ทางลื่น ข้ามน้ำลึก ขึ้นเขาลงห้วย ซ่อมสะพานซุง ที่หักพัง และการใช้วินช์ ตามสถานการณ์ที่จำเป็น ซึ่งรถทุกคันต้องติดตั้งวินซ์ของ WARN 8274 ที่สามารถจะรับมือกับงานหนักแบบนี้ได้อย่างแข็งแกร่งตลอดการเดินทาง
การเดินทางเส้นทางแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ 3 กลุ่มๆละ 25-30 คัน และในแต่ละกลุ่มยังต้องแยกย่อยเป็นกรุ๊ปเล็ก 4 ถึง 5 คัน เป็นการผสมผสานรถใหญ่รถเล็กหลายหลายยี่ห้อ โตโยต้า Land Cruiser, จี๊ป, แลนด์โรเวอร์, Discovery, Range Rover, ซูซูกิ, ไดฮัทสุ ฯลฯ ที่จะต้องวางกลยุทธ์ในการพิชิตเส้นทางของกลุ่ม 30 คัน จะจัดชุดนำหน้า 5 คันแรกคืบคลานสะสางเส้นทางไปก่อน แล้วให้กลุ่มหลังๆตามมา พอได้ระยะทางช่วงหนึ่งก็จะสลับเอากลุ่ม 5 คันต่อๆไปขึ้นมานำทางหมุนเวียนกันตลอด
พอกลุ่ม 30 คันแรกผ่านไปอีก 2 กลุ่มหลังที่ตามมาเมื่อเจอทางโคลนล้อรถหลาย ๆคันก็ปั่นร่องลึกมากขึ้นทางกลับยากลำบากมีอุปสรรคมากยิ่งขึ้น บางทีก็ต้องฉุดกระชากลากถูช่วยเหลือกันออกจนครบทุกคัน และทางบางช่วงก็เป็นดินสไลด์ปิดทางก็อาจจะล่าช้าที่ต้องใช้วินช์ดึงรถข้ามไปให้ได้ ด้วยกลยุทธ์และประสบการณ์ของชาวออฟโรดเพื่อผ่านไปให้ได้
ตลอดเส้นทางแบ่งจุดพักกลางคืนเป็น 14 base camps ใครมาถึงก่อนก็เข้าพักเพื่อ เตรียมตัว เดินทางในวันรุ่งขึ้นต่อไป การเดินทางผ่านไปด้วยความเรียบร้อยใน 5 base camp เส้นทางไม่ยากนัก มีข้ามน้ำและทางชันบ้างเจ้าวินช์ 8274 ทำงานช่วยให้ผ่านไปได้ตามเวลาโดย Co driver ทำหน้าที่นำทางและลากสายวินช์และชี้ร่องทางให้กับผู้ขับต่างคนต่างทำหน้าที่กันอย่างแข็งขันและเป็นึความโชคดีที่ไม่มีฝนตกลงมาซึ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นฤดูมรสุมด้วยส่วนพวกเราต้องติดแหง็กพักกลางทางที่ห่างจาก base camp 4 ไปเพียง 300 เมตรบนยอด เขา ซึ่งทีมงานได้พยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะไต่ขึ้นทางลาดชันสูงไปให้ได้ เป็นช่วงแอ็คชั่นอันสุดยอด บางคันก็ต้องหลบอยู่ข้างทางทั้งซ้ายและขวา มีวิธีเดียวคือ จะต้องหาวิธีวินช์ขึ้นไปให้ได้เท่านั้น สุดท้ายกลุ่มของเราตัดสินใจหันหัวรถกลับทางเดิมและหาทางจาก base camp 4 เดินทางไปกลางดึกไป base camp 5 แต่เราโชคร้ายฝนมรสุมเทลงมาทำให้ทางลื่นสุดๆ ยาง
Super Swampers, Simex Jungle Trekkers, และยางอินโด GT Radial Komodo ต้องปั่น ทำงานอย่างหนักและบางช่วงก็ต้องวินช์ให้เคลื่อนตัวไปได้กว่าจะผ่านคืนอันโหดร้ายออกมาจนถึง base camp 5 เอาเมื่อกลางดึกด้วย ความเหน็ดเหนื่อยได้หลับพักผ่านเพียงนิดเดียว
และวันรุ่งจะต้องออกแต่เช้าตรู่ต่อสู้กับเส้นทางในป่าดินที่จัดว่ายากที่สุดจาก base camp 5 ไปยัง base camp 4 เพื่อไปร่วมคอนวอยกับกลุ่มรถอีกส่วนหนึ่งหมดเวลาไปอีก 1 วัน ตัวผมเองสุดท้ายต้องเดินเท้าจมโคลนกลับมายัง base camp และต้องพักอีก 1 คืน โดยผู้นำคอนวอยแนะนำให้ Media Teams ทั้งหมดเดินทางไปตรงไปพักที่ base camp 7 ได้เลย เนื่องจากกว่ารถจะออกมาหมดทุกคันต้องใช้เวลาอีกนาน Base camp 7 สะดวกกว่าเดิมตั้งอยู่ในหมู่บ้านกลางป่า ไม่ช่วงเวลาต่อมารถก็ทยอยกันมาถึงชาวบ้านก็ให้การต้อนรับ และพวกเด็กๆ ก็ได้เห็นผู้คนแปลกหน้าและรถหน้าตาแปลก ๆ ความสนุกสนานก็เป็นส่วนหนึ่ง Medial Team อยากจะรู้ว่ารถแลนด์โรเวอร์เก่า ๆของเขาจะบรรทุกเด็กได้กี่คนโดยขับไปรอบๆหมู่บ้าน
