กติกาการแข่งขัน TOYOTA HILUX REVO 10 เซียนประจัญบาน 2018 ประเภทบุคคล

­­­­­­­­­­­

TOYOTA HILUX REVO 10 เซียนประจัญบาน 2018

THE MAGNIFICENT TEN 2018

ชื่อรายการ

TOYOTA HILUX REVO 10 เซียนประจัญบาน 2018 หรือ THE MAGNIFICENT TEN 2018

ผู้ให้การสนับสนุนหลัก

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

ผู้ดำเนินการจัดการแข่งขัน

นิตยสารออฟโรด ในเครือ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

รับรองการจัดการแข่งขัน

สมาคมออฟโรดไทยและสมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย

รูปแบบการแข่งขัน และสนามแข่ง

  • ณ สนามกรังด์ปรีซ์ มอเตอร์ปาร์ค อ. บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี วันที่ 31 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2561

 

รุ่นการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 รุ่น

  1. รุ่น TOYOTA HILUX REVO 10 เซียนประจัญบาน 2018
  2. รุ่น OFF ROAD SUPER OPEN10 เซียนประจัญบาน 2018
  3. รุ่น OFF ROAD เที่ยวป่า OPEN 10 เซียนประจัญบาน 2018

 

 

กำหนดการแข่งขัน

ประเภทบุคคลจำนวน 3 รุ่นทั้งหมด 10 SS  

 

วันที่/เวลา                                                รายละเอียด – สถานที่

วันพฤหัสบดี ที่ 31 พ.ค. 2561

09.00-17.30 น.               รับสมัครพร้อมตรวจสภาพรถแข่งทุกรุ่น ณ สนามกรังด์ปรีซ์กอล์ฟคลับ อ. บ่อพลอย

จ.กาญจนบุรี Warm Up Lap with Hiux Revo 4×4 นักแข่งในทุกรุ่นส่งตัวแทนมาขับทดสอบ Toyota Hilux Revo ในสนาม Hilux Revo Station (คะแนนพิเศษ 30 แต้ม)

18.00 น.                        ประชุม กฎ กติกานักแข่งทุกรุ่น

 

หมายเหตุ: นักแข่งที่ไม่ได้เข้าร่วมทำการประชุมกฏ กติกา และตรวจสภาพรถแข่งภายในเวลา 19.00 น. ไม่สามารถลงทำการแข่งขันได้

 

วันศุกร์ที่   1 มิ.ย. 2561

08.30 -18.00 น.              ทำการแข่งขัน SS 1- SS4 จำนวน 4 SS (ประเภทบุคคล)

– แข่งขันในเส้นทางแบบ Challenge 3 SS

– แข่งขันในรูปแบบ Trophy ผสม Challenge จำนวน 1SS

วันเสาร์ที่   2 มิ.ย. 2561

08.30-16.30 น                ทำการแข่งขันต่อใน SS 5 – SS 8 จำนวน 4 SS (ประเภทบุคคล)

                                    – แข่งขันในเส้นทางแบบ Challenge 3 SS

– แข่งขันในรูปแบบ Trophy ผสม Challeng จำนวน 1SS

(มีจำนวน 2SS คิดคะแนนแบบพิเศษ)

17.00 น. เป็นต้นไป        -ร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ในลานกิจกรรม Off Road Day 2018

วันอาทิตย์ที่  3 มิ.ย. 2561

08.00-09.00 น.               พิธีเปิดการแข่งขัน (ประเภทบุคคลชุดนักแข่ง)

09.00-14.30 น.                  ทำการแข่งขันต่อใน SS 9-10 จำนวน 2 SS  (วิ่งแทร็คคู่ใช้ชุดนักแข่ง) (ประเภทบุคคล)

14.30-15.00น.                เตรียมรถเข้าสู่ถ่ายทอดสด

15.00-16.00น.                ถ่ายทอดสดทางไทยรัฐทีวีใน SS ที่ 11 รอบชิงชนะเลิศ 2 คันสุดท้าย (REVO 4 คัน

สุดท้าย) (วิ่งแทร็คคู่ใช้ชุดนักแข่ง) (ประเภทบุคคล) มอบรางวัลแชมป์ 10 เซียน

ประจัญบาน 2018

16.00 น.                        จบการถ่ายทอดสด

 

หมายเหตุ          วันอาทิตย์ที่ 3 มิ.ย. 61 นักแข่งประเภทบุคลลทุกท่านต้องใส่ชุดนักแข่งเข้าร่วมพิธีเปิดและลงทำการแข่งขันในแทร็คคู่ มิฉะนั้นไม่มีสิทธิ์ Start ใน SS9-SS10

 

                                    คุณสมบัตินักแข่ง / กติกาเทคนิครถแข่ง

 

 รุ่น Toyota  Hilux Revo 10 เซียนประจัญบาน

  1. คุณสมบัติรถแข่ง

1.1 เป็นรถยนต์ปิคอัพ Toyota Hilux Revo แบบขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น ที่มีสายพานการผลิตควบคู่มากับตัวรถซึ่งผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยดูข้อมูลจำเพาะได้จากแคตตาล็อคของรถที่ผลิตออกจำหน่ายทั่วไป (Series Production)

1.2 ตัวถัง (BODYSHELL) และโครงสร้าง (CHASSIS) ต้องเป็นของเดิมจากโรงงานผู้ผลิตในรถรุ่นนั้นๆ ห้ามใช้ไฟเบอร์หรือวัสดุอื่นๆ ทดแทน (ห้ามถอดฝาปิดกระบะท้าย) และไม่อนุญาตให้ตัดต่อบอดี้

1.3 ต้องเป็นรถที่จดทะเบียนเพื่อใช้บนถนนสาธารณะทั่วไป

1.4 สภาพเส้นทางแข่งขันเป็นแบบจำลองอุปสรรคจากธรรมชาติ รถทุกคันของรุ่น HILUX REVO สามารถแข่งขันได้ ไม่บังคับติดตั้ง WINCH แต่หากรถแข่งคันใดติดตั้ง WINCH จะต้องเป็น WINCH ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ไม่มีการจำกัดกำลังฉุดลากของ WINCH ส่วนรถที่มีการติดตั้งวินช์เพลาจะต้องทำการตัดระบบการทำงานของวินช์ออกให้ชัดเจน และรถที่ติดตั้ง WINCH จะต้องมี สมอบก สแน็ชบล็อก ผ้ากระสอบ ถุงมือหนังคลุมเต็มใบ สำหรับจับสายสลิง เป็นอุปกรณ์เสริม

1.5 อุปกรณ์ช่วยเหลือที่ต้องมี คือ ถังดับเพลิงน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม ติดตั้งอย่างแน่นหนาในตำแหน่งที่สามารถหยิบใช้งานได้ง่าย

1.6 ต้องมีการติดตั้งขอลากหน้า-หลังสำหรับการช่วยเหลือ พร้อมสติ๊กเกอร์บ่งชี้ตำแหน่งที่ชัดเจน และเห็นได้ง่าย

1.7 ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยที่มีจุดยึดอย่างน้อย 3 จุด และสามารถใช้งานได้โดยไม่ขัดข้อง

  1. การปรับแต่งเครื่องยนต์

2.1 ตัวเทอร์โบ (โข่งไอดี โข่งไอเสีย และ CENTER-SECTION) สามารถปรับเปลี่ยน และทำการตกแต่งได้

2.2  ระบบหล่อเย็นอากาศไอดี (INTERCOOLER) สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้ แต่การติดตั้งต้องยึดในตำแหน่งของเดิมจากโรงงานผู้ผลิต

2.3   ชิ้นส่วนและวัสดุข้อต่อท่อ INTERCOOLER ท่อน้ำ ท่อน้ำมัน ท่ออากาศ อนุญาตให้ เปลี่ยนได้แต่ยังคงลักษณะทิศทางเดิมเอาไว้
2.4 สามารถติดตั้งตัวปรับแรงดันเทอร์โบภายในห้องโดยสารได้ หรือตำแหน่งที่ปรับได้ระหว่างขับ