เราได้รับการสื่อสารทางวิทยุให้เดินทางข้ามแม่น้ำไปยัง base camp 8 ทำให้ชาวบ้านที่สองฝั่งแม่น้ำออกมาดูรถกันทั้งหมู่บ้านเพื่อไปรวมกลุ่มกันแล้วเดินทาง back track จาก base camp 6-7 กลับไปยัง base camp 5 เนื่องจากมีดินภูเขาสไลด์ลงมาปิดเส้นทางไม่สามารถจะผ่านได้ เราใช้เส้นทางปกติวันที่ 9 และ 10 เพื่อมุ่งหน้าไปยัง base camp 11 ออกสตาร์ทช่วงต่อไป ทางกลุ่มหน้าแจ้งมาว่าต้องใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง และก็ไม่รู้ว่ากลุ่มกลางและกลุ่มหลังต้องใช้
เวลานานเท่าไรกว่าจะถึงอนิจจา 3-4 ชั่วโมงของมันกลายเป็น 3 วันที่แสนสาหัสที่สุดๆกับแทร็กที่ลื่นหลุมบ่อโคลนตลอด อีกทั้งขึ้น-ลงทางลาดชันตลอด ผมออกมายืนนอกรถเก็บภาพ die-hard ของชาวออฟโรดตัวจริงเขาต่อสู้ตั้งแต่กลางขบวนไปถึงท้ายขบวน 3 วันที่อยู่ในป่า
ในวันแรกก็ยังพอไหวเราทำระยะทางได้ดีพอสมควรสู้มาทั้งวันทีมเราก็หยุดพักผ่อนกลางป่าเมื่อถึงเวลา 24.00 น.โดยใช้เปลผ้าใบกางนอนหน้ารถ วันที่สองเราลุกขึ้นมาสู้ต่อตั้งแต่เช้าตรู่ใช้เวลาไป 15 ชั่วโมงได้ระยะทางมา 600 เมตร !!! รถคันที่อยู่หน้าเราพังคาหลุมโคลนขวางทางหมดไปไหนไม่ได้ต้องรอซ่อมและเป็นคืนที่สองที่ต้องนอนกลางป่าอีกคืน ก็ได้แต่หวังว่าหลังจากนอนหลับพักผ่อน แล้วตื่นขึ้นมาเรามีพลังสู้ต่อที่จะไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่เราโชคร้ายอีกครั้งหม้อน้ำแตกจอดซ่อมกันเสียเวลาไปอีก 2 ชั่วโมง และสุดท้ายเราก็ออกมาได้เข้ามาถึงในหมู่บ้านกลางป่า
จัดการล้างเนื้อล้างตัวและล้างรถพร้อมกันไปด้วยอีกทั้งได้กินอาหารท้องถิ่นจากชาวบ้านผู้ใจดี
มีรถกลุ่มหน้าจำนวนราว ๆ 30 คันสามารถผ่านตามเส้นทางจาก base camp 11-12-13 ออกมา ได้สำเร็จ หลังจากพักผ่อนและร่วมประชุมกันแล้ว ก็เคลื่อนขบวนคอนวอยไปตามทาง 300 กม. มุ่งตรงไป base camp 14 ริมชายหาด Kalianda ถ้าเป็นถนนในยุโรปคงใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงกับ ระยะทาง 300 กม.คงไม่ยาก แต่นี่คือ ถนนในอินโดนีเซียเราต้องใช้เวลาทั้งวันทั้งคืนถึง 21 ชั่วโมง ถนนเป็นแบบ 2 เลนรถวิ่งสวนกันที่คราคร่ำไปด้วยรถท้องถิ่น มอเตอร์ไซค์และรถบรรทุก ซี่งวิ่ง ๆหยุด ๆไม่มีทางที่จะใช้ความเร็วได้เลย กว่าจะถึงเอาเช้าวันรุ่งขึ้นที่จุด Re-group ที่ Kalianda บีชรีสอร์ท
คณะผู้ร่วมงานทั้งหมด The Indonesian Offroad Expedition รวมตัวกันคอนวอยมุ่งหน้าสู่ท่าเทียบเรือ Bakaihuni ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ นำรถทั้งหมดลงเฟอรี่ชื่อเรือ Jatra II จากเกาะสุมาตราใต้สู่เกาะชวา ใช้เวลาราว 3 ชม. จากนั้นเราก็มุ่งหน้าสู่จุดสุดท้าย และพักค้างคืนแบบแคมปิ้ง 1 คืนบนเกาะชวาก่อนที่จะร่วมคอยวอยในวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ เดินทางเข้าเมืองหลวงกรุงจาการ์ต้า ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (National Monument) เพื่อเป็นการเฉลิม
ฉลองในวันสุดท้าย รถทุกคันและทุกทีมกลับมาอย่างปลอดภัยและก็ถึงเวลาที่ต้องลาจากกันเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพทุกคน คงเหลือไว้แต่ภาพถ่ายและความทรงจำที่บันทึก ไว้กับการเดินทางผจญภัยที่สุดหฤโหดครั้งนี้
ส่วนแผนการเดินทางผจญภัยในปีหน้า 2015 ได้กำหนดไว้แล้วประมาณ 2,000 กม. แต่เป็นเกาะอื่นในอินโดนีเซียที่ไม่ซ้ำกับเส้นทางครั้งนี้ ผม (Fred) จะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป ซึ่ง ทางผู้จัดงานจะรับสมัครรถจากนานาชาติ 10 คัน ที่ไม่ใช่รถของอินโดนีเซีย ซึ่งอาจจะเป็นรถจากยุโรป จากอเมริกา หรือจากอเมริกาใต้ ใครสนใจก็ดูข้อมูลจากหนังสือที่มีข้อมูลเรื่องนี้
Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.