2.5 ระบบหัวฉีด ปั๊มดีเซล ปรับแต่งได้ แต่ห้ามเปลี่ยนแปลงระบบคอมมอนเรล
2.6 ห้ามติดตั้งระบบ DRY-SUMP, SUPERCHARGER และ/หรือ NITROUS OXIDE
2.7 ระบบท่อร่วมไอดี ต้องเป็นของเดิมจากโรงงานผู้ผลิต ท่อไอเสียอนุญาตให้ปรับเปลี่ยนได้ แต่ปลายท่อไอเสียต้องออกท้ายรถเลยเพลาหลัง และไม่เป่าลงดิน

2.8 หม้อกรองอากาศ และไส้กรองอากาศอนุญาตให้เปลี่ยนได้

2.9 อนุญาตให้เปลี่ยนหรือปรับขยายหม้อน้ำได้ แต่ต้องติดตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม (สามารถติดตั้งพัดลมไฟฟ้าเพิ่มเติมได้)

2.10 กล่อง ECU สามารถปรับแต่งได้ หรือต่อพ่วงกล่องเพิ่มจากกล่องเดิมได้

 

  1. ระบบส่งกำลัง
    3.1 เสื้อเกียร์ต้องใช้ของเดิมจากโรงงานผู้ผลิต ปรับแต่งอัตราทดเกียร์ได้ แต่ห้ามใช้เฟืองเกียร์แบบ “DOG- ENGAGEMENT”
    3.2 ต้องใช้เสื้อเฟืองท้ายเดิมที่ติดรถมาจากโรงงานผู้ผลิต แต่ปรับปรุงชิ้นส่วนภายในได้
  2. ช่วงล่าง

4.1 ห้ามเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของช่วงล่าง (ต้องเป็นปีกนกเดิมและคานหลังเดิมเท่านั้น)

4.2 อนุญาตให้เปลี่ยนขนาดของเหล็กกันโคลง แหนบ คอยล์สปริง แต่ต้องติดตั้งในตำแหน่งจุดยึดเดิม (สามารถปรับปรุงจุดยึดต่างๆ ให้แข็งแรงขึ้นได้)
4.3 อนุญาตให้เปลี่ยน SHOCK-ABSORBER หรือติดตั้งเพิ่มเติมได้ไม่เกินจุดละ 2 ตัว

(รวมทั้งคันไม่เกิน 8 ตัว) และให้คงไว้ตำแหน่งจุดเดิมข้างละ 1 จุด

4.4 รถแข่งสามารถติดตั้งชุดยกขนาดต่างๆ ได้ โดยจะต้องคงระบบพื้นฐานเดิมของช่วงล่างทั้งด้านหน้า (อิสระปีกนก) และหลัง รวมถึงเสื้อเพลาท้ายทั้งด้านหน้า – หลัง

 

  1. ระบบเบรค
     5.1 ระบบห้ามล้อต้องคงรูปแบบเดิม คาร์ลิเปอร์ต้องคงเดิมจากโรงงานผู้ผลิต หน้าดิสเบรค หลังดรัมเบรค

อนุญาตให้เปลี่ยนผ้าเบรค-จานเบรค และสายส่งน้ำมันเบรกได้ (รถที่มี ABS หรือ DYNAMIC STABILITY CONTROL เป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงงาน อนุญาตให้ตัดระบบการทำงานดังกล่าวออกก็ได้)

5.2 ระบบเบรคมือ ไม่สามารถปรับแต่งและแยกอิสระได้ และต้องคงอยู่ในตำแหน่งเดิมสายพายการผลิต

  1. ขนาดของยาง

6.1 ยาง ต้องมีขนาดไม่เกินกว่า 35 นิ้ว

  1. ภายในห้องโดยสาร

7.1. ภายในห้องโดยสาร อุปกรณ์ระบบควบคุม และแผงหน้าปัดเรือนไมล์ของโรงงานผู้ผลิต ต้องคงสภาพเดิมไว้ แต่เบาะนั่งและแผงประตู พรมปูพื้น และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ถอดออกได้

  1. คุณสมบัตินักแข่ง

นักแข่งที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

 

รุ่น  OFF ROAD SUPER OPEN 10 เซียนประจัญบาน

คุณสมบัติรถแข่ง

1.1 เป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น ทั้งเบนซิน และดีเซล ไม่จำกัดความจุ ซี.ซี. และแรงม้าเครื่องยนต์

1.2 ตัวถัง ระบบช่วงล่างปรับแต่งได้อิสระ

1.3 จะติดตั้งขอลากหน้า-หลัง (MATCH BOX) และสวิตช์ตัดไฟที่เห็นได้ชัดเจน

1.4 จะต้องติดตั้งโรลบาร์ความหนาไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตรขึ้นไป

1.5 รถแข่งทุกคันจะต้องมีการติดตั้งสวิตช์ตัดไฟบริเวณด้านนอกในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างน้อย 1 จุด และภายในห้องโดยสารในตำแหน่งที่สามารถเลือกใช้งานได้ชัดเจน 1 จุด

1.6 ต้องมีถังดับเพลิงไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม ที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ปลอดภัยติดตั้งอย่างแน่นหนา และใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

1.7 มีสมอบกติดตั้งประจำรถในสภาพพร้อมใช้งานและอุปกรณ์ช่วยเหลือตัวเอง (อิสระ)

1.8 รถแข่งทุกคันจะต้องมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย (SAFETY BELT) ที่มีจุดยึดร่างกายให้แนบกับเบาะโดยสารไม่น้อยกว่า 4 จุด

1.9 หมวกกันน็อคต้องเต็มใบและต้องมีมาตราฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

1.10 รถแข่งทุกคันจะต้องมีหลังคาและฝากระโปรงปิดตัวเครื่องยนต์และเทอร์โบเพื่อความปลอดภัย

1.11 รถแข่งทุกคันจะต้องมีซุ้มเกียร์ปกปิดแบ่งแยกห้องเครื่องยนต์และห้องโดยสารชัดเจน

1.12 รถแข่งทุกคันโรบาร์ด้านข้างต้องคลุมศรีษะและร่างกายของนักแข่งโดยไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเกินออกมานอกตัวรถ

คุณสมบัตินักแข่ง 

            นักแข่งที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

 

 

            รุ่น OFF ROAD เที่ยวป่า  OPEN 10 เซียนประจัญบาน

คุณสมบัติรถแข่ง

1 . รถที่เข้าร่วมการแข่งขันไม่จำกัดยี่ห้อในประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ ยกเว้นรถยนต์ปิคอัพที่เป็นคู่แข่งทางการตลาดกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ซึ่งมีคู่มือจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2012-2018 ห้ามลงทำการแข่งขัน แต่รถยนต์ในตระกูลโตโยต้าสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ไม่จำกัดทั้งรุ่นและปี

2  รถที่เข้าทำการแข่งขันจะเป็นรถที่มีการตกแต่งช่วงล่างแบบปีกนก(ห้ามปีกหลัง) หรือคานแข็งก็ได้ในประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ

3  รถที่เข้าทำการแข่งขันทุกคัน สามารถติดตั้งวินช์ประเภทใดก็ได้ จำนวนไม่เกิน 3 เครื่อง

4  ตัวถัง (BODYSHELL) และโครงสร้าง (CHASSIS) ห้องโดยสาร (ห้องเก๋ง) ต้องเป็นของเดิมจากโรงงานผู้ผลิตในรถรุ่นนั้นๆ (ห้ามตัดแปะ)

5 รถที่มีตัวถังเป็นแบบ  Monocoque (โมโนค๊อก)(รถที่ไม่มีแชสซี)สามารถลงทำการแข่งขันได้ มีการตกแต่งช่วงล่างแบบปีกนก(ห้ามปีกหลัง) หรือคานแข็งก็ได้ในประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ

6 รถทุกคันจะต้องมีการติดตั้งถังดับเพลิงประจำรถ อย่างน้อยขนาด 2 กิโลกรัม ในจุดที่หยิบใช้งานง่าย และมีการติดตั้งแน่นหนา ไม่หลุดกระเด็นง่าย

7 เครื่องยนต์ต้องเป็นเครื่องวางหน้า เกียร์ต้องอยู่หลังเครื่อง อนุญาตให้ปรับแต่ง หรือเปลี่ยนใหม่ได้ ไม่จำกัดความจุกระบอกสูบ และประเภทของเครื่องยนต์

8  ยางสำหรับรถที่เข้าแข่งขันจะต้องไม่เกิน 37 นิ้ว

9  สามารถตัดร่นกระบะ หรือส่วนท้ายของบอดี้รถได้ แต่ต้องมีไฟหน้าและไฟท้ายส่องสว่างชัดเจน สามารถตัด/ต่อแชสซีส์ได้ และไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร แต่ต้องไม่ร่นจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร

10 การปรับแต่งระบบช่วงล่าง สามารถทำได้เต็มที่ รวมถึงสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมสมรรถนะของระบบส่งกำลัง อาทิ ดิฟล็อก แอร์ล็อกเกอร์ และลิมิเต็ดสลิปได้

11 ต้องติดตั้งขอลากหน้า-หลัง สำหรับการช่วยเหลือ พร้อมติดสติ๊กเกอร์บอกตำแหน่งที่ชัดเจน และเห็นได้ง่าย

12 ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยที่มีจุดยึดอย่างน้อย 4 จุด สามารถใช้งานได้โดยไม่ขัดข้อง พร้อมการติดตั้งชุดโรลบาร์ดามห้องโดยสาร จะเป็นการติดตั้งโรลบาร์ด้านใน หรือด้านนอกก็ได้ แต่ต้องมีขนาดความหนาของเหล็กไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร

13 หมวกกันน๊อคต้องเต็มใบและต้องมีมาตราฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

14 รถแข่งทุกคันจะต้องมีหลังคาและฝากระโปรงปิดตัวเครื่องยนต์และเทอร์โบเพื่อความปลอดภัย

15 รถแข่งทุกคันจะต้องมีซุ้มเกียร์ปกปิดแบ่งแยกห้องเครื่องยนต์และห้องโดยสารชัดเจน

16 รถแข่งทุกคันต้องมีกระจกหน้า-หลัง (กระจกหลังอนุญาตให้ใช้ตะแกรงเหล็กได้) แบ่งแยกห้องโดยสารชัดเจน ไม่อนุญาตให้ใช้อะคริลิค หรือ แผ่นพลาสติกใส

17 รถแข่งทุกคันจะต้องมีไฟหน้า-ไฟท้าย

18 รถแข่งทุกคันประตูซ้าย-ขวาต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร

19 การปรับแต่งโครงสร้างรถแข่งจะต้องดูภายนอกบ่งบอกได้ว่าเป็นรถรุ่นอะไร

20 รถแข่งทุกคันประตูจะต้องเปิดในลักษณะเดิมจากโรงงาน ห้ามดัดแปลงเปิดไปด้านหลังเพื่อออกด้านหน้า

คุณสมบัตินักแข่ง 

            นักแข่งที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

หมายเหตุ     กติกาอาจมีการเปลี่ยนตามความเหมาะสม ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

รูปแบบการคิดคะแนนการแข่งขันในรอบต่างๆ

การคิดคะแนน

อัตราคะแนนสะสมในแต่ละ  SS (100 คะแนน)

ลำดับที่ คะแนน ลำดับที่ คะแนน
1     100 9     72
2    95 10     69
3    90 11     67
4    87 12     65
5    84 13     63
6    81 14     61
7    78 15     59
8    75 16     57

 

– อันดับที่ 17  เป็นต้นไป คะแนน 55  คะแนน

– SS ที่ 9-10 และ SS 11 วิ่งแทร็คคู่ ต้องใส่ชุดนักแข่งลงทำการแข่งขันเท่านั้น

– รถที่ไม่จบการแข่งขันใน SS นั้นๆ ถือว่า DNF (DID NOT FINISH) ได้คะแนนสูงสุด 35 คะแนน

– รถที่ไม่จบการแข่งขันคะแนน DNF จะแตกต่างกันวัดตามระยะทางที่สามารถทำได้

– รถที่ไม่สามารถเข้าจุดสตาร์ทภายในเวลาที่กำหนด ( 3 นาที ) จะถือว่า DNS (DID NOT START) ได้ 0 คะแนน

– ผู้ที่ทำเวลาดีที่สุดในแต่ละ SS จะได้รับคะแนนสะสมพิเศษ 1 แต้ม

 

คะแนนสะสม ในแต่ละเลคผู้ที่ทำคะแนนสูงสุดจะได้คะแนนสะสม (คะแนนสะสมขึ้นอยู่กับจำนวนรถ)

เช่นรถมี 10 คัน

ลำดับที่ คะแนน ลำดับที่ คะแนน
1      10 9     2
2    9 10     1
3    8  
4    7  
5    6  
6    5  
7    4  
8    3  

 

  • การแข่งขันทั้งหมด 10 SS แบ่งเป็น 5 เลค เลคละ 2 SS เพื่อคัดรถ 2 คัน( Revo 4 คัน ) สุดท้ายเข้ารอบชิงชนะเลิศ SS 11 (ถ่ายทอดสด)
  • ในรอบชิงชนะเลิศ SS ที่ 11 ใช้คะแนนสะสมและผู้ที่ชนะ จะได้คะแนนสะสม 3 แต้ม ผู้ที่แพ้จะได้ 1 แต้มผู้ที่ทำคะแนนสะสมสูงสุดจะเป็นแชมป์ 10 เซียนประจัญบาน 2018

 

ข้อบังคับ และการปรับโทษการแข่งขัน

 

  1. นำรถแข่งเข้าจุดสตาร์ทของแต่ละช่วงช้าเกินกว่า 3 นาที ถือว่าสละสิทธิ์ และไม่มีเวลา และคะแนนสะสมในช่วงการแข่งขันนั้น
  2. การลัดเส้นทางโดยเจตนา หรือไม่ก็ตาม (ตลอดการแข่งขัน) ปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน (โดยล้อออกจากเส้นทางทั้ง 4 ล้อ) ถือว่าเป็นการ DNF ในช่วงทดสอบนั้น ๆ
  3. รถแข่งที่กำลังทำการแข่งขัน แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปในเส้นทางการแข่งขัน จะต้องช่วยเหลือตนเองด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือตามที่กำหนดในกติกา หากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้เคลื่อนที่ต่อไปในเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่สนามจะทำการช่วยเหลือเคลื่อนย้ายรถแข่งให้ออกจากเส้นทาง และปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน ถือว่า DNF ในช่วงทดสอบนั้นๆ
  4. ในกรณีที่รถแข่งไม่สามารถเข้าจุดสตาร์ท เพื่อทำการแข่งขันในช่วงทดสอบนั้นๆ จะถือว่า DNS และไม่มีคะแนนสะสมในช่วงทดสอบนั้นๆ
  5. ไม่ออกสตาร์ทหลังกรรมการให้สัญญาณภายใน 3 นาที ปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน และถือว่าเป็นการ DNF ในช่วงทดสอบนั้น ๆ
  6. กรณีชนเชือกขาด หรือเสาหลักล้มลงกับพื้นเอียงเกิน 45 องศา จะถูกบวกเวลาเพิ่มจุดละ 30 วินาที ทันทีโดยไม่ต้องลงมาซ่อมแซม
  7. ในกรณีที่ชนไพล่อน (กรวย) จนขยับออกมานอกจุดที่กำหนด ในเส้นทางที่เป็นปูน กรรมการจะบวกเวลาเพิ่ม ไพล่อนละ 2 วินาที
  8. ลากสลิงโดยไม่สวมถุงมือ บวกเวลาเพิ่ม 30 วินาที
  9. ลอด หรือข้ามสลิงขณะที่ตะขอสลิงเกี่ยวกับเชือก – สมอบก ขณะวินช์ทำงานหรือไม่ทำงาน บวกเวลาเพิ่ม 30 วินาทีต่อครั้ง
  10. การแต่งกายต้องรัดกุม ใส่กางเกงต้องเลยระดับหัวเข่าลงไป รองเท้าจะต้องเป็นรองเท้าหุ้มส้นเป็นอย่างน้อย
  11. ใน SS 9-11 (วิ่งแทร็คคู่) นักแข่งทุกคนในประเภทบุคคลต้องสวมชุดนักแข่ง Racing Suit ที่มีมาตราฐานสากลกำหนด คือ จะต้องเป็นผ้ากันไฟเท่านั้นอย่างน้อย 1 ชั้น ลงทำการแข่งขัน
  12. ระหว่างการแข่งขันสามารถถอดหรือโยน แว่นออกมานอกตัวรถได้ (เพื่อความปลอดภัยในการแข่งขัน)
  13. ไม่มีการแจ้งซ่อมทั้งก่อนการแข่งขันและในระหว่างการแข่งขัน
  14. ห้ามทีมแข่ง และคนทั่วไปเข้าไปในเส้นทางการแข่งขันโดยเด็ดขาด ถ้าฝ่าฝืนจะยุติการแข่งขันทันที และจะแข่งต่อเมื่อไม่มีคนภายนอกในเส้นทางการแข่งขัน (เพื่อความปลอดภัยของผู้ชมและนักแข่ง)
  15. นักแข่งที่ลงทำการแข่งขันทุกรุ่น 1 คันสามารถลงชื่อได้ไม่เกิน 3 คน ตลอดการแข่งขัน ( ถ้ามีรายชื่อบุคคลที่ 4 เพิ่มเติมถือว่าตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน)
  16. นักแข่งสามารถลงทำการแข่งขันได้ 2 รุ่นแต่ 1 รุ่นต้องเป็นรุ่น TOYOTA HILUX REVO
  17. นักแข่งที่ไม่ผ่านรอบคัดเลือกทั้งผู้ขับและผู้ช่วยขับรวมถึงรายชื่อที่ 3 ที่ลงทำการแข่งขัน ไม่สามารถลงทำการแข่งขัน กับรถที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 3 รุ่นไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม
  18. นักแข่งที่มีผู้สนับสนุนค่ายรถยนต์ที่เป็นคู่ค้าทางการตลาดกับ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อนุญาตให้ติดสติ๊กเกอร์ผู้สนับสนุนได้ขนาดไม่เกิน 12 x 12 นิ้ว และไม่เกิน 2 จุดบนรถแข่งคันนั้น รวมถึงไม่อนุญาตติดธงสัญลักษณ์ค่ายรถผู้สนับสนุนในรุ่นนั้นๆ ทั้งในรุ่น OFF ROAD SUPER OPEN (การ์ตูน)  และ รุ่น OFF ROAD เที่ยวป่า OPEN
  19. ในรุ่น OFF ROAD SUPER OPEN (การ์ตูน) และ รุ่น OFF ROAD เที่ยวป่า OPEN ผู้ช่วยผู้ขับขี่ (โค-ไดรเวอร์) จะต้องมีที่จับที่ชัดเจนและมั่นคงที่ไม่ทำให้มือหรือแขนออกมานอกตัวรถเด็ดขาด
  20. กติกาอื่นๆ ใด ที่ไม่ได้ระบุในเอกสาร คณะกรรมการเห็นว่าอาจจะไม่ปลอดภัยจะแจ้งให้ทราบ ก่อนการแข่งขัน และใช้บังคับต่อไป กติกาทั้งหมดที่ไม่ได้กล่าวมาในที่นี้อยู่ภายใต้ดุลพินิจของผู้จัดการแข่งขัน และนายสนามหรือผู้ควบคุมการแข่งขันเท่านั้น และคำตัดสินของนายสนามและคณะกรรมการถือเป็นอันสิ้นสุด

การปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน

  1. ผู้เข้าทำการแข่งขันหรือทีมแข่งทำการหยุดเวลา หรือกระทำการใดๆ ที่ทำให้ผู้แข่งขันของตนเสียโอกาส (อยู่ในดุลพินิจของนายสนาม) ถือว่าต้องออกจากการแข่งขัน
  2. เข้าไปในเขตเก็บรถ PARK FIRME โดยไม่ได้รับอนุญาต
  3. แสดงมารยาทไม่สุภาพต่อคณะกรรมการ
  4. เจตนากลั่นแกล้งคู่แข่งในระหว่างการแข่งขัน
  5. ดื่มสุรา, เสพของมึนเมา, ยาเสพติด ในระหว่างการแข่งขัน
  6. ได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกในระหว่างการแข่งขัน (ขึ้นอยู่ในดุลพินิจของนายสนามหรือผู้ควบคุมการแข่งขัน)
  7. ไม่สวมหมวกนิรภัยให้ออกจากการแข่งขัน
  8. โค-ไดรเวอร์ขึ้นไปยืนอยู่บนกระบะหลังรถในขณะทำการแข่งขันในสถานการณ์แข่งขันปกติ โดยที่มิได้มีอุปสรรคใดขวางหน้า
  9. ไม่ติดสติ๊กเกอร์บังคับตามตำแหน่งของผู้จัดการแข่งขันระบุ ผู้จัดการแข่งขันมีสิทธิ์พิจารณาถอนสิทธิ์การแข่งขันในรถแข่งคันนั้นๆ
  10. ติดสติ๊กเกอร์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของโตโยต้าเกินจากกติกาที่กำหนด

 

การแข่งขันในแต่ละ STATION จะคิดคะแนนดังนี้

  1. ไม่ลงทำการแข่งขัน หรือไม่ออกสตาร์ทด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไม่มีเวลา และไม่มีคะแนนในช่วงทดสอบนั้นๆ
  2. การแข่งขันแต่ละ STATION หากรถแข่งคันใดไม่สามารถแข่งขันได้จบภายในเวลา TARGET TIME ที่กำหนด จะถือว่า DNF และถ้าการแข่งขันใน STATION นั้น มีรถแข่งไม่จบการแข่งขันตามเวลาที่กำหนดเกินกว่า 1 คัน ให้วัดระยะทางหาตำแหน่งผู้ชนะเพื่อทำการแข่งขันใน STATION ถัดไป
  3. ถ้าคะแนนสะสมของนักแข่งในรุ่นนั้นๆ มีคะแนนเท่ากัน ให้นับเวลา STATION สุดท้ายเป็นผู้ชนะ
  4. ถ้าคะแนนยังเท่ากันอยู่ ให้นับเวลาใน STATION แรกเป็นผู้ชนะ
  5. ถ้าคะแนนยังเท่ากันอยู่ ให้นับเวลาใน STATION ที่สองเป็นผู้ชนะ
  6. ถ้าคะแนนยังเท่ากันอยู่จน STATION สุดท้าย ให้จับฉลากหาผู้ชนะ

 

การประท้วงการแข่งขัน

การประท้วงจะกระทำได้เฉพาะผู้ที่มีชื่อเข้าร่วมการแข่งขันในรถที่ทำการแข่งขันประท้วงเท่านั้น หรือผู้จัดการทีม ผู้อื่นไม่สามารถทำการประท้วงได้ การประท้วงจะต้องทำเป็นจดหมายต่อนายสนาม และสามารถทำได้ในข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  1. การประท้วงคุณสมบัติ ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน, รถแข่ง, ส่วนประกอบรถแข่ง และอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้ยื่นประท้วงก่อนการแข่งขัน 30 นาที
  2. การประท้วงผลการแข่งขันให้ยื่นประท้วงภายในเวลา 30 นาที นับจากเวลาการประกาศผล
  3. การประท้วงเรื่องเวลา ให้ประท้วงกับกรรมการ ณ จุดนั้นๆ และทำจดหมายแจ้งต่อนายสนามภายในเวลา 15 นาที หรือหลังจากรถแข่งคันนั้นจบการแข่งขันช่วงนั้นๆ
  4. การประท้วงต้องแนบเงินค้ำประกันการประท้วงจำนวน 5,000 บาท พร้อมจดหมายการประท้วง ถ้าผลประท้วงถูกต้องตามคำประท้วง จะคืนเงินค้ำประกันให้ตามจำนวน แต่ถ้าคำประท้วงไม่เป็นผล จะริบเงินทั้งหมด และจะต้องจ่ายค่าเสียหายในการพิสูจน์ เพื่อเป็นการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นิตยสารออฟโรด บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

4/299 หมู่ 5 ซ.ลาดปลาเค้า 66 ถ.ลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร. 0-2522-1731-8, หรือ 0-2971-6450-60 ต่อ 364 และ 356 แฟ็กซ์ 0-2522-1730  

 

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

Save